5 สถานที่ท่องเที่ยวเดินทางไม่ไกลสำหรับผู้สูงอายุ

ถ้ามีเวลาว่างๆ เชื่อเลยว่าทุกท่านคงอยากพาพ่อ แม่ ปู่ย่า ตา ยาย ผู้สูงอายุในครอบครัวออกไปท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ คงไม่อยากให้ท่านนั่งเหงาเศร้า สร้อยอยู่ที่บ้านเพียงลำพัง

ยิ่งไปกว่านั้นถ้าที่ท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุอยู่ในเมืองหรือไม่ไกลจากกรุงเทพนักก็ยิ่งดี เพราะปัจจุบันเราใช้เวลาในการเดินทางบนท้องถนนเยอะอยู่แล้ว ถ้าสามารหาที่ท่องเที่ยวใกล้ๆ เดินทางไม่ไกล ไม่เหนื่อยเกินไป สะดวกสบาย เหมาะมากสำหรับผู้สูงอายุ ฉะนั้น วันนี้ทาง Zeedoctor เลยอยากชวนลูกหลานพาคุณปู่คุณย่าหรือผู้สูงอายุท่องเที่ยวกับ 5 สถานที่น่าไปที่อยู่ในกรุงเทพ หรือไม่ไกลจากกรุงเทพ เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ เชิญชมกันเลย

1.วัดเล่งเน่ยยี่ 2

ผู้สูงอายุท่องเที่ย

ภาพจาก: spiceee.net

วัดนี้เดิมเป็นโรงเจขนาดเล็ก บนพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ ต่อมาคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย โดยวัดมักรกมลาวาส (เล่งเน่ยยี่)  มาสร้างเป็นวัด ใช้เวลากว่า 12 ปีจึงเสร็จสมบูรณ์ในปี 2551 ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร ว่า “วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์” ในบริเวณวัดมีวิหารต่าง ๆ แบบจีนนิกายมหายานที่ประกอบด้วย วิหารพระกวนอิมโพธิสัตว์, วิหารหมื่นพุทธเจ้า, วิหารบูรพาจารย์ ห้องปฏิบัติธรรม ที่พำนักสงฆ์ และโรงเรียนพระปริยัติธรรม เป็นวัดจีนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เปิดทุกวัน 6.00-18.00 น. วัดเล่งเน่ยยี่ 2 มีลิฟต์สำหรับผู้พิการ ผู้ที่ใช้วีลแชร์ หรือผู้สูงอายุคอยอำนวยความสะดวกให้อยู่ สำหรับผุ้ที่ไม่เคยมาก็ไม่ต้องห่วงว่าจะเริ่มไหว้จากตรงไหน เพราะทางวัดมีคู่มือ และบุคลากรคอยแนะนำให้ว่าควรเริ่มจากตรงไหน ไหว้เทพเจ้าอย่างไร ขั้นตอนเป็นอย่างไร วัดนี้ปัจจุบันถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอันดับต้นๆในจังหวัดนนทบุรี นิยมมาไหว้พระเพื่อแก้ปีชง ทำบุญสะเดาะเคราะห์โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุส่วนใหญ่ซึ่งเชื่อในเรื่องของการทำบุญ ผลแห่งกรรม สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตัวเองและคนในครอบครัว

วัดเล่งเน่ยยี่ผู้สูงอายุ

ภาพจาก:  thailandtopvote.com

 

2. นิทรรศน์รัตนโกสินทร์

ที่เที่ยวผู้สูงอายุ

อุโมงค์กาลเวลาที่จะพาคุณแม่ย้อนสู่อดีตตั้งแต่เริ่มสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ ผ่านยุคสมัยที่ใช้สื่อผสมนำเสนอเสมือนจริง ตั้งแต่ทิวทัศน์บ้านเรือน เข้าไปจนถึงเขตพระราชฐานชั้นใน ชมเทศกาลงานพิธี และเมื่อขึ้นไปถึงชั้นสูงสุดจะมีห้องกระจกพาโนราม่า ที่คุณแม่จะได้ถ่ายรูปกับทิวทัศน์ภูเขาทอง วัดราชนัดดา และถนนราชดำเนิน ตัวอาคารมีลิฟต์สะดวกสบาย และชั้นล่างยังมีร้านกาแฟสวยๆ พร้อมของว่าง กับร้านสินค้าที่ระลึก รวมทั้งห้องสมุดด้วย

อาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ตั้งอยู่ที่ถนนราชดำเนินกลาง บัตรเข้าชมผู้ใหญ่ 100 บาท ผู้สูงอายุเกิน 60 ปี เข้าชมฟรี (แสดงบัตรประชาชน) และมีส่วนลด 1 แถม 1 จากโปรโทรศัพท์มือถือ บัตรบีทีเอสแบบรายเดือน บัตรเครดิตอื่นๆ อีกมากมาย เปิดทุกวันยกเว้นวันจันทร์ 10.00 – 19.00 น. มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับรถวีลแชร์และผู้สูงอายุ

http://www.nitasrattanakosin.com/aboutus.php?lang=th

ขอบคุณข้อมูลจาก: happeningbkk.com

 

3. สวนลุมพินี

ผู้สูงอายุเที่ยวสวนลุม

ภาพจาก: Pantip

อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวสำหรับครอบครัว ผู้สูงอายุ หรือคนทั่วไป สวนลุมพินีเป็นเสมือนปอดอันใหญ่ให้กับกรุงเทพ มีพื้นที่กว้างขวาง ใหญ่โต ร่มรื่น เต็มไปด้วยแมกไม้นานาพันธุ์ พร้อมทะเลสาบใหญ่กลางสวนสามารถพายเรื่อหรือถีบจักรยานน้ำเพิ่มความเย็นสบายได้ ครอบครัวสามารถพาผู้สูงอายุมาพักผ่อนหย่อนใจ ท่องเที่ยว รับอากาศดีๆภายในสวนสาธารณะแห่งนี้ได้ตั้งแต่เวลา 4:30 – 21:00 น. ให้บริการทุกวันและไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเข้าใช้บริการทั้งสิ้น กิจกรรมภายในอาทิ เดินเล่น วิ่ง นั่งปิกนิก รำไทเก็ก เต้นแอโรบิค ออกำลังกาย และพูดคุยสังสรรค์กับกลุ่มเพื่อน

 

4. ตลาดน้ำอัมพวา สมุทรสงคราม

ผู้สูงอายุเที่ยวอัมพวา

ภาพจาก: thailandscanme.com

ถ้าต้องการรำลึกความหลังให้กับผู้สูงอายุ ตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ถือเป็นสถานที่แรกๆที่จะทำให้ท่านได้แอบอมยิ้มและย้อนกลับไปในอดีต ตลาดน้ำอัมพวา เป็นตลาดริมคลองอัมพวา อันเก่าแก่และคลาสสิกสุด ณ.ปัจจุบันกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดฮิต แนะนำว่าไปตอนเย็น บรรยกาศจะดีมาก ผู้สูงอายุคงรู้สึกดีในสิ่งที่เขาจะได้ย้อนภาพกลับไปเห็นเมื่อสมัยหนุ่มๆ สาวๆ ย้อนวัยย้อนอดีตไปกับตลาดน้ำอัมพวา ทั้งร้านอาหารเก่าแก่ ร้านอาหารริมคลอง หรือขนมโบราณต่างๆ ที่ต่อให้เวลาผ่านไปแค่ไหน ก็ยังคงรู้สึกดี และนึกถึงเสมอ แถมยังมีกิจกรรมยอดฮิตนั่งเรือชมหิ่งห้อยยามค่ำคืน นั่งเรือ รับลม ชมหิ่งห้อย เติมพลังความสุขให้กับผู้สูงอายุได้ดีเลยที่เดียว

 

