4 สิ่งจำเป็นที่ผู้สูงอายุควรมีติดตัวอยู่ตลอดเวลา

 ผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสภาพร่างกายที่ถดถอยลงทุกวัน ทำให้การดำเนินชีวิตประจำวันต้องมีการปรับตัวและดูแลสุขภาพตัวเองให้ดีอยู่ตลอดเวลา เพื่อลดการพึ่งพาลูกหลานให้มากที่สุด อีกทั้งผู้สูงอายุถ้าสามารถดูแลตัวเองได้ ก็จะมีความภาคภูมิใจ ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีมักมีกิจกรรมต่างๆทำเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะเกิดประโยชน์ ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ไม่เบื่อหน่าย ทำให้ผู้สูงอายุมีความสุขกับการใช้ชีวิตในบั้นปลายอย่างสมบูรณ์

 แต่ทั้งนี้กิจกรรมต่างๆ ก็ควรจะมีความเหมาะสมกับสภาพร่างกายของผู้สูงอายุ ไม่ทำให้ต้องออกแรงมากจนเกินไป หรือเกิดความกดดัน ตึงเครียด ซึงสุดท้ายอาจกลายเป็นผลเสียให้แก่ผู้สูงอายุได้ ผู้สูงอายุถึงแม้ว่าจะแข็งแรงหรือสุขภาพดีเพียงใด ก็ยังคงต้องมีตัวช่วยที่จะทำให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างคล่องแคล่ว รวมทั้งดูแลตัวเองเบื้องต้นได้ดีที่สุด ฉะนั้นผู้สูงอายุควรเตรียมความพร้อมในสิ่งที่จำเป็นต้องมีติดตัวอยู่ตลอดเวลาเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตามมา

senior-with-good-care

วันนี้ Zee Doctor จะมาแนะนำ 4 สิ่งจำเป็นที่ผู้สูงอายุควรจะต้องมีติดตัวไว้ตลอด:

1). ยาประจำตัว หรือ ยาที่จำเป็น เนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะมีโรคประจำตัว หรืออย่างน้อยก็มียาที่จำเป็นต้องใช้บ่อย ฉะนั้นควรมีติดตัวไว้เสมอ เพราะเมื่อเกิดเหตุสุดวิสัยหรือยามจำเป็นจะได้หยิบหามารับประทานเพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยของสุขภาพที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที

หรือในกรณีที่ผู้สูงอายุท่านนั้นๆ ไม่ได้มีโรคประจำตัว อย่างน้อยก็ควรมียาสามัญประจำบ้านติดไว้เสมอ อาทิเช่น ยาดม ยาลม ยาหม่อง หรือยาแก้ปวดเมื่อย ปวดหัว วิงเวียนต่างๆ รวมทั้งยาป้องกันแมลงสัตว์กัดต่อยก็สำคัญ ต้องไม่ลืมว่าเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ อาจเกิดปัญหาด้านสุขภาพ เจ็บป่วยเล็กน้อย ได้ง่าย กว่าคนวัยอื่นๆทั่วไป ฉะนั้นมีติดตัวไว้ก็ไม่เสียหาย

oldie-4-need

2). แว่นสายตา ผู้สูงอายุโดยส่วนมากมีปัญหาด้านสายตาแทบทั้งสิ้น ปัญหาด้านสายตาสัน-สายตาเอียง ก็อาจทำให้ผู้สูงอายุมองเห็นสิ่งของต่างๆได้ไม่เด่นชัด อาจทำให้เกิดการสะดุด หกล้ม(อ่านเพิ่มเติมเรืองการหกล้มในผู้สูงอายุ) จากวัตถุตรงหน้า ซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่ง หรือ เวลาที่ผู้สูงอายุต้องการหยิบ จับ สิ่งของเครื่องใช้ก็ทำได้ไม่ถนัดนัก อาจเกิดการตกหล่น ผิดพลาด และเป็นอันตรายกับผู้สูงอายุในที่สุด

ในกรณีที่สายตายาวก็อาจสร้างปัญหาด้านการอ่าน เขียน หรือ การมองในระยะใกล้ๆ ทำให้เกิดความรำคาญใจเพราะไม่สามารถทำกิจกรรมได้อย่างถนัด อาจเกิดปัญหาด้านสุขภาพจิตตามมา สิ่งที่สำคัญอีกประการคือ ควรมีสายคล้องแว่นติดไว้ที่คอให้กับผู้สูงอายุ เพราะผู้สูงอายุส่วนใหญ่อาจเกิดการหลงลืมแว่นสายตา หาไม่เจอ หรือทำหาย

