บริการพาไปหาหมอดีอย่างไร?

สวัสดีครับท่านผู้อ่าน Zee Doctor วันนี้ทางแอดมินคิดว่าจะมาคุยอะไรที่สบายๆกันดีกว่า ว่ากันด้วยเรื่องบริการ “พาไปหาหมอ” ที่เป็นบริการยอดนิยมของเรา แต่ก่อนจะมาพูดคุยเรื่องนี้กันในรายละเอียด เราขอชื่นชมกับความสำเร็จของประเทศไทยกันก่อน

ช่วงหลายวันที่ผ่านมาเราคงจะได้ยินข่าวดีเรื่องจำนวนผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ลดลงเรื่อยๆอย่างต่อเนื่องจนตัวเลขเกือบจะเป็นศูนย์ คาดการณ์ว่าเราจะได้กลับมาใช้ชีวิตแบบปรกติสุขในเร็ววันนี้ถ้าเรายังคงจำนวนผู้ติดเชื้อได้ดีแบบนี้ต่อไป

ที่สำคัญคือต้องขอบคุณบุคลากรทางการแพทย์ทุกท่านที่ช่วยกันทำงานอย่างหนักเพื่อยับยั้งไม่ให้โรคร้ายนี้แพร่กระจายออกไปมาก ขอบคุณที่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถควบคุมโรคได้เป็นอย่างดี จนทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศไทยต่ำและลดลงอย่างรวดเร็วจนหลายประเทศชื่นชมในความสามสามารถของสาธารณะสุขไทย

Thank-you-Health-Team

ภาพโดย Ka Young Seo จาก Pixabay

กลับมาเข้าเรื่องบริการ “พาไปหาหมอ” ของเรากันดีกว่า เพราะมีหลายท่านสอบถามกันเข้ามาถึงบริการรูปแบบนี้ และยังมีข้อสงสัยว่าเอ๊! ทำไมต้องใช้บริการพาไปหาหมอ จริงๆเราพากันไปเองก็ได้ หรืออย่างที่ทราบกันดีว่าแต่ก่อนโน้นเวลา พ่อ แม่ พี่ น้องเราไม่สบาย พวกเราเองไม่ใช่หรือที่พากันไปเอง ไม่เห็นต้องพึงพาบริการ พาไปหาหมอ เลย

บางท่านก็สอบถามเข้ามาว่า บริการพาไปหาหมอ นั้นมันดีอย่างไร? ลูกค้าบางท่านที่ติดต่อแอดมินเข้ามาก็ถามกันตรงๆเลยว่า (ถามแบบที่เราเองก็นึกขำๆถามกันแบบนี้เลยหรือ) บริการนี้มันดีจริงหรือเปล่า? ไม่ได้หลอกลวงกันใช่ไหม? (หมายถึงหลอกโอนเงินแล้วหายติดต่อไม่ได้) จะเชื่อมั่นในบริการของเราได้อย่างไร? อันที่จริงแอดมินก็เข้าใจนะว่าบริการแบบนี้เป็นบริการใหม่ ยังไม่ค่อยเห็นผู้ให้บริการพาไปหาหมอแบบนี้กันมากนัก ก็ไม่แปลกที่ลูกค้าอาจจะยังแคลงใจอยู่บ้าง

bring-to-see-doctor

ภาพโดย Mabel Amber จาก Pixabay

เพราะฉะนั้นวันนี้ทาง Zee Doctor ก็เลยจะถือโอกาสอธิบายถึงข้อดี ข้อด้อยของบริการ พาไปหาหมอ ให้ได้ทราบ จะได้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะใช้บริการของเราเมื่อจำเป็น หรืออย่างน้อยก็ได้รับรู้ว่ามีบริการแบบนี้เกิดขึ้นจริงในประเทศไทยของเรา

สารบัญเนื้อหา

1. บริการ“พาไปหาหมอ”คืออะไร?