5. สถานพักตากอากาศบางปู สมุทรปราการ

ผู้สูงอายุเที่ยวบางปู

ภาพจาก: thaipost.com

บางปูเป็นสถานที่ท่องเที่ยวตากอากาศชื่อดังของจังหวัดสมุทรปราการ สถานที่จะเป็นสะพานยาวยื่นเข้าไปในตัวทะเล ช่วงปลายปีตั้งแต่ประมาณเดือนตุลาคม จะมีนกนางนวลเป็นจำนวนมากอพยพมาอยู่ช่วงบริเวณนี้ มีอาหารนกขาย(กากหมู) การให้อาหารนกเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ผู้คนนิยมกัน เพราะสนุก ลุ้นว่าอาหารที่โยนไป นกจะจับได้ก่อนตกถึงทะเลรึเปล่า หรือสามารถยืนถือแล้วรอนกนางนวลบินมาโฉบกินไปจากมือก็ตื่นเต้นดีไม่น้อย นอกจากนี้ ที่นี่ยังมีร้านอาหารที่มีชื่อเสียง(ศาลาสุขใจ) ตัวร้านอาหารยื่นต่อเข้าไปในทะเลจากสะพาน มีจุดชมวิวบริเวณตัวอาคาร คนนิยมไปถ่ายรูปบริเวณนี้เป็นจำนวนมาก สถานตากอากาศบางปูเหมาะมากสำหรับพาครอบครัวและผู้สูงอายุไปพักผ่อนหย่อนใจ ท่องเที่ยวในยามเย็นรอดูพระอาทิตย์ตก แถมสะดวกสบาย เดินทางไม่ไกล อากาศ และบรรยากาศดีด้วย

เป็นอย่างไรกันบ้างกับ 5 สถานที่ท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุที่ไม่ไกล เดินทางสะดวกสบาย แถมยังไม่แพงมาก สามารถเที่ยวได้ตลอดทั้งปี เที่ยวเมืองไทยสนุกและดีที่สุด ท้ายนี้ Zeedoctor แนะนำว่าสุดท้ายไม่ว่าเราจะพาครอบครัวหรือผู้สูงอายุไปท่องเที่ยวที่ไหน มีความสุขในการท่องเที่ยวมากเพียงใด ก็ต้องไม่ลืมที่จะดูแลสุขภาพกายของเราและผู้สูงอายุให้แข็งแรง ทานอาหารที่เป็นประโยชน์ และออกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หรือคอยตรวจเช็คสุขภาพตามวันและเวลาที่หมอนัดหมาย เพราะถ้าสุขภาพร่างกายของเราแข็งแรง สุขภาพจิตใจของเราดี รับรองว่าท่องเที่ยวที่ไหนเราก็มีความสุข

อันดับแรก ต้องเข้าใจกันก่อนว่ารถเข็นที่ใช้งานอยู่ทุกวันนี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่:

ประเภทแรก รถเข็น Wheel Chair แบบต้องใช้กำลังคนขับเคลื่อน ซึ่งก็สามารถแบ่งย่อยออกไปได้อีก 2 ประเภท:

  1. Transport wheel chair– รถเข็น Wheel Chair ประเภทนี้จำเป็นต้องอาศัยคนช่วยเข็นเท่านั้น คนนั่งไม่สามารถเข็นเองได้ นิยมใช้งานกันในโรงพยาบาลเพื่อเคลื่อนย้ายคนไข้จากสถานที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง รถเข็นลักษณะนี้ จะมีล้อหลังขนาดเล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ประมาณ 8-14นิ้ว ผู้นั่งจะไม่สามารถเอื้อมมือไปขยับล้อเพื่อเคลื่อนไหวรถเข็นด้วยตัวเองได้ ข้อดีคือน้ำหนักเบา ราคาค่อนข้างถูก
  2. Manually propelled wheel chair– รถเข็น Wheel Chair ประเภทนี้ผู้ใช้งานสามารถที่จะขยับรถเข็นเคลื่อนที่เองได้โดยจะต้องใช้แขนทั้งสองข้างในการช่วยหมุนล้อ ส่วนในกรณีที่ต้องการเบรก ผู้ใช้งานต้องใช้แขนทั้งสองข้างจับที่วงปั่นเพื่อช่วยในการชะลอผ่อนความเร็ว รถเข็นประเภทนี้ จะมีล้อหลังขนาดใหญ่ตั้งแต่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20-24นิ้ว (51-61 ซ.ม.) ข้อดีคือผู้ใช้งานสามารถบังคับควบคุมรถได้ด้วยตนเอง

