เตรียมตัวเพื่อไปหาหมอ

รายละเอียดการเตรียมตัวเพื่อไปหาหมอ

เคยบ้างไหมเวลาที่เราเกิดไม่สบายขึ้นมาแล้วต้องการจะไปหาหมอที่โรงพยาบาล โดยเฉพาะโรงพยาบาลของรัฐ เราต้องเตรียมตัวอย่างไร? ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง? แล้วเราจะสอบถามกับใครเบื้องต้นได้บ้าง? ก็ต้องบอกตามตรงว่า พอขึ้นชื่อว่าโรงพยาบาลของรัฐแล้วละก็ การบริการอาจจะไม่ได้สะดวกสบายเท่ากับโรงพยาบาลเอกชน แต่เราก็เข้าใจได้ว่าภาระหน้าที่งานของโรงพยาบาลรัฐนั้นเยอะ อาจจะทำให้ดูแลคนไข้ได้ไม่ทั่วถึง ถ้าไปหาหมอเอกชนแน่นอนว่าดีกว่า แต่ก็แลกมาด้วยอัตราค่าบริการที่สูง ยังไงก็ลองเลือกเอาดูตามความเหมาะสมของกำลังทรัพย์ของแต่ละท่าน

กลับเข้าเรื่องการเตรียมตัวเพื่อไปหาหมอ (บริการพาไปหาหมอ) ต้องทำอย่างไรบ้าง ทางแอดมินของ zeedoctor จะมาอธิบายให้ฟัง ผู้อ่านควรจะต้องเข้าใจก่อนว่าเงื่อนไขและรายละเอียดของการไปโรงพยาบาลเพื่อหาหมอของแต่ละที่นั้นไม่เหมือนกัน ฉะนั้นเราจะให้ข้อมูลเบื้องต้นตามมาตรฐานโดยทั่วไปของโรงพยาบาลรัฐก่อน ทั้งนี้แต่ละโรงพยาบาลก็จะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไปอีก ถ้าจะให้ดีกรุณาติดต่อโรงพยาบาลที่ท่านต้องการจะเข้ารับการรักษาก่อนจะดีมาก

พาไปพบหมอ

เบื้องต้นทางผู้ป่วยก็ต้องทราบดีว่าการไปหาหมอ โดยเฉพาะโรงพยาบาลใหญ่ๆนั้นจะมีคนไข้มารอรับบริการอยู่เป็นจำนวนมาก บางคนต้องมานั่งรอกันตั้งแต่ตี 5 เพื่อที่จะได้รับบัตรคิวแต่เนิ่นๆ เพื่อที่จะได้เสร็จไวไม่ต้องรอพบหมอโดยใช้เวลาเป็นวันๆ สิ่งสำคัญหลักๆที่ต้องเตรียมได้แก่:

1). เตรียมบัตรประชาชน หรือ บัตรคนไข้(ในกรณีที่เป็นคนไข้เก่า)

บัตรประชาชนเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญที่สุดในการเตรียมตัวเพื่อลงทะเบียนเข้าพบหมอ บัตรประชาชนควรนำติดตัวมาทุกครั้งเมื่อไปหาหมอเพราะบัตรประชาชนต้องใช้เป็นใบเบิกทางเพื่อนำไปทำบัตรคนไข้ที่ห้องบัตร โรงพยาบาลต้องใช้เพื่อนำมาทำประวัติคนไข้ และหลังจากนั้นประวัตต่างๆเหล่านี้จะถูกนำไปบันทึกไว้ที่ห้องบัตรเพื่อเป็นข้อมูลในการส่งคนไข้ไปรับการตรวจรักษาที่แผนกต่างๆของโรงพยาบาลและง่ายต่อการสืบค้นประวัติคนไข้ในกรณีในกรณีที่มารับการตรวจรักษาในครั้งต่อไป นอกเหนือจากนี้หลักฐานที่ควรนำติดตัวมาคือบัตรข้าราชการ(ถ้ามี) ใบต่างด้าวในกรณีที่เป็นชาวต่างชาติ