 เราขออธิบายแบบเข้าใจง่ายๆ ตรงตัวตามความหมายก็คือ การให้บริการพาผู้ป่วย ผู้สูงอายุ หรือผู้คน ทุกเพศ ทุกวัยไปพบหมอตามตารางนัดหมาย หรือพาไปพบหมอในทุกกรณี โดยที่บุคลากรผู้ให้บริการต้องมีความรู้ ความสามารในด้านการบริบาล หรือ พยาบาลผู้ป่วย ผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดี ทั้งยังต้องมีประสบการณ์โดยตรงในสายอาชีพนี้ สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้นมา หรือสามารถป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นมาอันเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย

ผู้ให้บริการพาไปหาหมอ จะต้องเป็นบุคลากรที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการแพทย์ การรักษาพยาบาล อาทิ พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล ผู้ช่วยคนไข้ หรือ ผู้ที่ได้รับการอบรมด้านนี้โดยเฉพาะ และที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้ให้บริการพาไปหาหมอ คือจะต้องมีใจรักงานบริการ ยิ้มแย้มแจ่มใส ซื่อสัตย์สุจริต ดูแลผู้รับบริการด้วยความเต็มใจ และเป็นมิตร เพราะงานบริการในรูปแบบนี้ค่อนข้างใช้ความอดทนสูง ต้องมีความละเอียด รอบคอบ เพราะมีผลต่อสุขภาพของผู้รับบริการโดยตรง

ในส่วนของการให้บริการพาไปหาหมอ หน้าที่หลักก็คือไปรับ ณ.จุดที่นัดหมาย อาจจะเป็นที่พักอาศัยของผู้รับบริการหรือที่โรงพยาบาล นั่งรถไปเป็นเพื่อนระหว่างเดินทาง พอถึงโรงพยาบาลก็ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกต่างๆ อาทิเช่น ยื่นบัตรนัดหมาย ตรวจสอบสิทธิ์ เดินเอกสาร เข้าพบแพทย์พร้อมผู้ป่วย รวมทั้งรับฟังข้อมูลการรักษาเพื่อนำมารายงานให้กับญาติผู้ป่วยทราบ รวมทั้งรับยาและพาผู้รับบริการเดินทางกลับบ้าน

 

service-go-see-doctor

ภาพโดย truthseeker08 จาก Pixabay

2. ความน่าเชื่อถือของบริการ พาไปหาหมอ

 บริการพาไปหาหมอเป็นบริการที่ค่อนข้างใหม่ ยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนัก ฉะนั้นผู้ใช้บริการหลายท่านเลยยังไม่มั่นใจในรูปแบบงานบริการนี้ กลัวว่าจะมารับจริงไหม ถ้ามารับแล้วจะไปปล่อยคุณพ่อ-แม่ หรือ ญาติของผู้รับบริการไว้กลางโรงพยาบาลรึเปล่า? หรือจะมีความรู้ทางด้านนี้จริงหรือเปล่า? ทั้งหมดนี้เบื้องต้นผู้รับบริการสามารเช็คใบรับรองสถานบริการ หรือเอกสารรับรองใบประกอบวิชาชีพของผู้ดูแลหรือผู้ที่พาไปพบหมอได้ 

ซึ่งในส่วนการบริการพาไปหาหมอของ Zee Doctor นั้นบุคลากรของเราทุกคนมีเอกสารรับรองการประกอบวิชาชีพที่สามารถตรวจสอบได้ ผู้รับบริการจึงมั่นใจได้ว่าจะได้รับบริการที่มีคุณภาพดีที่สุด

3. ทำไมจึงควรใช้บริการพาไปหาหมอ ?