3). ไม้เท้า หรือ อุปกรณ์ช่วยเหลือผู้สูงอายุ อุปกรณ์ช่วยเหลือผู้สูงอายุ อาทิ ไม้เท้า คอกเดิน(walker) หรือ อุปกรณ์ช่วยพยุงตัวต่างๆ(สินค้าผู้สูงอายุ) มีความสำคัญและจำเป็นมาก เพราะวัยนี้การเดินหรือลุกยืนมีความยากลำบากมากขึ้น ความคล่องตัวลดลงอาจทำให้พลาดหกล้มได้ขณะเดินหรือขณะลุกขึ้นยืน ผู้สูงอายุบางคนมีปัญหาด้านข้อเข่า(กลูโคซามีน ช่วยปัญหาเรื่องข้อเข่าในผู้สูงอายุ)ทำให้ลุกขึ้นยืนลำบาก ถึงแม้ว่าผู้สูงอายุบางท่านยังคงสามารถเดินได้อย่างดี แต่ไม้เท้าก็ถือว่ายังเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นไม่ควรขาด ควรมีไว้ข้างกายเสมอ นอกจากนี้ไม้เท้าควรวางอยู่ในลักษณะตั้งตรงเตรียมพร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา ไม่ควรวางลาดลงกับพื้นเพราะทำให้ผู้สูงอายุหยิบใช้งานได้ไม่สะดวก

Senior-couple-excising

4). เบอร์โทรศัพท์ที่จำเป็น ผู้สูงอายุควรมีเบอร์โทรศัพท์ที่จำเป็นติดตัวอยู่เสมอเผื่อในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ หรือมีเหตุการณ์สำคัญจะได้ติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทันท่วงที ลูก-หลานควรแนะนำให้ผู้สูงอายุใช้งานโทรศัพท์มือถือในส่วนของสมุดโทรศัพท์ให้ได้คล่องแคล่ว หรือช่วยตั้งค่าเบอร์โทรที่สำคัญให้เป็นเบอร์ที่สามารถโทรออกได้สะดวก อาทิเช่น เบอร์โทรศัพท์ของลูก-หลานหรือคนใกล้ชิด เบอร์โทรศัพท์ของแพทย์หรือโรงพยาบาลที่ดูแลอาการเป็นต้น

หรือในกรณีที่ผู้สูงอายุไม่ถนัดการใช้งานสมุดโทรศัพท์ในมือถือ ผู้สูงอายุก็ควรจะมีสมุดจดเบอร์โทรศัพท์ที่จำเป็นติดตัวอยู่ตลอดเวลาเพื่อง่ายต่อการติดต่อผู้ที่ดูแลรักษา

 

  สิ่งของเหล่านี้เป็นแค่สิ่งจำเป็นเบื้องต้นที่ผู้สูงอายุควรมีติดตัวอยู่เสมอ แต่ทั้งหมด จะไม่มีประโยชน์อันใดเลยถ้าผู้สูงอายุไม่ดูแลเอาใจใสสุขภาพตัวเอง รับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอและเคร่งครัด ออกกำลังกายแต่พอเหมาะ ทำกิจกรรมสร้างความสุข และท้ายที่สุดคือไม่เครียดทำจิตใจตนเองให้เบิกบาน ผ่องใส เหมาะกับการเป็นผู้สูงวัยในยุค 5.0

บทความโดย: แอดมิน Zee Doctor (All Right Reserve)

อันดับแรก ต้องเข้าใจกันก่อนว่ารถเข็นที่ใช้งานอยู่ทุกวันนี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่:

ประเภทแรก รถเข็น Wheel Chair แบบต้องใช้กำลังคนขับเคลื่อน ซึ่งก็สามารถแบ่งย่อยออกไปได้อีก 2 ประเภท:

  1. Transport wheel chair– รถเข็น Wheel Chair ประเภทนี้จำเป็นต้องอาศัยคนช่วยเข็นเท่านั้น คนนั่งไม่สามารถเข็นเองได้ นิยมใช้งานกันในโรงพยาบาลเพื่อเคลื่อนย้ายคนไข้จากสถานที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง รถเข็นลักษณะนี้ จะมีล้อหลังขนาดเล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ประมาณ 8-14นิ้ว ผู้นั่งจะไม่สามารถเอื้อมมือไปขยับล้อเพื่อเคลื่อนไหวรถเข็นด้วยตัวเองได้ ข้อดีคือน้ำหนักเบา ราคาค่อนข้างถูก
  2. Manually propelled wheel chair– รถเข็น Wheel Chair ประเภทนี้ผู้ใช้งานสามารถที่จะขยับรถเข็นเคลื่อนที่เองได้โดยจะต้องใช้แขนทั้งสองข้างในการช่วยหมุนล้อ ส่วนในกรณีที่ต้องการเบรก ผู้ใช้งานต้องใช้แขนทั้งสองข้างจับที่วงปั่นเพื่อช่วยในการชะลอผ่อนความเร็ว รถเข็นประเภทนี้ จะมีล้อหลังขนาดใหญ่ตั้งแต่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20-24นิ้ว (51-61 ซ.ม.) ข้อดีคือผู้ใช้งานสามารถบังคับควบคุมรถได้ด้วยตนเอง

