มาทำหน้ากากอนามัยใช้เองกันเถอะ

ช่วงนี้เป็นที่ทราบกันดีว่าหน้ากากอนามัยขาดตลาดหรือถ้ามีก็ขายราคาแพงพอสมควร รึจะหาก็ยาก จะไม่ใช้ก็ไม่ได้เพราะจำเป็นในการป้องกันการติดเชื้อโรคระบบทางเดินหายใจหรือ Covid-19 หน้ากากาอนามัยยังช่วยป้องกันการแพร่กระจายของโรค และยังช่วยกันฝุ่น P.M. 2.5 ได้อีกด้วย

ฉะนั้น วันนี้ Zeedoctor เลยขอนำเสนอเคล็ดลับการทำหน้ากากอนามัยแบบง่ายๆและใช้ได้ผลดีเลยที่เดียวมาแนะนำกัน ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว ในเมื่อของขาดตลาดแถมราคาแพงนัก ก็ทำเองมันซะเองเลย … ลองไปทำดูกันเลย Go Go Go !

อุปกรณ์ทำหน้ากากอนามัย

hygienic mask covid19

สิ่งที่ต้องเตรียมมี 4 อย่างในการทำหน้ากากอนามัย ได้แก่:

  1. กรรไกร
  2. ด้ายและเข็ม
  3. ผ้าฝ้าย ผ้ายืด หรือผ้าสาลู กว้าง 6 นิ้วครึ่ง xยาว 7 นิ้ว 2 ชิ้น
  4. ยางยืดหรือไส้ไก่ยาว 7 นิ้ว จำนวน 2 เส้น

 

วิธีทำหน้ากากอนามัยแบบง่ายๆ:

  1. ให้นำผ้าทั้ง 2 ชิ้น มาพับครึ่งตามแนวยาว
  2. จับจีบ Twist ขนาด 1 นิ้วตรงกลางผ้า(ดู Vdo อ้างอิงจากกรมควบคุมโรค) และนำเข็มหมุดมายึดติดตรงปลายผ้า
  3. จากนั้นนำผ้าที่ได้หันด้านนอกขึ้น
  4. วางยางยืดหรือไส้ไก่ไว้ที่มุมผ้าทั้งด้านบนและด้านล่าง
  5. นำผ้าอีกชิ้นมาทับชิ้นแรกโดยหันด้านนอกชนกัน
  6. เย็บรอบผ้าสี่เหลี่ยม กะระยะให้ห่างจากขอบผ้าครึ่งเซนติเมตร และเว้นช่องว่างไว้กลับตะเข็บอีก 1 นิ้ว
  7. สุดท้ายขลิบผ้าทั้ง 4 มุม กลับตะเข็บผ่านช่องว่างที่เราเว้นไว้และเย็บปิดก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย ได้หน้ากากอนามัยคุณภาพดีไว้ใช้งาน

 

เท่านี้ก็เป็นอันเรียบร้อยสำหรับหน้ากากอนามัยแบบง่ายๆสามารถทำเองได้ ลองนำไปทำกันดูนะ สุดท้ายอย่างลืมใส่มันด้วยล่ะจะได้ช่วยป้องกันตัวเราเองและคนรอบข้าง และท้ายสุดจริงๆคือต้องคอยดูแลสุขลักษณะขั้นพื้นฐานคือ กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ อย่าสม่ำเสมอ ถ้าออกไปที่ชุมชนที่มีคนหนาแน่นควรใส่หน้ากากอนามัย คอยล้างมือหรือใช้แอลกอฮอล์เช็ดทำความสะอาดมือสม่ำเสมอและไม่นำมือไปสัมผัสบนใบหน้า จมูก ปาก และขยี้ตา เท่านี้คุณก็สามารถป้องกันไวรัส Covid-19 เบื้องต้นได้แล้ว

 

แหล่งข้อมูล: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณะสุข

Link vdo แนะนำ: https://www.facebook.com/watch/?v=477902096496580

อันดับแรก ต้องเข้าใจกันก่อนว่ารถเข็นที่ใช้งานอยู่ทุกวันนี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่:

ประเภทแรก รถเข็น Wheel Chair แบบต้องใช้กำลังคนขับเคลื่อน ซึ่งก็สามารถแบ่งย่อยออกไปได้อีก 2 ประเภท:

  1. Transport wheel chair– รถเข็น Wheel Chair ประเภทนี้จำเป็นต้องอาศัยคนช่วยเข็นเท่านั้น คนนั่งไม่สามารถเข็นเองได้ นิยมใช้งานกันในโรงพยาบาลเพื่อเคลื่อนย้ายคนไข้จากสถานที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง รถเข็นลักษณะนี้ จะมีล้อหลังขนาดเล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ประมาณ 8-14นิ้ว ผู้นั่งจะไม่สามารถเอื้อมมือไปขยับล้อเพื่อเคลื่อนไหวรถเข็นด้วยตัวเองได้ ข้อดีคือน้ำหนักเบา ราคาค่อนข้างถูก
  2. Manually propelled wheel chair– รถเข็น Wheel Chair ประเภทนี้ผู้ใช้งานสามารถที่จะขยับรถเข็นเคลื่อนที่เองได้โดยจะต้องใช้แขนทั้งสองข้างในการช่วยหมุนล้อ ส่วนในกรณีที่ต้องการเบรก ผู้ใช้งานต้องใช้แขนทั้งสองข้างจับที่วงปั่นเพื่อช่วยในการชะลอผ่อนความเร็ว รถเข็นประเภทนี้ จะมีล้อหลังขนาดใหญ่ตั้งแต่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20-24นิ้ว (51-61 ซ.ม.) ข้อดีคือผู้ใช้งานสามารถบังคับควบคุมรถได้ด้วยตนเอง

ประเภทที่สอง รถเข็น Wheel Chair ที่ใช้พลังงานภายนอก หรือ นิยมเรียกกันว่า รถเข็นไฟฟ้า

คือรถเข็นที่ใช้ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ในการขับเคลื่อน โดยลักษณะภายนอกของรถเข็นและการใช้งานจะเหมือนกับแบบที่ใช้กำลังคนในการขับเคลื่อน แต่จะถูกติดตั้งเพิ่มเติมด้วยระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าทำให้ผู้ใช้งานสามารถบังคับทิศทางการเคลื่อนที่ไปในทางที่ต้องการได้ รถเข็นแบบนี้นิยมใช้กับผู้สูงอายุที่มีอาการป่วยหนักไม่สามารถควบคุมการทำงานภายในร่างกายได้ หรือพิการ เป็นอัมพาตจนร่างกายขยับไม่ได้

รถเข็นไฟฟ้าช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ป่วย ผู้สูงอายุได้เป็นอย่างมากโดยเฉพาะผู้ที่ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ไม่สามารถขยับเขยื้อนช่วงล่างของร่างกายได้เลย ผู้ใช้งานสามารถบังคับรถเพื่อหลบหลีกทาง หรือ เขยิบไปในจุดที่สะดวกได้ด้วยตนเองหรือในขณะที่คนเข็นรถไม่อยู่

ข้อแนะนำในการเลือกรถเข็นผู้ป่วย ผู้สูงอายุ:

  1. ควรเลือกแบบที่สามารถพับเก็บได้เพื่อความสะดวกในการพกพาไปในสถานที่ต่างๆ เพื่อความง่ายในการเคลื่อนย้าย
  2. รถเข็นควรมีเบรกและระบบล๊อคล้อเพื่อความปลอดภัย
  3. กรณีเป็นผู้ป่วยหนักจำเป็นต้องใช้รถเข็นในระยะเวลานาน ควรเลือกซื้อแบบที่ทนทาน มีน้ำหนักเบา สามารถเคลื่อนย้ายได้โดยสะดวก หากต้องเดินทางเป็นประจำควรซื้อแบบที่ทำด้วยอลูมิเนียม
  4. รถเข็นที่ดีต้องมีความเหมาะสมกับผู้ใช้งาน ต้องไม่เทอะทะ ความลึกของเบาะนั่งต้องพอดีกับร่างกาย เมื่อนั่งแล้ว สะโพกและข้อเข่าควรงอทำมุมฉาก ควรมีช่องว่างระหว่างขอบที่นั่งกับข้อพับเข่าของผู้ป่วยเล็กน้อย หากที่นั่งลึกเกินไปอาจเกิดการเสียดสีเป็นแผลที่ใต้เข่าหรือผู้ป่วยอาจเลื่อนไหลตัวไปด้านหน้าจนอาจตกจากรถเข็นได้
  5. ต้องมีความปลอดภัยกับผู้ใช้งาน โดยควรคำนึงถึงความสูงของพนักพิงว่าต้องพอดี หากผู้ป่วยมีอาการที่ทรงตัวไม่ดี ควรใช้พนักพิงที่พอเหมาะพอดีกับตัว หากผู้ใช้งานทรงตัวดี ต้องการความคล่องตัวในการเข็นรถด้วยตนเองให้เลือกใช้พนักพิงแบบต่ำ
  6. ที่วางเท้าต้องพอเหมาะในขณะที่ผู้สูงอายุนั่ง ข้อเข่าและข้อเท้าควรงอตั้งฉากกัน ไม่ควรงอหรือเหยียดจนเกินไป หรือหากที่วางเท้าสูงเกินไปอาจส่งผลให้เกิดแรงกดไปที่ก้นมากจนอาจเกิดอันตราย เมื่อใช้ไปนานเข้าอาจทำให้ปวดหลังหรือเกิดแผลกดทับที่ก้นขึ้นมาได้

เครดิตข้อมูลจาก site :       

Phartrillion: https://phartrillion.com/how-to-choose-wheelchair/

ราคาเครื่องมือแพทย์.com:  https://bit.ly/38GGrWs