5 อาหารว่างที่เหมาะกับผู้สูงอายุ 2020

 “You are what you eat” เป็นประโยคที่เราท่านคุ้นเคยกันดี เรารับประทานอะไรเข้าไป สุขภาพร่างกายเราก็จะเป็นแบบนั้น สำหรับผู้สูงอายุก็เช่นกัน ถ้าผู้สูงอายุรับประทานอาหารที่ดี มีประโยชน์ สารอาหารหลักครบทั้ง 5 หมู่ เราก็มั่นใจเบื้องต้นได้ว่าสุขภาพของผู้สูงอายุจะมีแนวโน้มที่ดีในอนาคต นอกเหนือไปจากอาหารมื้อหลักที่ผู้สูงอายุควรจะรับประทานให้ครบทั้ง 5 หมู่แล้ว อาหารมื้อรอง (อาหารว่าง) ก็สำคัญไม่น้อยเช่นกัน วันนี้ Zee Doctor จะขอมาแนะนำอาหารว่าง 5 อย่างที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ

้healthy-food-elderly-pumkin

photo created by jcomp – www.freepik.com

1. ฟักทองนึ่ง

 อาหารว่างอย่างแรกที่มีประโยชน์สำหรับผู้สูงอายุ ทั้งยังเป็นที่นิยมอย่างมากคือ “ฟักทองนึ่ง” ฟังดูอาจจะรู้สึกธรรมดา เฉยๆ แต่เชื่อเถอะว่าฟักทองนั้นประกอบไปด้วยสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก ประโยชน์มหาศาล ผู้สูงอายุที่รับประทานฟักทองจะได้รับสารเบต้าแคโรทีนที่ช่วยบำรุงสายตา มีสารต้านอนุมูลอิสระ บำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื่น ทั้งยังลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง ฟักทองที่มีสีเหลืองออกส้ม มีไขมันน้อย น้ำตาลน้อย กากใยอาหารสูง พลังงานต่ำ จึงเป็นอาหารว่างที่เหมาะกับผู้สูงอายุ ฟักทองยังช่วยเรื่องของระบบขับถ่าย ทำให้ขับถ่ายได้ง่ายเนื่องจากมีกากใยสูง ช่วยป้องกันโรคที่เกี่ยวกับลำไส้ รับประทานฟักทองบ่อยๆ ช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดี แข็งแรง มีความสุข และอิ่มสบายท้อง

ข้อมูลอ้างอิง: โรงพยาบาลพญาไท 3: https://bit.ly/3eH7G6k

2. ฝรั่ง และ ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง

guava-fruit-for-elderly

photo created by suksao – www.freepik.com

 ผู้สูงอายุควรรับประทานผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงในปริมาณที่พอเหมาะ เนื่องด้วยวิตามินซีนั้นร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ได้เอง จึงควรหามารับประทานเพื่อช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยป้องกันหวัด ป้องกันโรคภูมิแพ้ เลือดออกตามไรฟัน โรคที่มาจากการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย เส้นเลือดอุดตันในหลอดเลือดเป็นต้น ฝรั่งยังช่วยต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอริ้วรอยและความแก่ชรา ทำให้ผิวพรรณมีสุขภาพดีและสวยงามขึ้นได้ นอกเหนือจากฝรั่งที่มีวิตามินซีสูงแล้วผู้สูงอายุสามารถเลือกทานผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวอมหวานชนิดอื่นๆเพื่อช่วยเสริมสร้างสุขภาพที่ดีได้ อาทิ ส้ม มะขามป้อม สตอเบอรี และ ลิ้นจี่ ฉะนั้นสามารถสรุปได้ว่าผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับวัยเก๋าที่เก่าประสบการณ์

3. อัลมอนด์

almond-food-for-elderly

photo created by topntp26 – www.freepik.com

 อัลมอนด์เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงเหมาะสำหรับผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก อัลมอนด์ให้พลังงานสูง มีไขมันดี ทานแล้วไม่อ้วน อัลมอนด์ 1 เม็ด ให้พลังงาน 7 แคลอรี อัลมอนด์ยังประกอบปด้วยโปรตีนช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ถ้าเทียบตามน้ำหนักแล้วอัลมอนด์ให้โปรตีนสูงถึง 21.15% อัลมอนด์ยังช่วยบำรุงประสาท บำรุงสมอง ลดความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์และมีโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 ในปริมาณที่สูง ที่สำคัญอัลมอนด์ยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ลดการอุดตันของไขมันในเส้นเลือดโดยเฉพาะกรดไขมันไม่อิ่มตัวโอเมก้า 6 ที่มีความสำคัญในการลดการอุดตันของเส้นเลือด การรับประทานอัลมอนด์เป็นประจำสามารถช่วยเรื่องโรคหัวใจได้โดยตรง เมื่อระดับคอเลสเตอรอลในเลือดน้อยเส้นเลือดดำไปเลี้ยงหัวใจก็จะทำงานได้ดีขึ้น ทั้งหมดนี้เป็นแค่ประโยชน์ของอัลมอนด์เบื้องต้น ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปที่ลิงค์นี้ได้เลย https://bit.ly/36fqG7W