2). ในกรณีที่เป็นผู้ป่วยใหม่ สามารดำเนินการตามขั้นตอนเบื้องต้นได้ดังนี้

2.1 ติดต่อกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มเพื่อทำประวัติที่ห้องบัตรผู้ป่วยใหม่

2.2 ติดต่อพยาบาลคัดกรองและใบคัดกรองเพื่อแยกประเภทของผู้ป่วย

2.3 นำเอกสารตามข้อ 2.1 และข้อ 2.2 พร้อมบัตรประชาชนยื่นที่ห้องบัตร

2.4 นำใบคัดกรองติดต่อพยาบาลที่หน้าห้องตรวจและรับบัตรคิว

2.5 รอรับการตรวจตามลำดับบัตรคิวหน้าห้องตรวจ

3).ในกรณีที่เป็นผู้ป่วยเก่า

3.1 ติดต่อพยาบาลคัดกรองและรับใบคัดกรองเพื่อแยกประเภทผู้ป่วย

3.2) นำบัตรประจำตัวคนไข้และใบคัดกรองยื่นที่ห้องบัตร

3.3) นำใบคัดกรองติดต่อพยาบาลที่หน้าห้องตรวจและรับบัตรคิว

3.4) รอรับการตรวจตามลำดับบัตรคิวหน้าห้องตรวจ

4). ผู้ป่วยบัตรประกันสุขภาพ (บัตรทองหรือบัตร 30 บาท)

4.1) ติดต่อกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มเพื่อทำประวัติที่ห้องบัตรผู้ป่วยใหม่

4.2) นำเอกสารตามข้อ 4.1 พร้อมบัตรประชาชนยื่นที่ห้องบัตร

4.3) ติดต่อพยาบาลหน้าห้อตรวจบัตรทอง

4.4) รอรับบัตรคิวและรอเรียกตามลำดับบัตรคิว

4.5) รอรับการตรวจหน้าห้องตรวจ

หมายเหตุ: ขอบคุณข้อมูลขั้นตอนสำหรับผู้รับบริการโรงพยาบาลกลาง(OPD)

คนไข้ไปหาหมอ

ทั้งนี้คนไข้เก่าที่ต้องการแก้ไขทะเบียนประวัติในกรณีที่เพิ่งเปลี่ยนแปลงสถานภาพ เช่น แต่งงาน สิ่งที่จำเป็นต้องนำมาด้วยคือ ใบทะเบียนสมรสและสำเนาทะเบียนบ้าน เมื่อทำบัตรเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทางแผนกห้องบัตรก็จะส่งต่อผู้ป่วยไปหาหมอเพื่อรับการตรวจในแผนกต่างๆเฉพาะโรค โดยแบ่งคนไข้ออกเป็น 2 ประเภท คือ คนไข้เด็ก และคนไข้ผู้ใหญ่ สำหรับคนไข้เด็กทางห้องบัตรก็จะส่งไปที่แผนกเด็กโดยเฉพาะ

ส่วนคนไข้ผู้ใหญ่จะต้องผ่านการตรวจเพื่อวินิจฉัยคัดกรองและแยกโรคเสียก่อน โดยแผนกห้องบัตรจะส่งคนไข้ที่มาทำบัตรใหม่เพื่อไปหาหมอทั่วไปตรวจวินิจฉัยโรค รวมทั้งตรวจรักษาด้วย แต่ถ้าพบว่าคนไข้มีความจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์เฉพาะทาง เช่น แพทย์ทางศัลยกรรม หรือแพทย์ทางอายุรกรรมโดยเฉพาะแล้ว แพทย์แผนกนี้จะส่งคนไข้ไปยังแผนกต่างๆตามสภาพของอาการที่เป็น

พาไปหาหมอ

ส่วนคนไข้สตรีที่มีความต้องการจะตรวจรักษาโรคเกี่ยวกับโรคของสตรีโดยเฉพาะ ทางแผนกห้องบัตรก็จะส่งคนไข้ไปที่แผนกสูติ-นรีเวชโดยตรง สำหรับคนไข้เก่า และคนไข้ที่หมอนัดให้มาตรวจ ทางแผนกห้องบัตรก็จะส่งไปให้หมอเฉพาะทางโดยตรง เมื่อตรวจวินิจฉัยโรคแล้วปรากฏว่า คุณต้องเข้ารับการผ่าตัด คุณจะต้องเตรียมตัวตามคำแนะนำของหมอเพื่อให้การผ่าตัดผ่านพ้นไปได้ด้วยดี

ในการเตรียมตัวเพื่อเข้ารับการผ่าตัดมีอยู่ 2 กรณีคือ:

  1. การเตรียมตัวเพื่อไปผ่าตัดชนิดให้ยาชาเฉพาะที่ ในกรณีนี้ไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวอะไรเป็นพิเศษ
  2. การผ่าตัดชนิดที่ให้ยาระงับความรู้สึก ในกรณีนี้คนไข้จะหมดความรู้สึก แต่ขณะเดียวกันก็ยังหายใจได้ ซึ่งวิสัญญีแพทย์จะให้การดูแลคนไข้ขณะที่ศัลยแพทย์ให้การผ่าตัด

พบแพทย์

สำหรับขั้นตอนการเตรียมตัวเพื่อเข้ารับการผ่าตัดมีดังนี้:

  1. ก่อนที่หมอจะนัดคุณมาผ่าตัด หมอจะต้องให้คุณไปตรวจเลือดดูความพร้อมของร่างกาย และเอกซเรย์ก่อน
  2. หมอจะบอกให้คุณงดน้ำ งดอาหารมาล่วงหน้า การงดน้ำ งดอาหาร จะต้องงดอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงก่อนวันที่ทำการผ่าตัด จุดมุ่งหมายก็เพื่อให้คนไข้ปลอดภัย การงดน้ำงดอาหารมีความสำคัญมากต่อชีวิตคนไข้ เพราะว่าถ้ากระเพาะอาหารไม่ว่างแล้ว อาจมีการสำลักหรืออาเจียน ซึ่งเศษอาหารอาจจะเข้าไปอุดทางเดินหายใจทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้นคนไข้จะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
  3. สิ่งที่ขาดเสียไม่ได้ คือ คุณต้องเตรียมเงินมาเพื่อเสียค่าผ่าตัด ค่ายา ค่าห้องพัก และอื่นๆ อีกจิปาถะ
  4. ญาติมีความสำคัญมาก คุณควรจะพาญาติมาด้วยเพื่ออำนวยความสะดวกในการดูแลขณะที่อยู่โรงพยาบาล(บริการรับเฝ้าไข้) และเพื่อที่จะนำคุณกลับไปบ้าน
  5. ใบเซ็นอนุญาตผ่าตัด ทางโรงพยาบาลจะกำหนดไว้ว่าผู้ที่บรรลุนิติภาวะอาจจะอายุประมาณ 15 ปี หรือ 20 ปี จึงถือว่า บรรลุนิติภาวะ ซึ่งก็แล้วแต่กฎของโรงพยาบาลแต่ละที่จะไม่เหมือนกัน คนไข้ที่บรรลุนิติภาวะสามารถเซ็นอนุญาตผ่าตัดให้กับตัวเองได้ ส่วนคนไข้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะทางโรงพยาบาลก็จะให้ผู้ปกครอง ซึ่งอาจเป็นพ่อแม่ หรือญาติผู้ให้การดูแลอุปถัมภ์เป็นผู้เซ็นอนุญาตให้
  6. ของมีค่าต่างๆ ควรจะเก็บไว้ที่บ้าน ไม่ควรนำมาฝากไว้ที่โรงพยาบาล คนไข้บางคนนำติดตัวมามากมาย ซึ่งเป็นภาระกับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลอย่างมากที่จะต้องคอยดูแลไม่ให้ข้าวของของคนไข้สูญหาย
  7. ฟันปลอม คนไข้บางคนใส่ฟันปลอม เจ้าหน้าที่จะแนะนำว่า ควรถอดฟันปลอมทุกครั้งก่อนเข้าห้องผ่าตัด คุณควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพราะว่าบางครั้งเวลาที่คุณหลับฟันปลอมอาจจะหลุด หรือไม่สะดวกที่หมอจะให้การรักษา
  8. ควรจะแจ้งให้หมอทราบว่า คุณเคยแพ้ยาอะไรมาบ้าง เช่น ยาชา ยาต่างๆ ที่คุณเคยกินแล้วแพ้ และมีอาการอย่างไรบ้าง ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเอง และเพื่อหมอจะได้ไม่ให้ยาชนิดนั้นซ้ำอีก ในกรณีที่ต้องให้การรักษาในครั้งต่อไป

