7 วิธีการป้องกันโคโรน่าไวรัสในคนทั่วไปและผู้สูงอายุ

“แพทย์ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่า สถานการณ์การระบาดของโคโรน่าไวรัส 2019 ในกรณีที่เลวร้ายที่สุดจะไม่ต่างจากไข้หวัดใหญ่ 2009″

ช่วงระยะแรกๆ ก็จะมีอาการกลัว วิตกกังวล แต่หลังจากการระบาดใหญ่ก็จะเป็นไปตามฤดูการณ์ เหตุที่คนตื่นตระหนกเพราะยังขาดองค์ความรู้เกี่ยวกับโคโรน่าไวรัส 2019

 

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิตและหัวหน้าศูนย์ เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาค วิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ โพสต์เฟซบุ๊คส่วนตัวเมื่อวันที่ 25 ม.ค.2563 ระบุว่า..

ปอดบวม อู่ฮั่น โคโรน่าไวรัส สายพันธุ์ใหม่ ขณะนี้มีผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันประมาณ 1,000 กว่าราย เสียชีวิต 50 กว่ารายส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ เกิน 65 ปี แต่ทั้งนี้ผู้สูงอายุก็ไม่ควรวิตกกังวลจนเกินไป เพราะถ้าดูแลสุขภาพกายให้แข็งแรง หมั่นออกกำลังกาย และมีภูมิคุ้มกันโรคก็มีความเสี่ยตำที่จะติดไวรัสชนิดนี้

โคโรน่าไวรัสในผู้สูงอายุ

Cr. ภาพ: ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ

ศ.นพ.ยง ยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า โคโรน่าไวรัสนี้เป็นไวรัสตัวใหม่ ไม่เคยพบในมนุษย์มาก่อน เมื่อเป็นไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ทำให้ขาดองค์ความรู้ ของโรค ถ้ามองในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดของโรคปอดบวม อู่ฮั่น ก็คงจะไม่เลวร้ายไปกว่าการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในระยะแรกก็ตื่นตระหนกเช่นเดียวกัน หลังจากระบาดใหญ่ ไวรัสตัวนี้ก็ประจำถิ่น เป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลไปเรียบร้อยแล้ว คนส่วนใหญ่เคยเป็น และมีภูมิอยู่บ้างแล้ว การระบาดใหญ่จึงลดลง

ทุกวันนี้ก็ยังตรวจพบและมีการระบาดเป็นหย่อม เช่นการระบาดในโรงเรียนที่เราเห็นอยู่ ว่ามีไข้หวัดใหญ่ เอ ระบาด ปิดโรงเรียน

กลุ่มโคโรน่าไวรัส ก่อโรคให้ทั้งคนและสัตว์มีเป็นจำนวนมากมาย ที่พบในคน เดิมมี 6 สายพันธุ์ สายพันธุ์นี้เป็นสายพันธุ์ใหม่ สายพันธุ์ที่ 7

4 สายพันธุ์เดิม ส่วนใหญ่เป็นโรคทางเดินหายใจของเด็กผู้ใหญ่ส่วนมากเคยติดเชื้อมาแล้วและมีภูมิต้านทาน และแข็งแรงกว่า ยกเว้นผู้สูงอายุ ทำนองเดียวกัน อู่ฮั่นโคโรน่าไวรัส จะเห็นว่าในเด็ก หรือวัยกลางคน อาการจะน้อย แทบจะไม่มีใครเสียชีวิตเลย โรคนี้ติดต่อทางฝอยละออง ที่ผู้ป่วยไอ จามออกมา แล้วตกทำโต๊ะ พื้น ที่ต่างๆ เมื่อเราเอามือไปสัมผัส แล้วมือนั้นมาโดนใบหน้า ขยี้ตา จมูก ปาก ทำให้ติดเชื้อได้ การเดินสวนไปสวนมาไม่ทำให้ติด ยกเว้นว่ามีการไอจามเกิดขึ้น ฝอยละอองกระเด็นมาถูกเรา การล้างมือจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด ในฤดูกาลนี้ไม่ควรจะถูกต้องใบหน้า ถ้าไม่ได้ล้างมือก่อน

เราก็ได้ทราบเบื้องต้นเกี่ยวกับโคโรน่าไวรัสว่าเป็นอย่างไร และมีผลกระทบกับคนกลุ่มไหนบ้างกันไปแล้ว คราวนี้เราขอนำเสนอ 7 ข้อพึงปฏิบัติที่จะช่วยป้องกันโคโรน่าไวรัส ในคนทั่วไปและกลุ่มผู้สูงอายุ:

ป้องกันโคโรน่าไวรัสในผู้สูงอายุ

Cr.ภาพ: Page ข่าวใหญ่ไทยแลนด์

1). ล้างมือบ่อยๆ ถ้าจะให้ดีควรใช้สบู่และควรถูอย่างน้อยเป็นเวลา 20 วินาที เพื่อกำจัดเชื้อไวรัสที่อาจจะติดอยู่ตามมือ และอาจจะสัมผัสโดนใบหน้า ตา จมูก หรือปาก

 

2). ควรใส่หน้ากากอนามัยชนิดสีฟ้าเขียว สามารถใช้หน้ากาก N95 ได้ แต่ราคาอาจจะสูง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับงบประมาณของแต่ละท่าน

 

3). พยายามหลีกเลี่ยงสถานที่แออัด คับคั่ง หรือสถานที่ท่องเที่ยวที่มีผู้คนอยู่เยอะๆ และสถานที่เย็นๆ ชื้นๆ เพราะจะเป็นแหล่งเพาะเชื้อไวรัสได้ดี เชื้อมีโอกาสที่จะเติบโตได้ง่าย หรือถ้าเรา พ่อ แม่ และผู้สูงอายุ จำเป็นต้องไปในสถานที่มีผู้คนอยู่เยอะแยะ ใส่หน้ากากถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกัน

 

4). ควรพกเจลล้างมือแอลกอฮอล์ 70% ติดตัวไว้ และคอยใช้ทำความสะอาดมือเราและผู้สูงอายุเพื่อป้องกันโคโรน่าไวรัสอย่างสม่ำเสมอ

 

5). หลีกเลี่ยงการเอามือจับหน้า ตา จมูก และ ปาก

 

6). หลีกเลี่ยงการเดินทาง โดยเฉพาะไปประเทศจีน หรือหากกลับมาจากพื้นที่เสี่ยง ถ้าเริ่ม มีไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจเหนื่อยหอบ ให้รีบไปพบแพทย์พร้อมแจ้งประวัติการเดินทางโดยด่วน โทรแจ้งสายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422 เพื่อให้รถจากสถานพยาบาลมารับทันที

 

7). สุดท้าย ถ้ามีอาการไข้ ไอ น้ำมูก หายใจถี่ๆหรือเหนื่อยหอบ ควรไปพบแพทย์ทันที

 

ทั้งหมดนี้คือการป้องกันไข้หวัดพื้นฐานทั่วไป เพราะโคโรน่าไวรัสชนิดนี้ติดต่อได้เหมือนไข้หวัด เราและผู้สูงอายุควรจำไว้เสมอว่า “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” และพักผ่อนให้เพียงพอ

Credit ข่าวสาร: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/863559

เรียบเรียงโดย: ทีมงาน Zeedoctor

อันดับแรก ต้องเข้าใจกันก่อนว่ารถเข็นที่ใช้งานอยู่ทุกวันนี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่:

ประเภทแรก รถเข็น Wheel Chair แบบต้องใช้กำลังคนขับเคลื่อน ซึ่งก็สามารถแบ่งย่อยออกไปได้อีก 2 ประเภท:

  1. Transport wheel chair– รถเข็น Wheel Chair ประเภทนี้จำเป็นต้องอาศัยคนช่วยเข็นเท่านั้น คนนั่งไม่สามารถเข็นเองได้ นิยมใช้งานกันในโรงพยาบาลเพื่อเคลื่อนย้ายคนไข้จากสถานที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง รถเข็นลักษณะนี้ จะมีล้อหลังขนาดเล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ประมาณ 8-14นิ้ว ผู้นั่งจะไม่สามารถเอื้อมมือไปขยับล้อเพื่อเคลื่อนไหวรถเข็นด้วยตัวเองได้ ข้อดีคือน้ำหนักเบา ราคาค่อนข้างถูก
  2. Manually propelled wheel chair– รถเข็น Wheel Chair ประเภทนี้ผู้ใช้งานสามารถที่จะขยับรถเข็นเคลื่อนที่เองได้โดยจะต้องใช้แขนทั้งสองข้างในการช่วยหมุนล้อ ส่วนในกรณีที่ต้องการเบรก ผู้ใช้งานต้องใช้แขนทั้งสองข้างจับที่วงปั่นเพื่อช่วยในการชะลอผ่อนความเร็ว รถเข็นประเภทนี้ จะมีล้อหลังขนาดใหญ่ตั้งแต่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20-24นิ้ว (51-61 ซ.ม.) ข้อดีคือผู้ใช้งานสามารถบังคับควบคุมรถได้ด้วยตนเอง

