โรงเรียนผู้สูงอายุที่เป็นมากกว่าแค่โรงเรียน

โรงเรียนผู้สูงอายุ เปิดเทอม ชักธง ร้องเพลงชาติ มีหัวหน้าห้อง นักเรียนอายุ 66 แก่สุด 80 ปี

 

เป็นความคิดที่ดีมากในการสร้ากิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุในรูปแบบนี้ขึ้นมาทำให้ผู้สูงอายุได้พบปะสังสรรค์ ได้ฝึกตัวเอง ได้ลำลึกกลับไปเป็นเด็ก ได้ไปโรงเรียนอีกครั้ง คลายเหงา และ พัฒนาสมอง สร้างความสุข มีคุณค่าในตัวเอง

แอดขอแชร์เพราะเห็นว่ากิจกรรมเป็นประโยชน์และมีความคิดสร้างสรรค์ กิจกรรมมีหลากหลายประเภทที่เป็นประโยชน์ช่วยสร้างคุณค่า และ คุณภาพให้แก่ผู้สูงอายุ ติดตามเนื้อข่าวด้านล่างได้เลย:

 

คนแก่ใครคิดว่าไม่สำคัญ อบต.ตาลเตี้ย สุโขทัย ไอเดียดี เปิดโรงเรียนผู้สูงอายุ เพื่อให้สร้างผู้สูงอายุให้มี คุณค่า ชราอย่างมีคุณภาพ เปิดเทอมวันแรกมีนักเรียน 60 คน อายุมากสุดคือ 80 ปี เข้าแถวร้องเพลงชาติ ทำกิจกรรมหน้าเสาธงตามปกติ…

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 9 ก.พ.59 ดร.พรรณสิริ กุลนาถศิริ นายก อบจ.สุโขทัย มอบหมายให้นางอัจฉราสมอุปฮาด รรท.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จ.สุโขทัย (พม.)เป็นประธานในพิธีเปิดโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลตาลเตี้ย ณ ห้องประชุม อบต.ตาลเตี้ย อ.เมืองสุโขทัย โดยมีนายองอาจ เพ็งเอี่ยม นายก อบต.ตาลเตี้ย พร้อมคณะผู้บริหารและแขกผู้มีเกียรติ รวมทั้งผู้สูงอายุ และประชาชน เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 200 คน มีการยืนเข้าแถวร้องเพลงชาติ สวดมนต์ และปฏิญาณตน เหมือนเช่นโรงเรียนทั่วไป

โรงเรียนผู้สูงอายุ

รายละเอียดของโรงเรียนผู้สูงอายุคือ

นางอัจฉรา สมอุปฮาด ประธานในพิธีกล่าวว่า โรงเรียนผู้สูงอายุ เป็นการจัดการศึกษารูปแบบหนึ่ง ที่ต้องการให้ผู้สูงอายุให้ความสำคัญต่อการดำเนินชีวิต เพื่อให้เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพตามนโยบายของรัฐบาล ดังนั้น จึงขอชื่นชมการดำเนินโครงการดังกล่าว ซึ่งทาง อบต.ตาลเตี้ย ได้ออกแบบจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ ลดภาระการดูแลในโอกาสข้างหน้า ซึ่งโรงเรียนผู้สูงอายุจะเป็นประโยชนต่อตัวผู้สูงอายุเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคมใน 4 มิติ คือ ด้านกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา

กิจกรรมผู้สูงอายุ

ความเห็นของผู้ริเริ่มโครงการโรงเรียนผู้สูงอายุ

นายองอาจ เพ็งเอี่ยม นายก อบต.ตาลเตี้ย กล่าวว่า การจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุในครั้งนี้ เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ มิให้ตกเป็นภาระของครอบครัว ชุมชน และสังคม โดยมีผู้สูงอายุเข้าร่วมโครงการจำนวน 60 คน เริ่มเปิดดำเนินการตั้งแต่วันนี้ (9 ก.พ.) โรงเรียนผู้สูงอายุ แบ่งเป็น 2 ภาคเรียน ภาคเรียนละ 30 สัปดาห์ รวม 60 สัปดาห์ มีกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ใน 4 หมวดวิชา ประกอบด้วย

