โรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุนโดย: รศ.นพ.อาศิส อุนนะนันทน์

ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัด

Osteoporosis

คนที่ร่างกายปกติ แต่พอนานวันเข้าความสูงของร่างกายกลับลดลงได้เอง ลักษณะแบบนี้มีโอกาสเกิดโรคกระดูกพรุนได้จริงหรือไม่ มาหาคำตอบกับเรื่องนี้กัน

โรคกระดูกพรุน เกิดจากการลดลงของปริมาณกระดูกในร่างกาย ร่วมกับมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในของกระดูก เป็นผลให้ความแข็งแรงของกระดูกโดยรวมลดลง และเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกหักได้หลายตำแหน่ง เช่น กระดูกข้อสะโพก กระดูกข้อมือ หรือกระดูกสันหลัง และผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกพรุนมักจะไม่มีอาการใด ๆ

โดยทั่วไปในผู้สูงอายุที่มีความสูงลดลง อาจจะต้องวินิจฉัยหาสาเหตุ เพราะว่าอาจจะมีความสูงลดลงจากภาวะกระดูกสันหลังหักยุบจากโรคกระดูกพรุนได้ หรือในผู้ป่วยบางรายที่มีภาวะกระดูกสันหลังเสื่อม และทำให้กระดูกสันหลังโก่ง โค้งก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ความสูงของผู้ป่วยลดลงได้เช่นกัน ซึ่งเราควรจะต้องสงสัยภาวะกระดูกสันหลังหักยุบจากโรคกระดูกพรุน หากผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุมีความสูงลดลง 2 เซนติเมตรต่อปี หรือส่วนสูงลดลง 4 เซนติเมตรเมื่อเทียบกับความสูงในช่วงวัยหนุ่มสาว หากมีลักษณะแบบนี้ควรต้องสงสัยและมาพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยต่อไป

หมอ รักษา ข้อเสื่อม

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน ตัวอย่างเช่น ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ในผู้หญิงที่มีภาวะหมดประจําเดือนก่อนวัยอันควร เช่น ถูกตัดรังไข่ทั้ง 2 ข้าง ก่อนอายุ 45 ปี ในกรณีของผู้ชาย เราใช้เกณฑ์อายุประมาณ 70 ปี นอกจากนี้ การกินยาบางชนิดก็เป็นสาเหตุของโรคกระดูกพรุนได้ เช่น ยาสเตียรอยด์ ยาเคมีบำบัดรักษาและได้รับการฉายรังสีรักษา รวมถึงผู้ป่วยที่มีพฤติกรรม เช่น การดื่มชา กาแฟที่มากเกินไป ขาดสารอาหารแคลเซียมหรือวิตามินดี ไม่ค่อยถูกแสงแดด เหล่านี้ก็จะเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคกระดูกพรุนได้เช่นกัน

สำหรับการป้องกันตนเองไม่ให้เกิดโรคกระดูกพรุน แนะนำให้รับประทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะและครบ 5 หมู่ (อาหารหลัก 5 หมู่ อ่านเพิ่มเติม) โดยเน้นสารอาหารประเภทแคลเซียม และที่มีวิตามินดีร่วมด้วย ซึ่งวิตามินดีก็อาจจะได้จากแสงแดด ฉะนั้นจึงขอแนะนำให้ออกกำลังกายในที่โล่งแจ้งเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ที่เหมาะสม อาจเป็นการเดินธรรมดา การวิ่งเหยาะ ๆ และการรำไทเก๊ก เป็นต้น หากผู้ป่วยมีความเสี่ยงของการเกิดโรคกระดูกพรุนจากการกินยาสเตียรอยด์เป็นระยะเวลานาน ๆ กรณีนี้แนะนำให้ผู้ป่วยไปพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยหาโรคกระดูกพรุน โดยอาจจะทำการวัดมวลกระดูก หากมีข้อบ่งชี้อาจมีความจำเป็นต้องใช้ยารักษาโรคกระดูกพรุน

ขอประชาสัมพันธ์ แนะนำกิจกรรมดีๆที่ศิริราช

#รพ.ศิริราชเปิดให้บริการผู้ป่วยนอกแบบใหม่ (New Normal OPD Siriraj)อีกหนึ่งทางเลือกของการให้บริการแก่ผู้ป่วยอย่างมีมาตรฐาน เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องเพียงดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Siriraj Connect สามารถพบแพทย์ออนไลน์ ชำระเงินและรับยาทางไปรษณีย์โดยผู้ป่วยที่ใช้บริการพบแพทย์ออนไลน์นี้ จะต้องเป็นผู้ป่วยที่มีนัดหมายและมีอาการคงที่ รักษาต่อเนื่องที่ รพ.ศิริราช และหากผู้ป่วยมีความจำเป็นต้องมาพบแพทย์สามารถยืนยันและติดตามการตรวจจากบ้าน และติดตามคิวชำระเงิน คิวเจาะเลือด เพื่อลดความแออัด ลดระยะเวลาการอยู่ในโรงพยาบาลให้สั้นที่สุด และลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 2414 2000 กด 1

ขอบคุณที่มาข่าวสาร MGR Online https://m.mgronline.com

อันดับแรก ต้องเข้าใจกันก่อนว่ารถเข็นที่ใช้งานอยู่ทุกวันนี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่:

ประเภทแรก รถเข็น Wheel Chair แบบต้องใช้กำลังคนขับเคลื่อน ซึ่งก็สามารถแบ่งย่อยออกไปได้อีก 2 ประเภท:

  1. Transport wheel chair– รถเข็น Wheel Chair ประเภทนี้จำเป็นต้องอาศัยคนช่วยเข็นเท่านั้น คนนั่งไม่สามารถเข็นเองได้ นิยมใช้งานกันในโรงพยาบาลเพื่อเคลื่อนย้ายคนไข้จากสถานที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง รถเข็นลักษณะนี้ จะมีล้อหลังขนาดเล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ประมาณ 8-14นิ้ว ผู้นั่งจะไม่สามารถเอื้อมมือไปขยับล้อเพื่อเคลื่อนไหวรถเข็นด้วยตัวเองได้ ข้อดีคือน้ำหนักเบา ราคาค่อนข้างถูก
  2. Manually propelled wheel chair– รถเข็น Wheel Chair ประเภทนี้ผู้ใช้งานสามารถที่จะขยับรถเข็นเคลื่อนที่เองได้โดยจะต้องใช้แขนทั้งสองข้างในการช่วยหมุนล้อ ส่วนในกรณีที่ต้องการเบรก ผู้ใช้งานต้องใช้แขนทั้งสองข้างจับที่วงปั่นเพื่อช่วยในการชะลอผ่อนความเร็ว รถเข็นประเภทนี้ จะมีล้อหลังขนาดใหญ่ตั้งแต่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20-24นิ้ว (51-61 ซ.ม.) ข้อดีคือผู้ใช้งานสามารถบังคับควบคุมรถได้ด้วยตนเอง

ประเภทที่สอง รถเข็น Wheel Chair ที่ใช้พลังงานภายนอก หรือ นิยมเรียกกันว่า รถเข็นไฟฟ้า

คือรถเข็นที่ใช้ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ในการขับเคลื่อน โดยลักษณะภายนอกของรถเข็นและการใช้งานจะเหมือนกับแบบที่ใช้กำลังคนในการขับเคลื่อน แต่จะถูกติดตั้งเพิ่มเติมด้วยระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าทำให้ผู้ใช้งานสามารถบังคับทิศทางการเคลื่อนที่ไปในทางที่ต้องการได้ รถเข็นแบบนี้นิยมใช้กับผู้สูงอายุที่มีอาการป่วยหนักไม่สามารถควบคุมการทำงานภายในร่างกายได้ หรือพิการ เป็นอัมพาตจนร่างกายขยับไม่ได้

รถเข็นไฟฟ้าช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ป่วย ผู้สูงอายุได้เป็นอย่างมากโดยเฉพาะผู้ที่ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ไม่สามารถขยับเขยื้อนช่วงล่างของร่างกายได้เลย ผู้ใช้งานสามารถบังคับรถเพื่อหลบหลีกทาง หรือ เขยิบไปในจุดที่สะดวกได้ด้วยตนเองหรือในขณะที่คนเข็นรถไม่อยู่

ข้อแนะนำในการเลือกรถเข็นผู้ป่วย ผู้สูงอายุ:

  1. ควรเลือกแบบที่สามารถพับเก็บได้เพื่อความสะดวกในการพกพาไปในสถานที่ต่างๆ เพื่อความง่ายในการเคลื่อนย้าย
  2. รถเข็นควรมีเบรกและระบบล๊อคล้อเพื่อความปลอดภัย
  3. กรณีเป็นผู้ป่วยหนักจำเป็นต้องใช้รถเข็นในระยะเวลานาน ควรเลือกซื้อแบบที่ทนทาน มีน้ำหนักเบา สามารถเคลื่อนย้ายได้โดยสะดวก หากต้องเดินทางเป็นประจำควรซื้อแบบที่ทำด้วยอลูมิเนียม
  4. รถเข็นที่ดีต้องมีความเหมาะสมกับผู้ใช้งาน ต้องไม่เทอะทะ ความลึกของเบาะนั่งต้องพอดีกับร่างกาย เมื่อนั่งแล้ว สะโพกและข้อเข่าควรงอทำมุมฉาก ควรมีช่องว่างระหว่างขอบที่นั่งกับข้อพับเข่าของผู้ป่วยเล็กน้อย หากที่นั่งลึกเกินไปอาจเกิดการเสียดสีเป็นแผลที่ใต้เข่าหรือผู้ป่วยอาจเลื่อนไหลตัวไปด้านหน้าจนอาจตกจากรถเข็นได้
  5. ต้องมีความปลอดภัยกับผู้ใช้งาน โดยควรคำนึงถึงความสูงของพนักพิงว่าต้องพอดี หากผู้ป่วยมีอาการที่ทรงตัวไม่ดี ควรใช้พนักพิงที่พอเหมาะพอดีกับตัว หากผู้ใช้งานทรงตัวดี ต้องการความคล่องตัวในการเข็นรถด้วยตนเองให้เลือกใช้พนักพิงแบบต่ำ
  6. ที่วางเท้าต้องพอเหมาะในขณะที่ผู้สูงอายุนั่ง ข้อเข่าและข้อเท้าควรงอตั้งฉากกัน ไม่ควรงอหรือเหยียดจนเกินไป หรือหากที่วางเท้าสูงเกินไปอาจส่งผลให้เกิดแรงกดไปที่ก้นมากจนอาจเกิดอันตราย เมื่อใช้ไปนานเข้าอาจทำให้ปวดหลังหรือเกิดแผลกดทับที่ก้นขึ้นมาได้

เครดิตข้อมูลจาก site :       

Phartrillion: https://phartrillion.com/how-to-choose-wheelchair/

ราคาเครื่องมือแพทย์.com:  https://bit.ly/38GGrWs