5 ของกินที่ควรหลีกเลี่ยงเพื่อช่วยผู้สูงอายุชะลอความแก่

 ความแก่ หรือริ้วรอยต่างๆบนร่างกายเป็นสิ่งที่ผู้คนทั้งหลายไม่พึงปรารถนา โดยเฉพาะผู้สูงวัยที่อาจจะมีปัญหาด้านร่างกายที่เสื่อมถอยลง ริ้วรอยที่เพิ่มมากขึ้น ความสามารถในการฟื้นฟูต่างๆลดลง จะดีกว่าไหมถ้าเรามาเริ่มดูแล ป้องกันตัวเองตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อที่จะชะลอความแก่โดยการเลือกประเภทของการกินที่เหมาะสม นอกจากจะช่วยเรื่องความยืดหยุ่นของผิวพรรณแล้ว ยังจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพโดยรวมอีกด้วย ในบทความนี้ขอแนะนำ 5 ประเภทของอาหารที่ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยงเพื่อช่วยชะลอความแก่

prevent-elderly-wrinkle

Credit photo created by pressfoto – www.freepik.com

1. เครื่องดื่มประเภท ชา กาแฟ และน้ำอัดลม

 ชา กาแฟ และ น้ำอัดลมเป็นเครื่องดื่มชนิดแรกๆที่ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยงถ้าต้องการจะชะลอความแก่ เพราะ ชา กาแฟ 1 แก้ว หรือประมาณ 16 ออนซ์ จะมีน้ำตาลอยู่ 12 ช้อนชา ในส่วนน้ำอัดลมมีปริมาณน้ำตาลอยู่ประมาณ 7 ช้อนชา และน้ำผลไม้สำเร็จรูปมีปริมาณน้ำตาลอยู่ที่ 6 ช้อนชา ซึ่งโดยหลักการคือ ถ้าน้ำตาลเข้าสู่ร่างกายในปริมาณที่มากเกินไปจะมีการไปจับกับโปรตีน ทำให้เกิดสารเร่งแก่ หรือที่เรียกอีกอย่างว่าปฏิกิริยา “ไกลเคชั่น (Glycation)” และอาจทำให้เกิดการสร้างอนุมูลอิสระที่มากขึ้น คอลลาเจนขาดความยืดหยุ่น ทำให้เกิดริ้วรอยที่เพิ่มขึ้นได้

 รวมทั้งถ้าเราบริโภคอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตขัดขาว(ผ่านการขัดสี) หรือได้รับน้ำตาลมากจนเกินไปจะเป็นผลเสียต่อร่างกาย ทำให้เกิดไขมันสะสม น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อบุคลิกภาพโดยรวม ข้อแนะนำในการรับประทานน้ำตาลในชา กาแฟ ผู้สูงอายุควรทานในปริมาณไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน หรือ 2 ช้อนชาต่อมื้อ ซึ่งจะทำให้ร่างกายได้รับน้ำตาลที่พอดี และ จะช่วยป้องกันความแก่ได้ดียิ่งขึ้น

2. อาหารที่มีไขมันอิ่มตัว และ ไขมันทรานส์

 ถ้าผู้สูงอายุรับประทานอาหารประเภทไขมันมากจนเกินไป ไขมันเหล่านี้ก็จะไปกระตุ้นทำให้เกิดการสร้างอนุมูลอิสระ ทั้งยังอาจเกิดการอักเสบขึ้นภายในร่างกาย ผู้สูงอายุควรต้องระมัดระวังอาหารที่มีไขมันสูงโดยเฉพาะพวกไขมันทรานส์ อาทิ เนยเทียม ครีมเทียม น้ำมันทอดซ้ำ และ พวกของทอดที่เราซื้อจากภายนอกบ้าน ไขมันอิ่มตัวก็เป็นอีกตัวเร่งทำให้เกิดความแก่ถ้ารับประทานมากเกินไป อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวในที่นี้ได้แก่ ไขมันจากสัตว์ น้ำมันปาลม์ กะทิ และพวกเนื้อสัตว์แปลรูปอาทิ ไส้กรอก หมูยอ แฮม เบคอน กุนเชียง เป็นต้น

 ไขมัน 2 ประเภทนี้จะแทรกซึมเข้าไปตามเซลล์ผิวหนังของเรา ทำให้ผิวหนังของเรารับสารอาหารที่มีประโยชน์ได้ไม่เพียงพอ ทำให้เกิดความแก่ชราที่รวดเร็วเพิ่มขึ้นได้ ทั้งนี้แนะนำให้บริโภคไขมันประมาณ 30% ของพลังงานทั้งวัน หรือประมาน 6 ช้อนชาต่อวัน