4. ปลาทูน่ากระป๋อง

 ปลาทูน่าเป็นเนื้อสัตว์ที่มีโปรตีนสูงและย่อยง่ายกว่าเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ ผู้สูงอายุสามารถรับประทานได้สะดวกเพราะปัจจุบันมีทูน่ากระป่องพร้อมทานวางขายตามท้องตลาดทั่วไปทั้งยังราคาไม่แพงมากเข้าถึงได้ง่าย ประโยชน์ของทูน่าในผู้สูงอายุคือช่วยสร้างเซลล์ภูมิคุ้มกันร่างกายและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้เป็นอย่างดี ธาตุเหล็กในทูน่ายังช่วยในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง โอเมก้า 3 ที่ดีต่อการทำงานของสมองและหัวใจ มีโพแทสเซียมที่ช่วยลดความดันโลหิตได้ ผู้สูงอายุควรเลือกรับประทานทูน่าในน้ำแร่จะเหมาะสมและมีประโยชน์สูงสุด

tuna-for-elderly
healthy-tuna-for-elderly

photo created by asier_relampagoestudio – www.freepik.com

Food vector created by brgfx – www.freepik.com

5. โยเกิร์ต
yogurt-food-elderly-healthy

photo created by freepik – www.freepik.com

 “อิ่มง่ายๆ แบบสบายๆท้อง” เป็นคำจำกัดความของโยเกิร์ต ประโยชน์หลักของโยเกิร์ตคือช่วยฟื้นฟู ปรับสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้และระบบย่อยอาหารให้ดีขึ้น โยเกิร์ต ยังอุดมไปด้วยแคลเซียมสามารถลดความเสี่ยงของโรคกระดุกพรุนได้ถ้ารับประทานอย่างเหมาะสม โยเกิร์ตยังช่วยให้ผุ้สูงอายุลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ทั้งยังช่วยป้องกันแผลในกระเพาะอาหาร ที่สำคัญโยเกิร์ตย่อยได้ง่าย และย่อยได้ง่ายกว่านม เมื่อเห็นประโยชน์ของโยเกิร์ตในผู้สูงอายุขนาดนี้ แนะนำให้ลูกหลานลองหาโยเกิรต์มาให้ผู้สูงอายุที่ท่านรักได้ทดลองรับประทานแล้วจะติดใจ

สรุป

 อาหารว่างทั้ง 5 ประเภทนี้ เหมาะสำหรับผู้สูงอายุวัยเก๋าที่ในบางครั้งอาจเบื่ออาหารหลัก สามารถทดลองหันมารับประทานอาหารแบบนี้ดูเพื่อเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศบ้างก็เป็นเรื่องที่ดี สิ่งสำคัญที่สุดคือเราควรคัดสรรวัตถุดิบอาหารว่างที่เป็นประโยชน์ต่อผู้สูงอายุ และต้องคำนึงถึงสารอาหารที่เหมาะสมที่ผู้สูงอายุควรได้รับไม่มากหรือน้อยจนเกินไป ควรพอดี พอเหมาะต่อร่างกาย ควรคำนึงถึงความสด สะอาด ปลอดภัยเป็นที่ตั้งสำคัญ

ขอบคุณแหล่งที่มาข้อมูล: กรมกิจการผู้สูงอายุ Anamai Media กระทรวงสาธารณะสุข

อันดับแรก ต้องเข้าใจกันก่อนว่ารถเข็นที่ใช้งานอยู่ทุกวันนี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่:

ประเภทแรก รถเข็น Wheel Chair แบบต้องใช้กำลังคนขับเคลื่อน ซึ่งก็สามารถแบ่งย่อยออกไปได้อีก 2 ประเภท:

  1. Transport wheel chair– รถเข็น Wheel Chair ประเภทนี้จำเป็นต้องอาศัยคนช่วยเข็นเท่านั้น คนนั่งไม่สามารถเข็นเองได้ นิยมใช้งานกันในโรงพยาบาลเพื่อเคลื่อนย้ายคนไข้จากสถานที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง รถเข็นลักษณะนี้ จะมีล้อหลังขนาดเล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ประมาณ 8-14นิ้ว ผู้นั่งจะไม่สามารถเอื้อมมือไปขยับล้อเพื่อเคลื่อนไหวรถเข็นด้วยตัวเองได้ ข้อดีคือน้ำหนักเบา ราคาค่อนข้างถูก
  2. Manually propelled wheel chair– รถเข็น Wheel Chair ประเภทนี้ผู้ใช้งานสามารถที่จะขยับรถเข็นเคลื่อนที่เองได้โดยจะต้องใช้แขนทั้งสองข้างในการช่วยหมุนล้อ ส่วนในกรณีที่ต้องการเบรก ผู้ใช้งานต้องใช้แขนทั้งสองข้างจับที่วงปั่นเพื่อช่วยในการชะลอผ่อนความเร็ว รถเข็นประเภทนี้ จะมีล้อหลังขนาดใหญ่ตั้งแต่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20-24นิ้ว (51-61 ซ.ม.) ข้อดีคือผู้ใช้งานสามารถบังคับควบคุมรถได้ด้วยตนเอง