 จริงๆแล้วควรดูถึงความเหมาะสมของผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุมากกว่า ถ้าพอที่จะช่วยตัวเองได้หรือมีสุขภาพที่แข็งแรงดี เดินได้คล่องแคล่ว ไม่ลำบากมากจนเกินไป ลูกหลานก็น่าจะพาไปหาหมอเองได้ สามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายไปในตัว

แต่ถ้าในกรณีที่ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุไม่สามารถช่วยตัวเองได้ดี หรือตัวใหญ่ มีน้ำหนักมาก ไม่สามารถเดินได้อย่างคล่องแคล่ว การเลือกใช้บริการพาไปหาหมอก็เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจเพราะจะได้ผู้ที่เชี่ยวชาญมาดูแล สามารถที่จะช่วยพาเดิน พยุงขึ้น-ลง และประคับประคองได้อย่างปลอดภัย รวมทั้งยังคอยช่วยเหลือด้านเอกสารต่างๆทางการแพทย์ที่ญาติอาจจะไม่ค่อยถนัด ทำให้ช่วยกระชับเวลาการดำเนินเอกสารและการรอคอยที่โรงพยาบาลให้รวดเร็วขึ้น

nurse-for-elderly

ภาพโดย Yerson Retamal จาก Pixabay

4. ข้อดีของบริการพาไปหาหมอ

บริการพาไปหาหมอจริงแล้วก็มีข้อดีอยู่หลายประการ แอดมินจะขอยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดดังนี้:

4.1 ช่วยประหยัดเวลา เนื่องด้วยปัจจุบันเราทุกคนมีหน้าที่การงานต้องรับผิดชอบสูง เวลามีน้อย เราอยู่ในสังคมแห่งการแข่งขันและสร้างรายได้เพื่อเลี้ยงชีพ ฉะนั้นแล้วหลายท่านอาจจะไม่สะดวกในการพาพ่อ-แม่ หรือญาติไปหาหมอ บริการรูปแบบนี้สามารถช่วยตอบโจทย์ท่านได้

4.2 มีมืออาชีพมาช่วยดูแลให้ อย่างที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ว่าบริการพาไปหาหมอ เราดำเนินการโดยบุคลากรผู้มีความรู้ ความสามรถเฉพาะทางมาช่วยดูแล จึงช่วยทำให้ท่านมั่นใจได้ว่าบริการที่ท่านจะได้รับจะมีความปลอดภัยและสร้างความพึงพอใจสูงสุด

5. ข้อด้อยของบริการพาไปหาหมอ

5.1 มีค่าใช้จ่าย เพราะทราบกันดีว่าถ้าต้องการบุคลากรที่มีความสามารถเฉพาะทางด้านการดูแลผู้ป่วย ผู้สูงอายุจะต้องมีค่าวิชาชีพ และค่าประสบการณ์การทำงานที่ผ่านๆมาของพวกเขา รวมทั้งผู้ให้บริการต้องดูแล รับผิดชอบผู้รับบริการอย่างดี มีประสิทธิภาพที่สุด ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง

5.2 ลูกหลานบางคนอาจจะรู้สึกไม่ค่อยดีนัก เมื่อไม่ได้พาพ่อ-แม่ ไปหาหมอด้วยตนเอง อาจจะเป็นเพราะวัฒนธรรมไทยที่ให้ความสำคัญกับผู้ใหญ่ในบ้านโดยเฉพาะพ่อ-แม่ หรือในบางกรณีลูกหลานอาจจะรู้สึกผิดที่ไม่ได้เข้าไปติดตามอาการและรับฟังหมออธิบายถึงสุขภาพของคนที่เรารักทันทีทันใด

5.3 ลูกหลานอาจไม่ได้อยู่ใกล้ชิดท่านในช่วงเวลานั้นๆ เพราะพ่อ-แม่บางท่านต้องการกำลังใจจากลูกหลาน สุดท้ายท่านอาจจะคิดมากหรือน้อยใจได้ ต้องเข้าใจว่าผู้สูงอายุหรือผู้ป่วย เป็นบุคคลที่มีอาการหวั่นไหวทางจิตใจได้ง่ายกว่าคนธรรมดาทั่วไปและยิ่งเป็นคนที่เรารักแล้ว ยิ่งอาจจะทำให้น้อยใจมากยิ่งขึ้น รู้สึกเหมือนว่าตัวเองโดนทอดทิ้ง ไม่เอาใจใส่ ต้องอยู่กับคนอื่นที่ไม่ใช่ลูกหลานตอนที่ไม่สบาย

