4 วิธีง่ายๆ สร้างความสุขให้ผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุเป็นวัยบั้นปลายของชีวิตที่ผ่านร้อนหนาวและเหตุการณ์ต่างๆมามากมาย ดี สุข ทุกข์ และเศร้าผสมปนเปกันไป ผู้สูงอายุผ่านการทำงานหนักใช้ความรู้ ความสามารถ เพื่อสร้างครอบครัวและปูพื้นฐานให้แก่ลูกหลานให้อยู่สบายมีความสุขกับชีวิตและมีความมั่นคงในอนาคตเพื่อต่อยอดให้กับรุ่นหลังๆที่จะเกิดขึ้นต่อๆไป จริงแล้วหลักการสร้างความสุขเพื่อผู้สูงอายุนั้นไม่ยาก แต่อาจจะต้องใช้ความเข้าใจทางด้านกายภาพ จิตใจ ประกอบกับเวลา ความสม่ำเสมอของการกระทำหรือกิจกรรมเพื่อทำให้ผู้สูงอายุได้รับประโยชน์สูงสุดโดยที่มีลูกหลานคอยช่วยดูแล ให้ความรัก ความเข้าใจ สร้างความอบอุ่นให้แก่ผู้สูงอายุ ทั้งหมดนี้เหมือนจะเป็นเรื่องเล็กที่คนมองข้าม แต่จริงแล้วสำคัญมาก

 

ผู้สูงอายุนอกเหนือจากอายุที่เพิ่มมากขึ้นแล้ว ยังมีความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและจิตใจที่สูงขึ้นด้วย  เห็นได้ชัดจากสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป ผิวหนังที่หย่อนคล้อย เหี่ยวย่น และริ้วรอยที่เพิ่มขึ้น การทำงานของสภาพร่างกายลดลง อ่อนแอ ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ดีเหมือนแต่ก่อน สุขภาพไม่แข็งแรงเหมือนเดิม บางครั้งก็เกิดความกังวลมากเกินไปก็ยิ่งทำให้ร่างกาย สภาพจิตใจ และ ความสุขของผู้สูงอายุลดลงได้ถ้าไม่เข้าใจวิธีการรับมือกับเรื่องพวกนี้ได้อย่างถูกต้อง วันนี้เราเลยจะมี 5 วิธีการง่ายๆ ที่จะช่วยสร้างความสุข สุขภาพที่แข็งแรงให้กับผู้สูงอายุได้ลองไปใช้กันดู

 

1.การสร้างความสุขโดยการกินของผู้สูงอายุ

oldie fish food

 

“กินดีสร้างสุข” คำๆนี้ได้ยินกันบ่อย แต่น้อยคนอาจเข้าใจความหมายที่แท้จริง เข้าใจคลาดเคลื่อนว่ากินดีคือทานอาหารที่แพง และอร่อย แต่ในความเป็นจริงคือผู้สูงอายุควรทานอาหารที่เป็นประโยชน์ เริ่มต้นง่ายๆด้วยการทานอาหารหลักให้ครบ 5 หมู่ อาหารหลัก 5 หมู่มีอะไรบ้าง? สามารถอ่านบทความนี้ได้เลย(ผู้สูงอายุควรกินอย่างไรให้แข็งแรง) เพราะโดยพื้นฐานแล้วการรับประทานอาหารที่ดีคือต้นทางของสุขภาพที่แข็งแรง ลดการเจ็บป่วย สุดท้ายความสุขก็จะเข้ามาหาโดยไม่ต้องไปขวนขวายมัน ทั้งนี้ผู้สูงอายุยังคงต้องการอาหารที่ครบถ้วนเหมือนคนปรกติ เพียงแต่ในปริมาณที่ลดลง เน้นโปรตีนจากปลาและธัญพืชที่ผ่านการขัดสีน้อย ควรรับประทานอาหารประเภทต้ม ย่าง อบ หรือนึ่งแทนควรหลีกเลี่ยงอาหารผัด ทอด และอาหารที่มีรสจัด อาทิ หวานจัด เค็มจัด หรือเผ็ดจัดจนเกินไป อาหารควรมีหลากหลายสลับกันไปมาเพื่อจะได้ไม่เบื่อ อาหารกลุ่มสำคัญได้แก่ โปรตีน โดยเฉพาะจากเนื้อปลา สามารถย่อยได้ง่าย เนื้อไก่เน้นอกมันน้อย หรือโปรตีนจากถั่วหรือเต้าหู้ก็สามารถทานได้ง่ายและดีต่อสุขภาพ คาร์โบไฮเดรตจาก ข้าวเจ้า ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ และพวกพืชผักใบเขียวและผลไม้หวานน้อย เพื่อเพิ่มกากใยช่วยระบบการขับถ่าย วิตามินและเกลือแร่ก็เป็นสารอาหารที่สำคัญเพราะจะช่วยรักษาระบบต่างๆและสร้างความสมดุลในร่างกาย