ประเภทที่สอง รถเข็น Wheel Chair ที่ใช้พลังงานภายนอก หรือ นิยมเรียกกันว่า รถเข็นไฟฟ้า

คือรถเข็นที่ใช้ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ในการขับเคลื่อน โดยลักษณะภายนอกของรถเข็นและการใช้งานจะเหมือนกับแบบที่ใช้กำลังคนในการขับเคลื่อน แต่จะถูกติดตั้งเพิ่มเติมด้วยระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าทำให้ผู้ใช้งานสามารถบังคับทิศทางการเคลื่อนที่ไปในทางที่ต้องการได้ รถเข็นแบบนี้นิยมใช้กับผู้สูงอายุที่มีอาการป่วยหนักไม่สามารถควบคุมการทำงานภายในร่างกายได้ หรือพิการ เป็นอัมพาตจนร่างกายขยับไม่ได้

รถเข็นไฟฟ้าช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ป่วย ผู้สูงอายุได้เป็นอย่างมากโดยเฉพาะผู้ที่ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ไม่สามารถขยับเขยื้อนช่วงล่างของร่างกายได้เลย ผู้ใช้งานสามารถบังคับรถเพื่อหลบหลีกทาง หรือ เขยิบไปในจุดที่สะดวกได้ด้วยตนเองหรือในขณะที่คนเข็นรถไม่อยู่

ข้อแนะนำในการเลือกรถเข็นผู้ป่วย ผู้สูงอายุ:

  1. ควรเลือกแบบที่สามารถพับเก็บได้เพื่อความสะดวกในการพกพาไปในสถานที่ต่างๆ เพื่อความง่ายในการเคลื่อนย้าย
  2. รถเข็นควรมีเบรกและระบบล๊อคล้อเพื่อความปลอดภัย
  3. กรณีเป็นผู้ป่วยหนักจำเป็นต้องใช้รถเข็นในระยะเวลานาน ควรเลือกซื้อแบบที่ทนทาน มีน้ำหนักเบา สามารถเคลื่อนย้ายได้โดยสะดวก หากต้องเดินทางเป็นประจำควรซื้อแบบที่ทำด้วยอลูมิเนียม
  4. รถเข็นที่ดีต้องมีความเหมาะสมกับผู้ใช้งาน ต้องไม่เทอะทะ ความลึกของเบาะนั่งต้องพอดีกับร่างกาย เมื่อนั่งแล้ว สะโพกและข้อเข่าควรงอทำมุมฉาก ควรมีช่องว่างระหว่างขอบที่นั่งกับข้อพับเข่าของผู้ป่วยเล็กน้อย หากที่นั่งลึกเกินไปอาจเกิดการเสียดสีเป็นแผลที่ใต้เข่าหรือผู้ป่วยอาจเลื่อนไหลตัวไปด้านหน้าจนอาจตกจากรถเข็นได้
  5. ต้องมีความปลอดภัยกับผู้ใช้งาน โดยควรคำนึงถึงความสูงของพนักพิงว่าต้องพอดี หากผู้ป่วยมีอาการที่ทรงตัวไม่ดี ควรใช้พนักพิงที่พอเหมาะพอดีกับตัว หากผู้ใช้งานทรงตัวดี ต้องการความคล่องตัวในการเข็นรถด้วยตนเองให้เลือกใช้พนักพิงแบบต่ำ
  6. ที่วางเท้าต้องพอเหมาะในขณะที่ผู้สูงอายุนั่ง ข้อเข่าและข้อเท้าควรงอตั้งฉากกัน ไม่ควรงอหรือเหยียดจนเกินไป หรือหากที่วางเท้าสูงเกินไปอาจส่งผลให้เกิดแรงกดไปที่ก้นมากจนอาจเกิดอันตราย เมื่อใช้ไปนานเข้าอาจทำให้ปวดหลังหรือเกิดแผลกดทับที่ก้นขึ้นมาได้

เครดิตข้อมูลจาก site :       

Phartrillion: https://phartrillion.com/how-to-choose-wheelchair/

ราคาเครื่องมือแพทย์.com:  https://bit.ly/38GGrWs