go-see-doctor

ภาพโดย truthseeker08 จาก Pixabay

6. สรุปการให้บริการพาไปหาหมอ

 แอดมินขอสรุปว่าบริการพาไปหาหมอนั้นมีทั้งข้อดีและข้อด้อยตามที่ได้อธิบายไว้ด้านบน ก็ต้องลองชั่งน้ำหนักดูถึงความเหมาะสมของแต่ละครอบครัวในหลายด้าน ทั้งเรื่องความพร้อมของกำลังเงิน สภาวะจิตใจของผู้รับบริการ(ผู้ป่วย ผู้สูงอายุ) หรือแม้กระทั้งผู้ใช้บริการเอง(ลูกหลาน) อาจจะรู้สึกผิดได้ คิดเองว่าดูแลท่านไม่ดี ไม่มีเวลาให้

 สุดท้ายเชื่อว่าเราทุกคนรัก และคอยดูแลเอาใจใส่ผู้สูงอายุภายในบ้านตนเองอยู่ตลอด ถึงแม้ว่าอาจจะไม่ได้อยู่กับท่านตลอดเวลาหรือตอนที่จำเป็น แต่เชื่อว่าเวลาส่วนใหญ่ก็จะคอยอยู่เป็นเพื่อนท่าน ให้กำลังใจท่าน เท่านี้ก็เพียงพอในระดับหนึ่ง ส่วนที่เหลือในการพาไปหาหมอ ก็ให้มืออาชีพเป็นผู้ช่วยดูแลคนที่ท่านรักให้ดีที่สุด หรือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คอยช่วยเหลือท่านเวลาจำเป็น  

บทความโดย: แอดมิน Zee Doctor (All Right Reserve)  

อันดับแรก ต้องเข้าใจกันก่อนว่ารถเข็นที่ใช้งานอยู่ทุกวันนี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่:

ประเภทแรก รถเข็น Wheel Chair แบบต้องใช้กำลังคนขับเคลื่อน ซึ่งก็สามารถแบ่งย่อยออกไปได้อีก 2 ประเภท:

  1. Transport wheel chair– รถเข็น Wheel Chair ประเภทนี้จำเป็นต้องอาศัยคนช่วยเข็นเท่านั้น คนนั่งไม่สามารถเข็นเองได้ นิยมใช้งานกันในโรงพยาบาลเพื่อเคลื่อนย้ายคนไข้จากสถานที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง รถเข็นลักษณะนี้ จะมีล้อหลังขนาดเล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ประมาณ 8-14นิ้ว ผู้นั่งจะไม่สามารถเอื้อมมือไปขยับล้อเพื่อเคลื่อนไหวรถเข็นด้วยตัวเองได้ ข้อดีคือน้ำหนักเบา ราคาค่อนข้างถูก
  2. Manually propelled wheel chair– รถเข็น Wheel Chair ประเภทนี้ผู้ใช้งานสามารถที่จะขยับรถเข็นเคลื่อนที่เองได้โดยจะต้องใช้แขนทั้งสองข้างในการช่วยหมุนล้อ ส่วนในกรณีที่ต้องการเบรก ผู้ใช้งานต้องใช้แขนทั้งสองข้างจับที่วงปั่นเพื่อช่วยในการชะลอผ่อนความเร็ว รถเข็นประเภทนี้ จะมีล้อหลังขนาดใหญ่ตั้งแต่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20-24นิ้ว (51-61 ซ.ม.) ข้อดีคือผู้ใช้งานสามารถบังคับควบคุมรถได้ด้วยตนเอง

ประเภทที่สอง รถเข็น Wheel Chair ที่ใช้พลังงานภายนอก หรือ นิยมเรียกกันว่า รถเข็นไฟฟ้า