 

2.การสร้างความสุขโดยการออกกำลังกาย

runningforoldie

 

การออกกำลังกายมีความจำเป็นสำหรับผู้สูงอายุอย่างยิ่ง การออกกำลังช่วยเสริมสร้างสุขภาพร่างกายของผู้สูงอายุให้แข็งแรง มีประโยชน์เพราะช่วยชะลอความเสื่อมของอวัยวะต่างๆทำให้ร่างกายมีสมรรถภาพที่ดีขึ้น ทั้งยังช่วยสร้างภาวะจิตใจที่ดี สดชื่น มีความสุขให้แก่ผู้สูงอายุอีกทาง การออกกำลังกายเสมือนช่วยให้ผู้สูงอายุมีกิจกรรมได้ปฏิสัมพันธ์กับผู้สูงอายุท่านอื่นๆ เกิดเป็นสังคมที่จะคอยพูดคุย ช่วยเหลือ เป็นเพื่อนแก้เหงาซึ่งกันและกันเพราะคนที่อยู่ในวัยใกล้เคียงกันย่อมมีความเข้าใจกันดีมากกว่า แต่การออกกำลังกายของผู้สูงอายุก็ควรคำนึงถึงสภาพร่างกายด้วย ควรออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ไม่หักโหมจนเกินไป เพราะการออกกำลังกายที่ดีจะช่วยสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรงทำให้ประคองและทรงตัวได้ดี ปอด หัวใจ(อยากทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคหัวใจสามารถอ่านได้ที่บทความนี้) และหลอดเลือดทำงานได้ดีขึ้น สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการออกกำลังกายของผู้สูงอายุคือ สภาพร่างกาย วิธีออกกำลังกาย ความสม่ำเสมอ และอายุเป็นสำคัญ กิจกรรมที่แนะนำผู้สูงอายุได้แก่ การเดิน วิ่งจ๊อกกิ้งเบาๆ กายบริหาร ขยับแข้งขา รำมวยจีน เล่นโยคะ ว่ายน้ำ และปั่นจักรยานเป็นต้น ก่อนออกกำลังผู้สูงอายุควรอบอุ่นร่างกายและยืดเส้นสายเบาๆเป็นการเตรียมตัวก่อน พยายามออกกำลังกายโดยใช้อวัยวะทุกส่วนให้สอดคล้องกันเพื่อฝึกความคล่องตัวและเพิ่มความแข็งแรงให้กับอวัยวะนั้นๆ และหลังจากออกกำลังกายเสร็จผู้สูงอายุก็ควรที่จะค่อยๆผ่อนคลายร่างกาย สภาวะจิตใจ เพื่อปรับสภาพสร้างความสมดุลหลังจากได้ใช้งานอวัยวะต่างๆอย่างครบถ้วน

 

3.การสร้างความสุขโดยการดูแลสภาพจิตใจของผู้สูงอายุ

mentalforoldies

 