ประเภทที่สอง รถเข็น Wheel Chair ที่ใช้พลังงานภายนอก หรือ นิยมเรียกกันว่า รถเข็นไฟฟ้า

คือรถเข็นที่ใช้ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ในการขับเคลื่อน โดยลักษณะภายนอกของรถเข็นและการใช้งานจะเหมือนกับแบบที่ใช้กำลังคนในการขับเคลื่อน แต่จะถูกติดตั้งเพิ่มเติมด้วยระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าทำให้ผู้ใช้งานสามารถบังคับทิศทางการเคลื่อนที่ไปในทางที่ต้องการได้ รถเข็นแบบนี้นิยมใช้กับผู้สูงอายุที่มีอาการป่วยหนักไม่สามารถควบคุมการทำงานภายในร่างกายได้ หรือพิการ เป็นอัมพาตจนร่างกายขยับไม่ได้

รถเข็นไฟฟ้าช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ป่วย ผู้สูงอายุได้เป็นอย่างมากโดยเฉพาะผู้ที่ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ไม่สามารถขยับเขยื้อนช่วงล่างของร่างกายได้เลย ผู้ใช้งานสามารถบังคับรถเพื่อหลบหลีกทาง หรือ เขยิบไปในจุดที่สะดวกได้ด้วยตนเองหรือในขณะที่คนเข็นรถไม่อยู่

ข้อแนะนำในการเลือกรถเข็นผู้ป่วย ผู้สูงอายุ:

  1. ควรเลือกแบบที่สามารถพับเก็บได้เพื่อความสะดวกในการพกพาไปในสถานที่ต่างๆ เพื่อความง่ายในการเคลื่อนย้าย
  2. รถเข็นควรมีเบรกและระบบล๊อคล้อเพื่อความปลอดภัย
  3. กรณีเป็นผู้ป่วยหนักจำเป็นต้องใช้รถเข็นในระยะเวลานาน ควรเลือกซื้อแบบที่ทนทาน มีน้ำหนักเบา สามารถเคลื่อนย้ายได้โดยสะดวก หากต้องเดินทางเป็นประจำควรซื้อแบบที่ทำด้วยอลูมิเนียม
  4. รถเข็นที่ดีต้องมีความเหมาะสมกับผู้ใช้งาน ต้องไม่เทอะทะ ความลึกของเบาะนั่งต้องพอดีกับร่างกาย เมื่อนั่งแล้ว สะโพกและข้อเข่าควรงอทำมุมฉาก ควรมีช่องว่างระหว่างขอบที่นั่งกับข้อพับเข่าของผู้ป่วยเล็กน้อย หากที่นั่งลึกเกินไปอาจเกิดการเสียดสีเป็นแผลที่ใต้เข่าหรือผู้ป่วยอาจเลื่อนไหลตัวไปด้านหน้าจนอาจตกจากรถเข็นได้
  5. ต้องมีความปลอดภัยกับผู้ใช้งาน โดยควรคำนึงถึงความสูงของพนักพิงว่าต้องพอดี หากผู้ป่วยมีอาการที่ทรงตัวไม่ดี ควรใช้พนักพิงที่พอเหมาะพอดีกับตัว หากผู้ใช้งานทรงตัวดี ต้องการความคล่องตัวในการเข็นรถด้วยตนเองให้เลือกใช้พนักพิงแบบต่ำ
  6. ที่วางเท้าต้องพอเหมาะในขณะที่ผู้สูงอายุนั่ง ข้อเข่าและข้อเท้าควรงอตั้งฉากกัน ไม่ควรงอหรือเหยียดจนเกินไป หรือหากที่วางเท้าสูงเกินไปอาจส่งผลให้เกิดแรงกดไปที่ก้นมากจนอาจเกิดอันตราย เมื่อใช้ไปนานเข้าอาจทำให้ปวดหลังหรือเกิดแผลกดทับที่ก้นขึ้นมาได้

เครดิตข้อมูลจาก site :       

Phartrillion: https://phartrillion.com/how-to-choose-wheelchair/

ราคาเครื่องมือแพทย์.com:  https://bit.ly/38GGrWs