ประเภทที่สอง รถเข็น Wheel Chair ที่ใช้พลังงานภายนอก หรือ นิยมเรียกกันว่า รถเข็นไฟฟ้า

คือรถเข็นที่ใช้ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ในการขับเคลื่อน โดยลักษณะภายนอกของรถเข็นและการใช้งานจะเหมือนกับแบบที่ใช้กำลังคนในการขับเคลื่อน แต่จะถูกติดตั้งเพิ่มเติมด้วยระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าทำให้ผู้ใช้งานสามารถบังคับทิศทางการเคลื่อนที่ไปในทางที่ต้องการได้ รถเข็นแบบนี้นิยมใช้กับผู้สูงอายุที่มีอาการป่วยหนักไม่สามารถควบคุมการทำงานภายในร่างกายได้ หรือพิการ เป็นอัมพาตจนร่างกายขยับไม่ได้

รถเข็นไฟฟ้าช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ป่วย ผู้สูงอายุได้เป็นอย่างมากโดยเฉพาะผู้ที่ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ไม่สามารถขยับเขยื้อนช่วงล่างของร่างกายได้เลย ผู้ใช้งานสามารถบังคับรถเพื่อหลบหลีกทาง หรือ เขยิบไปในจุดที่สะดวกได้ด้วยตนเองหรือในขณะที่คนเข็นรถไม่อยู่

ข้อแนะนำในการเลือกรถเข็นผู้ป่วย ผู้สูงอายุ:

  1. ควรเลือกแบบที่สามารถพับเก็บได้เพื่อความสะดวกในการพกพาไปในสถานที่ต่างๆ เพื่อความง่ายในการเคลื่อนย้าย
  2. รถเข็นควรมีเบรกและระบบล๊อคล้อเพื่อความปลอดภัย
  3. กรณีเป็นผู้ป่วยหนักจำเป็นต้องใช้รถเข็นในระยะเวลานาน ควรเลือกซื้อแบบที่ทนทาน มีน้ำหนักเบา สามารถเคลื่อนย้ายได้โดยสะดวก หากต้องเดินทางเป็นประจำควรซื้อแบบที่ทำด้วยอลูมิเนียม
  4. รถเข็นที่ดีต้องมีความเหมาะสมกับผู้ใช้งาน ต้องไม่เทอะทะ ความลึกของเบาะนั่งต้องพอดีกับร่างกาย เมื่อนั่งแล้ว สะโพกและข้อเข่าควรงอทำมุมฉาก ควรมีช่องว่างระหว่างขอบที่นั่งกับข้อพับเข่าของผู้ป่วยเล็กน้อย หากที่นั่งลึกเกินไปอาจเกิดการเสียดสีเป็นแผลที่ใต้เข่าหรือผู้ป่วยอาจเลื่อนไหลตัวไปด้านหน้าจนอาจตกจากรถเข็นได้
  5. ต้องมีความปลอดภัยกับผู้ใช้งาน โดยควรคำนึงถึงความสูงของพนักพิงว่าต้องพอดี หากผู้ป่วยมีอาการที่ทรงตัวไม่ดี ควรใช้พนักพิงที่พอเหมาะพอดีกับตัว หากผู้ใช้งานทรงตัวดี ต้องการความคล่องตัวในการเข็นรถด้วยตนเองให้เลือกใช้พนักพิงแบบต่ำ
  6. ที่วางเท้าต้องพอเหมาะในขณะที่ผู้สูงอายุนั่ง ข้อเข่าและข้อเท้าควรงอตั้งฉากกัน ไม่ควรงอหรือเหยียดจนเกินไป หรือหากที่วางเท้าสูงเกินไปอาจส่งผลให้เกิดแรงกดไปที่ก้นมากจนอาจเกิดอันตราย เมื่อใช้ไปนานเข้าอาจทำให้ปวดหลังหรือเกิดแผลกดทับที่ก้นขึ้นมาได้

เครดิตข้อมูลจาก site :       

Phartrillion: https://phartrillion.com/how-to-choose-wheelchair/

ราคาเครื่องมือแพทย์.com:  https://bit.ly/38GGrWs