คำว่าสร้างสุขโดยดูแลสภาวะทางจิตใจในที่นี้หมายถึงจากตัวผู้สูงอายุเองและลูกหลานให้ความสำคัญช่วยดูแลซึ่งกันและกัน ผู้สูงอายุส่วนมากจะรู้สึกไม่ค่อยสดชื่น หดหู่ มีอาการซึมเศร้าและชอบคิดว่าตัวเองไร้ค่า ขาดการนับถือและกลัวที่จะถูกทอดทิ้ง คิดมากเรื่องในอดีตและกังวลเรื่องสุขภาพร่างกายที่ถดถอยไม่เหมือนเดิม ดังนั้นการดูแลสภาพจิตใจของผู้สูงอายุโดยที่ลูกหลานให้ความรัก ความเข้าใจ โดยให้ความเคารพและปฏิบัติกับท่านเหมือนแต่ก่อนมาก็สามารถช่วยลดความวิตกกังวลลงได้ ทั้งนี้เราควรชวนท่านพูดคุย ทำกิจกรรมต่างๆร่วมกันอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ท่านไม่เครียดและไม่รู้สึกว่าตนเองนั้นไร้ค่า ลูกหลานควรให้ความสำคัญกับท่านและในบางเรื่องก็ควรที่จะให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการตัดสินใจภายในครอบครัวเพื่อที่จะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกได้ว่าตนเองนั้นยังมีตัวตน และคุณค่าที่สามารถช่วยเหลือลูกหลานได้ สุดท้ายสิ่งที่สำคัญเกี่ยวกับสภาพจิตใจของผู้สูงอายุคือ การได้เข้าสังคมและมีกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นเพราะจะช่วยให้ผู้สูงอายุได้เจอชุมชน พบปะสังสรรค์ พูดคุย คลายความเหงาและเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศทำให้มีชีวิตชีวามากขึ้น เข้าใจตัวเอง และมีส่วนร่วมสุดท้ายก็จะไม่ปิดกั้นตัวองและไม่เกิดความเครียด สร้างความสุขให้ตัวเองได้

 

4.การสร้างความสุขโดยดูแลสุขภาพอนามัย

goodcleanhealthforoldies

การดูแลสุขอนามัยพื้นฐานของผู้สูงอายุคือ ความสะอาดของเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ที่นอน หมอน ห้องนอน ห้องน้ำ การขับถ่าย และอาหารเครื่องดื่ม ทั้งนี้หมายรวมถึงยาและอาหารเสริมต่างๆด้วย สำหรับผู้สูงอายุที่ยังมีร่างกายที่แข็งแรงสามารถดูแลตนเองได้การได้ดูแลสุขอนามัยเบื้องต้นด้วยตัวเองนับเป็นสิ่งดีเพราะเสมือนได้ออกกำลังกายทางอ้อมและมีกิจกรรมให้ได้ทำจะไม่รู้สึกเบื่อ แต่ถ้าผู้สูงอายุท่านใดเรี่ยวแรงลดน้อยถอยลงไม่สามารถดูแลงานในส่วนนี้ได้ก็ควรจะเป็นหน้าที่ของลูกหลานที่จะอำนวยความสะดวกให้แก่ท่าน การดูแลสุขอนามัยของผู้สูงอายุที่ดีจะช่วยป้องกันและช่วยลดความเสี่ยงสำหรับผู้สูงอายุที่มีภูมิคุ้มกันถดถอยลงได้รับเชื้อโรคต่างๆเข้าสู่ร่างกายจนอาจเกิดอาการติดเชื้อได้ง่าย ลูกหลานควรหมั่นสังเกตความผิดปรกติของร่างกายผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุควรได้รับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ (ไม่สะดวกในการพาผู้สูงอายุไปพบแพทย์ เรามีบริการเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกแก่ท่าน) การพาผู้สูงอายุไปตรวจสุขภาพขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสภาพร่างกายและสุขภาพแต่ละท่านหรือตามคำแนะนำของแพทย์ อาจจะเป็น 6 เดือนต่อครั้งสำหรับผู้สูงอายุที่มีสุขภาพแข็งแรงทั่วไป ในกรณีที่ผู้สูงอายุมีอาการเจ็บป่วยเริ่มต้นอาทิ เป็นไข้ หรือท้องเสียแล้วยังไม่ดีขึ้นภายในระยะเวลา 1-2 วัน ควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

การป้องกันอุบัติเหตุและอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ การลื่น หกล้ม ถือเป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยในผู้สูงอายุมากกว่าอุบัติเหตุชนิดอื่นๆ การหกล้มจะนำมาซึ่งอาการบาดเจ็บอื่นๆตามมาอาทิ กระดูกแตกหัก เลือดคั่งในสมอง และบางรายอาจถึงขั้นพิการและเสียชีวิต ฉะนั้นเราควรจัดสภาพแวดล้อมในบ้านให้เรียบร้อย เหมาะสมกับผู้สูงอายุเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เสมือนเป็นการช่วยป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น

 

smiling oldies

 

บทสรุป: การดูแลสร้างความสุขให้ผู้สูงอายุเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ต้องอาศัยความเห็นอกเห็นใจ และเข้าใจในธรรมชาติการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกายและจิตใจของผู้สูงอายุ ลูกหลานควรศึกษาและสังเกตถึงพฤติกรรมและความเปลี่ยนแปลงของท่านเพื่อที่จะนำมาปรับใช้ในการดูแลท่านได้อย่างเหมาะสม ผู้ที่ก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุจะมีปัญหาในด้านสุขภาพที่ถดถอย ความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ และท้ายที่สุดถ้าผู้สูงอายุไม่พยายามที่จะเข้าใจในเหตุปัจจัยเหล่านี้ก็จะเกิดปัญหาทางด้านจิตใจตามมา ฉะนั้นการดูแลเรื่องของสุขภาพจิตก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้สุขภาพกายที่ลูกหลานไม่ควรละเลย ดังนั้นผู้ที่ให้การดูแลผู้สูงอายุควรจะต้องมีความเข้าใจและเอื้ออาทรเป็นสำคัญเพื่อที่จะช่วยผลักดันการสร้างความสุขและสุขภาพที่ดีให้แก่ผู้สูงอายุเกิดผลสำเร็จ

บทความโดยทีมงาน zeedoctor ลิขสิทธิ์บทความของwebsite zeedoctor.com

อันดับแรก ต้องเข้าใจกันก่อนว่ารถเข็นที่ใช้งานอยู่ทุกวันนี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่:

ประเภทแรก รถเข็น Wheel Chair แบบต้องใช้กำลังคนขับเคลื่อน ซึ่งก็สามารถแบ่งย่อยออกไปได้อีก 2 ประเภท:

  1. Transport wheel chair– รถเข็น Wheel Chair ประเภทนี้จำเป็นต้องอาศัยคนช่วยเข็นเท่านั้น คนนั่งไม่สามารถเข็นเองได้ นิยมใช้งานกันในโรงพยาบาลเพื่อเคลื่อนย้ายคนไข้จากสถานที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง รถเข็นลักษณะนี้ จะมีล้อหลังขนาดเล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ประมาณ 8-14นิ้ว ผู้นั่งจะไม่สามารถเอื้อมมือไปขยับล้อเพื่อเคลื่อนไหวรถเข็นด้วยตัวเองได้ ข้อดีคือน้ำหนักเบา ราคาค่อนข้างถูก
  2. Manually propelled wheel chair– รถเข็น Wheel Chair ประเภทนี้ผู้ใช้งานสามารถที่จะขยับรถเข็นเคลื่อนที่เองได้โดยจะต้องใช้แขนทั้งสองข้างในการช่วยหมุนล้อ ส่วนในกรณีที่ต้องการเบรก ผู้ใช้งานต้องใช้แขนทั้งสองข้างจับที่วงปั่นเพื่อช่วยในการชะลอผ่อนความเร็ว รถเข็นประเภทนี้ จะมีล้อหลังขนาดใหญ่ตั้งแต่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20-24นิ้ว (51-61 ซ.ม.) ข้อดีคือผู้ใช้งานสามารถบังคับควบคุมรถได้ด้วยตนเอง