save-hand-wrinkle-in-elderly

Credit photo created by wirestock – www.freepik.com

3. อาหารที่ใช้ความร้อนสูง

 อาหารที่ใช้ความร้อนสูงในการปรุง อาทิ อาหารปิ้ง ย่าง ทอด อาหารที่ใช้ความร้อนสูงจะยิ่งเร่งให้เกิดสารแก่มากขึ้น เช่น ไก่อบและไก่ทอดจะมีสารเร่งแก่มากกว่าไก่ต้มถึง 5-9 เท่า แต่ถ้าไม่สามารถหลีกเลี่ยงอาหารทอดได้ แนะนำให้เลือกทานอาหารที่ไม่ใช้น้ำมันทอดซ้ำ ในส่วนการปิ้ง ย่าง ก็ใช้แผ่นฟรอย์หรือใบตองห่อที่อาหารเพื่อลดอนุมูลอิสระและสารก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ แนวทางที่ดีที่สุดในการป้องกันสารเร่งแก่คือการเลือกวิธีการประกอบอาหารที่ใช้อุณหภูมิต่ำ ใช้ความร้อนไม่มากจนเกินไป อาทิ การต้ม การนึ่ง หรือ การผัดก็สามารถทำได้

teenage-elderly-family-prenvent-happiness

Credit photo created by Racool_studio – www.freepik.com

4. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

 ในทางโภชนาการถือว่าแอลกอฮอล์เป็นสารว่างเปล่าไม่สามารถให้พลังงานใดๆได้ หลังจากที่เราดื่มเข้าไป ร่างกายก็จะเปลี่ยนสารเหล่านี้ให้เป็นไขมันสะสม และจะทำให้เกิดการออกซิเดชั่นและเกิดอนุมูลอิสระ นอกจากนนี้แอลกอฮอล์จะไปขัดขวางการดูดซึมของวิตามิน แร่ธาตุที่มีประโยชน์ภายในร่างกาย เพราะฉะนั้นถ้ายังคงดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินไปจึงเป็นสาเหตุของการทำให้การแก่ก่อนวัยได้

beautiful-elderly-good-healthy

Credit photo created by pressfoto – www.freepik.com

5. อาหารที่มีการปนเปื้อนของสารเคมี และสารพิษต่างๆ

 อาหารที่มีการปนเปื้อนของสารตะกั่ว อาทิ อาหารที่อยู่ริมทาง ข้างถนนที่ไม่ได้มีภาชนะคลุม รวมถึงอาหารหมักดองต่างๆที่อาจมีเชื้อแบคทีเรียสามารถก่อโรคได้ พอเราได้รับสารเคมีหรือสารพิษต่างๆ ร่างกายก็จะสร้างกระบวนการกำจัดสารพิษและเกิดอนุมูลอิสระ สุดท้ายก็จะเร่งความแก่ให้เกิดขึ้น

elderly-napping-prevent-wrinkled

Credit photo created by pressfoto – www.freepik.com

 ทั้ง 5 ประเภทนี้เป็นแค่แนวทางในการรับประทานเบื้องต้นเพื่อชะลอความแก่ แต่ทางที่ดีผู้สูงอายุควรดูแลตัวเองให้ครบทุกด้าน อาทิ การทำจิตใจให้สดใส ไม่เครียดจนเกินไป หรือ หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หากิจกรรมสร้างสรรค์ทำเพื่อป้องกันความเสื่อมของร่างกายและกระตุ้นความตื่นตัวของจิตใจ ที่สำคัญผู้สูงอายุควรนอนหลับ พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อจะช่วยซ่อมแซมร่างกายที่สึกหรอและช่วยชะลอความแก่ได้อย่างดีที่สุด

ขอบคุณข้อมูลที่เป็นประโยชน์จาก: คุณวนะพร ทองโฉม นักวิชาการโภชนาการ ฝ่ายโภชนาการ
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

บทความเรียบเรียงโดย Zeedoctor  และ เครดิต Clip จาก Mahidol Channel: https://www.youtube.com/watch?v=l5mfiqmPRSM

อันดับแรก ต้องเข้าใจกันก่อนว่ารถเข็นที่ใช้งานอยู่ทุกวันนี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่:

ประเภทแรก รถเข็น Wheel Chair แบบต้องใช้กำลังคนขับเคลื่อน ซึ่งก็สามารถแบ่งย่อยออกไปได้อีก 2 ประเภท:

  1. Transport wheel chair– รถเข็น Wheel Chair ประเภทนี้จำเป็นต้องอาศัยคนช่วยเข็นเท่านั้น คนนั่งไม่สามารถเข็นเองได้ นิยมใช้งานกันในโรงพยาบาลเพื่อเคลื่อนย้ายคนไข้จากสถานที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง รถเข็นลักษณะนี้ จะมีล้อหลังขนาดเล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ประมาณ 8-14นิ้ว ผู้นั่งจะไม่สามารถเอื้อมมือไปขยับล้อเพื่อเคลื่อนไหวรถเข็นด้วยตัวเองได้ ข้อดีคือน้ำหนักเบา ราคาค่อนข้างถูก
  2. Manually propelled wheel chair– รถเข็น Wheel Chair ประเภทนี้ผู้ใช้งานสามารถที่จะขยับรถเข็นเคลื่อนที่เองได้โดยจะต้องใช้แขนทั้งสองข้างในการช่วยหมุนล้อ ส่วนในกรณีที่ต้องการเบรก ผู้ใช้งานต้องใช้แขนทั้งสองข้างจับที่วงปั่นเพื่อช่วยในการชะลอผ่อนความเร็ว รถเข็นประเภทนี้ จะมีล้อหลังขนาดใหญ่ตั้งแต่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20-24นิ้ว (51-61 ซ.ม.) ข้อดีคือผู้ใช้งานสามารถบังคับควบคุมรถได้ด้วยตนเอง

ประเภทที่สอง รถเข็น Wheel Chair ที่ใช้พลังงานภายนอก หรือ นิยมเรียกกันว่า รถเข็นไฟฟ้า

คือรถเข็นที่ใช้ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ในการขับเคลื่อน โดยลักษณะภายนอกของรถเข็นและการใช้งานจะเหมือนกับแบบที่ใช้กำลังคนในการขับเคลื่อน แต่จะถูกติดตั้งเพิ่มเติมด้วยระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าทำให้ผู้ใช้งานสามารถบังคับทิศทางการเคลื่อนที่ไปในทางที่ต้องการได้ รถเข็นแบบนี้นิยมใช้กับผู้สูงอายุที่มีอาการป่วยหนักไม่สามารถควบคุมการทำงานภายในร่างกายได้ หรือพิการ เป็นอัมพาตจนร่างกายขยับไม่ได้

รถเข็นไฟฟ้าช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ป่วย ผู้สูงอายุได้เป็นอย่างมากโดยเฉพาะผู้ที่ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ไม่สามารถขยับเขยื้อนช่วงล่างของร่างกายได้เลย ผู้ใช้งานสามารถบังคับรถเพื่อหลบหลีกทาง หรือ เขยิบไปในจุดที่สะดวกได้ด้วยตนเองหรือในขณะที่คนเข็นรถไม่อยู่

ข้อแนะนำในการเลือกรถเข็นผู้ป่วย ผู้สูงอายุ:

  1. ควรเลือกแบบที่สามารถพับเก็บได้เพื่อความสะดวกในการพกพาไปในสถานที่ต่างๆ เพื่อความง่ายในการเคลื่อนย้าย
  2. รถเข็นควรมีเบรกและระบบล๊อคล้อเพื่อความปลอดภัย
  3. กรณีเป็นผู้ป่วยหนักจำเป็นต้องใช้รถเข็นในระยะเวลานาน ควรเลือกซื้อแบบที่ทนทาน มีน้ำหนักเบา สามารถเคลื่อนย้ายได้โดยสะดวก หากต้องเดินทางเป็นประจำควรซื้อแบบที่ทำด้วยอลูมิเนียม
  4. รถเข็นที่ดีต้องมีความเหมาะสมกับผู้ใช้งาน ต้องไม่เทอะทะ ความลึกของเบาะนั่งต้องพอดีกับร่างกาย เมื่อนั่งแล้ว สะโพกและข้อเข่าควรงอทำมุมฉาก ควรมีช่องว่างระหว่างขอบที่นั่งกับข้อพับเข่าของผู้ป่วยเล็กน้อย หากที่นั่งลึกเกินไปอาจเกิดการเสียดสีเป็นแผลที่ใต้เข่าหรือผู้ป่วยอาจเลื่อนไหลตัวไปด้านหน้าจนอาจตกจากรถเข็นได้
  5. ต้องมีความปลอดภัยกับผู้ใช้งาน โดยควรคำนึงถึงความสูงของพนักพิงว่าต้องพอดี หากผู้ป่วยมีอาการที่ทรงตัวไม่ดี ควรใช้พนักพิงที่พอเหมาะพอดีกับตัว หากผู้ใช้งานทรงตัวดี ต้องการความคล่องตัวในการเข็นรถด้วยตนเองให้เลือกใช้พนักพิงแบบต่ำ
  6. ที่วางเท้าต้องพอเหมาะในขณะที่ผู้สูงอายุนั่ง ข้อเข่าและข้อเท้าควรงอตั้งฉากกัน ไม่ควรงอหรือเหยียดจนเกินไป หรือหากที่วางเท้าสูงเกินไปอาจส่งผลให้เกิดแรงกดไปที่ก้นมากจนอาจเกิดอันตราย เมื่อใช้ไปนานเข้าอาจทำให้ปวดหลังหรือเกิดแผลกดทับที่ก้นขึ้นมาได้

เครดิตข้อมูลจาก site :       

Phartrillion: https://phartrillion.com/how-to-choose-wheelchair/

ราคาเครื่องมือแพทย์.com:  https://bit.ly/38GGrWs