ก่อนที่คุณจะออกจากบ้านเพื่อมารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาล คุณควรเตรียมบัตรประชาชน บัตรคนไข้ ใบนัดตรวจ และสิ่งต่างๆ ดังกล่าวให้พร้อม และทำความเข้าใจกับคำแนะนำของหมอ ควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อผลดีแก่ตัวคุณเอง และที่สำคัญคุณควรมาให้ตรงตามเวลานัด โดยออกจากบ้านแต่เช้าๆ เผื่อมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นเมื่อไปหาหมอจะได้มีเวลาแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ ได้ทันท่วงที

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก website หมอชาวบ้าน: https://www.doctor.or.th/article/detail/4909

สนใจสินค้าผู้ป่วย ผู้สูงอายุราคาพิเศษ คลิ๊กลิงค์นี้ได้เลย

oldie-equipment
oldie-equipment

อันดับแรก ต้องเข้าใจกันก่อนว่ารถเข็นที่ใช้งานอยู่ทุกวันนี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่:

ประเภทแรก รถเข็น Wheel Chair แบบต้องใช้กำลังคนขับเคลื่อน ซึ่งก็สามารถแบ่งย่อยออกไปได้อีก 2 ประเภท:

  1. Transport wheel chair– รถเข็น Wheel Chair ประเภทนี้จำเป็นต้องอาศัยคนช่วยเข็นเท่านั้น คนนั่งไม่สามารถเข็นเองได้ นิยมใช้งานกันในโรงพยาบาลเพื่อเคลื่อนย้ายคนไข้จากสถานที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง รถเข็นลักษณะนี้ จะมีล้อหลังขนาดเล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ประมาณ 8-14นิ้ว ผู้นั่งจะไม่สามารถเอื้อมมือไปขยับล้อเพื่อเคลื่อนไหวรถเข็นด้วยตัวเองได้ ข้อดีคือน้ำหนักเบา ราคาค่อนข้างถูก
  2. Manually propelled wheel chair– รถเข็น Wheel Chair ประเภทนี้ผู้ใช้งานสามารถที่จะขยับรถเข็นเคลื่อนที่เองได้โดยจะต้องใช้แขนทั้งสองข้างในการช่วยหมุนล้อ ส่วนในกรณีที่ต้องการเบรก ผู้ใช้งานต้องใช้แขนทั้งสองข้างจับที่วงปั่นเพื่อช่วยในการชะลอผ่อนความเร็ว รถเข็นประเภทนี้ จะมีล้อหลังขนาดใหญ่ตั้งแต่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20-24นิ้ว (51-61 ซ.ม.) ข้อดีคือผู้ใช้งานสามารถบังคับควบคุมรถได้ด้วยตนเอง

ประเภทที่สอง รถเข็น Wheel Chair ที่ใช้พลังงานภายนอก หรือ นิยมเรียกกันว่า รถเข็นไฟฟ้า