ประเภทที่สอง รถเข็น Wheel Chair ที่ใช้พลังงานภายนอก หรือ นิยมเรียกกันว่า รถเข็นไฟฟ้า

คือรถเข็นที่ใช้ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ในการขับเคลื่อน โดยลักษณะภายนอกของรถเข็นและการใช้งานจะเหมือนกับแบบที่ใช้กำลังคนในการขับเคลื่อน แต่จะถูกติดตั้งเพิ่มเติมด้วยระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าทำให้ผู้ใช้งานสามารถบังคับทิศทางการเคลื่อนที่ไปในทางที่ต้องการได้ รถเข็นแบบนี้นิยมใช้กับผู้สูงอายุที่มีอาการป่วยหนักไม่สามารถควบคุมการทำงานภายในร่างกายได้ หรือพิการ เป็นอัมพาตจนร่างกายขยับไม่ได้

รถเข็นไฟฟ้าช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ป่วย ผู้สูงอายุได้เป็นอย่างมากโดยเฉพาะผู้ที่ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ไม่สามารถขยับเขยื้อนช่วงล่างของร่างกายได้เลย ผู้ใช้งานสามารถบังคับรถเพื่อหลบหลีกทาง หรือ เขยิบไปในจุดที่สะดวกได้ด้วยตนเองหรือในขณะที่คนเข็นรถไม่อยู่

ข้อแนะนำในการเลือกรถเข็นผู้ป่วย ผู้สูงอายุ:

  1. ควรเลือกแบบที่สามารถพับเก็บได้เพื่อความสะดวกในการพกพาไปในสถานที่ต่างๆ เพื่อความง่ายในการเคลื่อนย้าย
  2. รถเข็นควรมีเบรกและระบบล๊อคล้อเพื่อความปลอดภัย
  3. กรณีเป็นผู้ป่วยหนักจำเป็นต้องใช้รถเข็นในระยะเวลานาน ควรเลือกซื้อแบบที่ทนทาน มีน้ำหนักเบา สามารถเคลื่อนย้ายได้โดยสะดวก หากต้องเดินทางเป็นประจำควรซื้อแบบที่ทำด้วยอลูมิเนียม
  4. รถเข็นที่ดีต้องมีความเหมาะสมกับผู้ใช้งาน ต้องไม่เทอะทะ ความลึกของเบาะนั่งต้องพอดีกับร่างกาย เมื่อนั่งแล้ว สะโพกและข้อเข่าควรงอทำมุมฉาก ควรมีช่องว่างระหว่างขอบที่นั่งกับข้อพับเข่าของผู้ป่วยเล็กน้อย หากที่นั่งลึกเกินไปอาจเกิดการเสียดสีเป็นแผลที่ใต้เข่าหรือผู้ป่วยอาจเลื่อนไหลตัวไปด้านหน้าจนอาจตกจากรถเข็นได้
  5. ต้องมีความปลอดภัยกับผู้ใช้งาน โดยควรคำนึงถึงความสูงของพนักพิงว่าต้องพอดี หากผู้ป่วยมีอาการที่ทรงตัวไม่ดี ควรใช้พนักพิงที่พอเหมาะพอดีกับตัว หากผู้ใช้งานทรงตัวดี ต้องการความคล่องตัวในการเข็นรถด้วยตนเองให้เลือกใช้พนักพิงแบบต่ำ
  6. ที่วางเท้าต้องพอเหมาะในขณะที่ผู้สูงอายุนั่ง ข้อเข่าและข้อเท้าควรงอตั้งฉากกัน ไม่ควรงอหรือเหยียดจนเกินไป หรือหากที่วางเท้าสูงเกินไปอาจส่งผลให้เกิดแรงกดไปที่ก้นมากจนอาจเกิดอันตราย เมื่อใช้ไปนานเข้าอาจทำให้ปวดหลังหรือเกิดแผลกดทับที่ก้นขึ้นมาได้

เครดิตข้อมูลจาก site :       

Phartrillion: https://phartrillion.com/how-to-choose-wheelchair/

ราคาเครื่องมือแพทย์.com:  https://bit.ly/38GGrWs