  1. ธรรมะนำชีวิตและจิตนำชีวิต
  2. สุขภาพกายและจิตใจ
  3. ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม
  4. หน้าที่ความเป็นพลเมือง สิทธิ และกฎหมายที่ควรรู้

ทั้งนี้ เพื่อสร้างผู้สูงอายุใน ต.ตาลเตี้ย ให้มีคุณค่า และชราอย่างมีคุณภาพต่อไป

นักเรียนผู้สูงอายุ

ด้านนายบุญธรรม เรืองมี อายุ 66 ปี อยู่บ้านเลขที่ 62/1 ม.1 ต.ตาลเตี้ย ซึ่งได้รับเลือกเป็นหัวหน้าห้อง กล่าวว่า รู้สึกตื่นเต้นกับโครงการโรงเรียนผู้สูงอายุ เสมือนกลับมาเป็นเด็กนักเรียนอีกครั้ง คาดว่ากิจกรรมนี้จะช่วยให้ตนและเพื่อนผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในสังคมมากขึ้น

เช่นเดียวกับ นางกลม เต็งแย้ม อายุ 80 ปี อยู่บ้านเลขที่ 45/1 ม.1 ต.ตาลเตี้ย ซึ่งมีอายุมากที่สุดในโรงเรียนผู้สูงอายุ กล่าวว่า เคยทำนา แต่เมื่ออายุมากขึ้น ลูกหลานให้อยู่แต่บ้าน รู้สึกเหงา เมื่อทาง อบต.ตาลเตี้ย จัดกิจกรรมขึ้นจึงตอบรับทันที นอกจากเป็นการคลายเหงา มีโอกาสพบปะพูดคุยกับคนวัยเดียวกันแล้ว ยังได้ออกกำลังกาย ช่วยให้มีสุขภาพแข็งแรงอีกด้วย.

 

 

ขอบคุณ Credit ข่าวจาก Thairath online: https://www.thairath.co.th/news/local/575166

ขอบคุณ Credit ข่าวจาก Thai PBS Youtube: https://www.youtube.com/watch?v=vJRsJr7U6rI

อันดับแรก ต้องเข้าใจกันก่อนว่ารถเข็นที่ใช้งานอยู่ทุกวันนี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่:

ประเภทแรก รถเข็น Wheel Chair แบบต้องใช้กำลังคนขับเคลื่อน ซึ่งก็สามารถแบ่งย่อยออกไปได้อีก 2 ประเภท:

  1. Transport wheel chair– รถเข็น Wheel Chair ประเภทนี้จำเป็นต้องอาศัยคนช่วยเข็นเท่านั้น คนนั่งไม่สามารถเข็นเองได้ นิยมใช้งานกันในโรงพยาบาลเพื่อเคลื่อนย้ายคนไข้จากสถานที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง รถเข็นลักษณะนี้ จะมีล้อหลังขนาดเล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ประมาณ 8-14นิ้ว ผู้นั่งจะไม่สามารถเอื้อมมือไปขยับล้อเพื่อเคลื่อนไหวรถเข็นด้วยตัวเองได้ ข้อดีคือน้ำหนักเบา ราคาค่อนข้างถูก
  2. Manually propelled wheel chair– รถเข็น Wheel Chair ประเภทนี้ผู้ใช้งานสามารถที่จะขยับรถเข็นเคลื่อนที่เองได้โดยจะต้องใช้แขนทั้งสองข้างในการช่วยหมุนล้อ ส่วนในกรณีที่ต้องการเบรก ผู้ใช้งานต้องใช้แขนทั้งสองข้างจับที่วงปั่นเพื่อช่วยในการชะลอผ่อนความเร็ว รถเข็นประเภทนี้ จะมีล้อหลังขนาดใหญ่ตั้งแต่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20-24นิ้ว (51-61 ซ.ม.) ข้อดีคือผู้ใช้งานสามารถบังคับควบคุมรถได้ด้วยตนเอง