คือรถเข็นที่ใช้ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ในการขับเคลื่อน โดยลักษณะภายนอกของรถเข็นและการใช้งานจะเหมือนกับแบบที่ใช้กำลังคนในการขับเคลื่อน แต่จะถูกติดตั้งเพิ่มเติมด้วยระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าทำให้ผู้ใช้งานสามารถบังคับทิศทางการเคลื่อนที่ไปในทางที่ต้องการได้ รถเข็นแบบนี้นิยมใช้กับผู้สูงอายุที่มีอาการป่วยหนักไม่สามารถควบคุมการทำงานภายในร่างกายได้ หรือพิการ เป็นอัมพาตจนร่างกายขยับไม่ได้

รถเข็นไฟฟ้าช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ป่วย ผู้สูงอายุได้เป็นอย่างมากโดยเฉพาะผู้ที่ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ไม่สามารถขยับเขยื้อนช่วงล่างของร่างกายได้เลย ผู้ใช้งานสามารถบังคับรถเพื่อหลบหลีกทาง หรือ เขยิบไปในจุดที่สะดวกได้ด้วยตนเองหรือในขณะที่คนเข็นรถไม่อยู่

ข้อแนะนำในการเลือกรถเข็นผู้ป่วย ผู้สูงอายุ:

  1. ควรเลือกแบบที่สามารถพับเก็บได้เพื่อความสะดวกในการพกพาไปในสถานที่ต่างๆ เพื่อความง่ายในการเคลื่อนย้าย
  2. รถเข็นควรมีเบรกและระบบล๊อคล้อเพื่อความปลอดภัย
  3. กรณีเป็นผู้ป่วยหนักจำเป็นต้องใช้รถเข็นในระยะเวลานาน ควรเลือกซื้อแบบที่ทนทาน มีน้ำหนักเบา สามารถเคลื่อนย้ายได้โดยสะดวก หากต้องเดินทางเป็นประจำควรซื้อแบบที่ทำด้วยอลูมิเนียม
  4. รถเข็นที่ดีต้องมีความเหมาะสมกับผู้ใช้งาน ต้องไม่เทอะทะ ความลึกของเบาะนั่งต้องพอดีกับร่างกาย เมื่อนั่งแล้ว สะโพกและข้อเข่าควรงอทำมุมฉาก ควรมีช่องว่างระหว่างขอบที่นั่งกับข้อพับเข่าของผู้ป่วยเล็กน้อย หากที่นั่งลึกเกินไปอาจเกิดการเสียดสีเป็นแผลที่ใต้เข่าหรือผู้ป่วยอาจเลื่อนไหลตัวไปด้านหน้าจนอาจตกจากรถเข็นได้
  5. ต้องมีความปลอดภัยกับผู้ใช้งาน โดยควรคำนึงถึงความสูงของพนักพิงว่าต้องพอดี หากผู้ป่วยมีอาการที่ทรงตัวไม่ดี ควรใช้พนักพิงที่พอเหมาะพอดีกับตัว หากผู้ใช้งานทรงตัวดี ต้องการความคล่องตัวในการเข็นรถด้วยตนเองให้เลือกใช้พนักพิงแบบต่ำ
  6. ที่วางเท้าต้องพอเหมาะในขณะที่ผู้สูงอายุนั่ง ข้อเข่าและข้อเท้าควรงอตั้งฉากกัน ไม่ควรงอหรือเหยียดจนเกินไป หรือหากที่วางเท้าสูงเกินไปอาจส่งผลให้เกิดแรงกดไปที่ก้นมากจนอาจเกิดอันตราย เมื่อใช้ไปนานเข้าอาจทำให้ปวดหลังหรือเกิดแผลกดทับที่ก้นขึ้นมาได้

เครดิตข้อมูลจาก site :       

Phartrillion: https://phartrillion.com/how-to-choose-wheelchair/

ราคาเครื่องมือแพทย์.com:  https://bit.ly/38GGrWs