คือรถเข็นที่ใช้ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ในการขับเคลื่อน โดยลักษณะภายนอกของรถเข็นและการใช้งานจะเหมือนกับแบบที่ใช้กำลังคนในการขับเคลื่อน แต่จะถูกติดตั้งเพิ่มเติมด้วยระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าทำให้ผู้ใช้งานสามารถบังคับทิศทางการเคลื่อนที่ไปในทางที่ต้องการได้ รถเข็นแบบนี้นิยมใช้กับผู้สูงอายุที่มีอาการป่วยหนักไม่สามารถควบคุมการทำงานภายในร่างกายได้ หรือพิการ เป็นอัมพาตจนร่างกายขยับไม่ได้

รถเข็นไฟฟ้าช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ป่วย ผู้สูงอายุได้เป็นอย่างมากโดยเฉพาะผู้ที่ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ไม่สามารถขยับเขยื้อนช่วงล่างของร่างกายได้เลย ผู้ใช้งานสามารถบังคับรถเพื่อหลบหลีกทาง หรือ เขยิบไปในจุดที่สะดวกได้ด้วยตนเองหรือในขณะที่คนเข็นรถไม่อยู่

ข้อแนะนำในการเลือกรถเข็นผู้ป่วย ผู้สูงอายุ:

  1. ควรเลือกแบบที่สามารถพับเก็บได้เพื่อความสะดวกในการพกพาไปในสถานที่ต่างๆ เพื่อความง่ายในการเคลื่อนย้าย
  2. รถเข็นควรมีเบรกและระบบล๊อคล้อเพื่อความปลอดภัย
  3. กรณีเป็นผู้ป่วยหนักจำเป็นต้องใช้รถเข็นในระยะเวลานาน ควรเลือกซื้อแบบที่ทนทาน มีน้ำหนักเบา สามารถเคลื่อนย้ายได้โดยสะดวก หากต้องเดินทางเป็นประจำควรซื้อแบบที่ทำด้วยอลูมิเนียม
  4. รถเข็นที่ดีต้องมีความเหมาะสมกับผู้ใช้งาน ต้องไม่เทอะทะ ความลึกของเบาะนั่งต้องพอดีกับร่างกาย เมื่อนั่งแล้ว สะโพกและข้อเข่าควรงอทำมุมฉาก ควรมีช่องว่างระหว่างขอบที่นั่งกับข้อพับเข่าของผู้ป่วยเล็กน้อย หากที่นั่งลึกเกินไปอาจเกิดการเสียดสีเป็นแผลที่ใต้เข่าหรือผู้ป่วยอาจเลื่อนไหลตัวไปด้านหน้าจนอาจตกจากรถเข็นได้
  5. ต้องมีความปลอดภัยกับผู้ใช้งาน โดยควรคำนึงถึงความสูงของพนักพิงว่าต้องพอดี หากผู้ป่วยมีอาการที่ทรงตัวไม่ดี ควรใช้พนักพิงที่พอเหมาะพอดีกับตัว หากผู้ใช้งานทรงตัวดี ต้องการความคล่องตัวในการเข็นรถด้วยตนเองให้เลือกใช้พนักพิงแบบต่ำ
  6. ที่วางเท้าต้องพอเหมาะในขณะที่ผู้สูงอายุนั่ง ข้อเข่าและข้อเท้าควรงอตั้งฉากกัน ไม่ควรงอหรือเหยียดจนเกินไป หรือหากที่วางเท้าสูงเกินไปอาจส่งผลให้เกิดแรงกดไปที่ก้นมากจนอาจเกิดอันตราย เมื่อใช้ไปนานเข้าอาจทำให้ปวดหลังหรือเกิดแผลกดทับที่ก้นขึ้นมาได้

เครดิตข้อมูลจาก site :       

Phartrillion: https://phartrillion.com/how-to-choose-wheelchair/

ราคาเครื่องมือแพทย์.com:  https://bit.ly/38GGrWs