ประเภทที่สอง รถเข็น Wheel Chair ที่ใช้พลังงานภายนอก หรือ นิยมเรียกกันว่า รถเข็นไฟฟ้า

คือรถเข็นที่ใช้ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ในการขับเคลื่อน โดยลักษณะภายนอกของรถเข็นและการใช้งานจะเหมือนกับแบบที่ใช้กำลังคนในการขับเคลื่อน แต่จะถูกติดตั้งเพิ่มเติมด้วยระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าทำให้ผู้ใช้งานสามารถบังคับทิศทางการเคลื่อนที่ไปในทางที่ต้องการได้ รถเข็นแบบนี้นิยมใช้กับผู้สูงอายุที่มีอาการป่วยหนักไม่สามารถควบคุมการทำงานภายในร่างกายได้ หรือพิการ เป็นอัมพาตจนร่างกายขยับไม่ได้

รถเข็นไฟฟ้าช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ป่วย ผู้สูงอายุได้เป็นอย่างมากโดยเฉพาะผู้ที่ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ไม่สามารถขยับเขยื้อนช่วงล่างของร่างกายได้เลย ผู้ใช้งานสามารถบังคับรถเพื่อหลบหลีกทาง หรือ เขยิบไปในจุดที่สะดวกได้ด้วยตนเองหรือในขณะที่คนเข็นรถไม่อยู่

ข้อแนะนำในการเลือกรถเข็นผู้ป่วย ผู้สูงอายุ:

  1. ควรเลือกแบบที่สามารถพับเก็บได้เพื่อความสะดวกในการพกพาไปในสถานที่ต่างๆ เพื่อความง่ายในการเคลื่อนย้าย
  2. รถเข็นควรมีเบรกและระบบล๊อคล้อเพื่อความปลอดภัย
  3. กรณีเป็นผู้ป่วยหนักจำเป็นต้องใช้รถเข็นในระยะเวลานาน ควรเลือกซื้อแบบที่ทนทาน มีน้ำหนักเบา สามารถเคลื่อนย้ายได้โดยสะดวก หากต้องเดินทางเป็นประจำควรซื้อแบบที่ทำด้วยอลูมิเนียม
  4. รถเข็นที่ดีต้องมีความเหมาะสมกับผู้ใช้งาน ต้องไม่เทอะทะ ความลึกของเบาะนั่งต้องพอดีกับร่างกาย เมื่อนั่งแล้ว สะโพกและข้อเข่าควรงอทำมุมฉาก ควรมีช่องว่างระหว่างขอบที่นั่งกับข้อพับเข่าของผู้ป่วยเล็กน้อย หากที่นั่งลึกเกินไปอาจเกิดการเสียดสีเป็นแผลที่ใต้เข่าหรือผู้ป่วยอาจเลื่อนไหลตัวไปด้านหน้าจนอาจตกจากรถเข็นได้
  5. ต้องมีความปลอดภัยกับผู้ใช้งาน โดยควรคำนึงถึงความสูงของพนักพิงว่าต้องพอดี หากผู้ป่วยมีอาการที่ทรงตัวไม่ดี ควรใช้พนักพิงที่พอเหมาะพอดีกับตัว หากผู้ใช้งานทรงตัวดี ต้องการความคล่องตัวในการเข็นรถด้วยตนเองให้เลือกใช้พนักพิงแบบต่ำ
  6. ที่วางเท้าต้องพอเหมาะในขณะที่ผู้สูงอายุนั่ง ข้อเข่าและข้อเท้าควรงอตั้งฉากกัน ไม่ควรงอหรือเหยียดจนเกินไป หรือหากที่วางเท้าสูงเกินไปอาจส่งผลให้เกิดแรงกดไปที่ก้นมากจนอาจเกิดอันตราย เมื่อใช้ไปนานเข้าอาจทำให้ปวดหลังหรือเกิดแผลกดทับที่ก้นขึ้นมาได้

เครดิตข้อมูลจาก site :       

Phartrillion: https://phartrillion.com/how-to-choose-wheelchair/

ราคาเครื่องมือแพทย์.com:  https://bit.ly/38GGrWs