ประเภทที่สอง รถเข็น Wheel Chair ที่ใช้พลังงานภายนอก หรือ นิยมเรียกกันว่า รถเข็นไฟฟ้า

คือรถเข็นที่ใช้ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ในการขับเคลื่อน โดยลักษณะภายนอกของรถเข็นและการใช้งานจะเหมือนกับแบบที่ใช้กำลังคนในการขับเคลื่อน แต่จะถูกติดตั้งเพิ่มเติมด้วยระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าทำให้ผู้ใช้งานสามารถบังคับทิศทางการเคลื่อนที่ไปในทางที่ต้องการได้ รถเข็นแบบนี้นิยมใช้กับผู้สูงอายุที่มีอาการป่วยหนักไม่สามารถควบคุมการทำงานภายในร่างกายได้ หรือพิการ เป็นอัมพาตจนร่างกายขยับไม่ได้

รถเข็นไฟฟ้าช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ป่วย ผู้สูงอายุได้เป็นอย่างมากโดยเฉพาะผู้ที่ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ไม่สามารถขยับเขยื้อนช่วงล่างของร่างกายได้เลย ผู้ใช้งานสามารถบังคับรถเพื่อหลบหลีกทาง หรือ เขยิบไปในจุดที่สะดวกได้ด้วยตนเองหรือในขณะที่คนเข็นรถไม่อยู่

ข้อแนะนำในการเลือกรถเข็นผู้ป่วย ผู้สูงอายุ:

  1. ควรเลือกแบบที่สามารถพับเก็บได้เพื่อความสะดวกในการพกพาไปในสถานที่ต่างๆ เพื่อความง่ายในการเคลื่อนย้าย
  2. รถเข็นควรมีเบรกและระบบล๊อคล้อเพื่อความปลอดภัย
  3. กรณีเป็นผู้ป่วยหนักจำเป็นต้องใช้รถเข็นในระยะเวลานาน ควรเลือกซื้อแบบที่ทนทาน มีน้ำหนักเบา สามารถเคลื่อนย้ายได้โดยสะดวก หากต้องเดินทางเป็นประจำควรซื้อแบบที่ทำด้วยอลูมิเนียม
  4. รถเข็นที่ดีต้องมีความเหมาะสมกับผู้ใช้งาน ต้องไม่เทอะทะ ความลึกของเบาะนั่งต้องพอดีกับร่างกาย เมื่อนั่งแล้ว สะโพกและข้อเข่าควรงอทำมุมฉาก ควรมีช่องว่างระหว่างขอบที่นั่งกับข้อพับเข่าของผู้ป่วยเล็กน้อย หากที่นั่งลึกเกินไปอาจเกิดการเสียดสีเป็นแผลที่ใต้เข่าหรือผู้ป่วยอาจเลื่อนไหลตัวไปด้านหน้าจนอาจตกจากรถเข็นได้
  5. ต้องมีความปลอดภัยกับผู้ใช้งาน โดยควรคำนึงถึงความสูงของพนักพิงว่าต้องพอดี หากผู้ป่วยมีอาการที่ทรงตัวไม่ดี ควรใช้พนักพิงที่พอเหมาะพอดีกับตัว หากผู้ใช้งานทรงตัวดี ต้องการความคล่องตัวในการเข็นรถด้วยตนเองให้เลือกใช้พนักพิงแบบต่ำ
  6. ที่วางเท้าต้องพอเหมาะในขณะที่ผู้สูงอายุนั่ง ข้อเข่าและข้อเท้าควรงอตั้งฉากกัน ไม่ควรงอหรือเหยียดจนเกินไป หรือหากที่วางเท้าสูงเกินไปอาจส่งผลให้เกิดแรงกดไปที่ก้นมากจนอาจเกิดอันตราย เมื่อใช้ไปนานเข้าอาจทำให้ปวดหลังหรือเกิดแผลกดทับที่ก้นขึ้นมาได้

เครดิตข้อมูลจาก site :       

Phartrillion: https://phartrillion.com/how-to-choose-wheelchair/

ราคาเครื่องมือแพทย์.com:  https://bit.ly/38GGrWs