มารู้จัก…ภาวะหัวใจล้มเหลว
ผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว หากไม่รู้ตัวอาจเกิดอันตรายถึงชีวิต แต่ถ้ารู้สาเหตุก็จะช่วยป้องกันตนเองได้ มาทำความเข้าใจภาวะหัวใจล้มเหลวกัน ภาวะหัวใจล้มเหลว คือ ภาวะที่หัวใจไม่สามารถทำงานตอบสนองต่อความต้องการของร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยเกิดจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย ส่วนสาเหตุอื่น ๆ เช่น โรคของตัวกล้ามเนื้อหัวใจเอง ความดันโลหิตสูงที่เป็นมานาน โรคลิ้นหัวใจที่ผิดปกติ และโรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิด สาเหตุเหล่านี้ถ้ามีความรุนแรงมากเพียงพอ อาจส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจโต และภาวะหัวใจล้มเหลวตามมาได้ ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวส่วนใหญ่จะมีอาการเหนื่อยง่ายเวลาออกแรง เมื่อมีอาการเพิ่มมากขึ้น จะมีอาการเหนื่อยเมื่ออยู่เฉย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลานอนราบจะมีอาการหายใจไม่ออก หลายรายมีอาการบวมกดบุ๋มที่บริเวณหลังเท้าและหน้าขา มีอาการท้องโต รับประทานอาหารแล้วอิ่มง่ายเนื่องจากมีภาวะคั่งของน้ำและเลือดในตับ ทำให้เกิดภาวะตับโตและน้ำในช่องท้อง ผู้ป่วยบางรายจะมีอาการอ่อนเพลีย เนื่องจากมีเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่เพียงพอ สำหรับการวินิจฉัย แพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และทำการสืบค้นทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้น เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจเอคโค่คาดิโอแกรม หรือการตรวจสวนหัวใจและหลอดเลือด ทั้งนี้เพื่อหาสาเหตุและประเมินความรุนแรงของผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อเลือกการักษาที่เหมาะสม ด้านการรักษา โดยทั่วไปมี 2 วิธีใหญ่ ๆ คือ 1. การรักษาจำเพาะของแต่ละสาเหตุ เช่น การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน หรือการผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ การผ่าตัดเปลี่ยนหรือซ่อมลิ้นหัวใจ […]
สังคมผู้สูงอายุในประเทศไทย
สังคมผู้สูงอายุ Aging Society คืออะไร? อ้างอิงจากคำจำกัดความขององค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN World Population Ageing) ได้นิยามคำว่าสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) และผู้สูงอายุ (Older person) หมายถึงกลุ่มของประชากรทั้งเพศชายและหญิงที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป รวมทั้งได้แบ่งระดับของการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุออกเป็น 3 ระดับได้แก่: ระดับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ(Aging Society) หมายถึงสังคมหรือประเทศที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ หรือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปีมากกว่าร้อยละ 7 ของประชากรทั้งประเทศ แสดงว่าประเทศนั้นกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ระดับสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์(Aged Society) หมายถึงสังคมหรือประเทศที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ หรือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปีมากกว่าร้อยละ 14 ของประชากรทั้งประเทศ แสดงว่าประเทศนั้นเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ระดับสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่(Super-Aged Society) หมายถึงสังคมหรือประเทศที่มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ […]