6 วิธีสังเกตง่ายๆ ว่าเราเข้าสู่วัยเก๋า (ที่ยังเก๋าจริง) แล้วหรือยัง

 เป็นที่ทราบกันดีว่าตอนนี้ประเทศไทยเราได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ(Aging Society) อย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2548 (อ่านเพิ่มเติม..สังคมผู้สูงอายุในประเทศไทย) แล้วก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่เตรียมพร้อมรับการการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างสังคมที่จะเกิดขึ้น แต่ก็มีบางส่วนที่ยังไม่ค่อยแน่ใจว่าเราได้เข้าสู่วัยเก๋าหรือกำลังจะเข้าสู่วัยรุ่น(ตอนปลาย)อย่างแท้จริง วันนี้เราจะมีเคล็ด(ไม่)ลับ เล็กๆน้อยๆที่จะช่วยบอกได้ว่า เราได้ก้าวเข้าสู่ภาวะสูงวัยแล้ว

asian-elderly-feel-happy-smilling

Credit photo created by tirachardz – www.freepik.com

ข้อที่ 1. มีคนทัก

 วิธีนี้สามารถสังเกตได้ง่ายเพราะบางครั้งเราเห็นตัวเองในกระจกอยู่เป็นประจำ อาจทำให้เราคุ้นชินกับรูปร่าง หน้าตา จนทำให้มองไม่เห็นจุดบกพร่องที่เกิดขึ้นจากอายุที่มากขึ้น ในความเป็นจริง การที่มีคนทักหรือบอกเราก็เป็นสิ่งที่ดี เพราะเราจะได้เตรียมพร้อมรับกับวัยที่สูงขึ้น ดูแลสุขภาพให้ดียิ่งขึ้น

ข้อที่ 2. หมั่นมองดูตัวเองในกระจก

 คอยหมั่นสังเกตก็จะเริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตั้งแต่หัวจรดเท้า อาทิ:

  • เริ่มมีผมหงอกขึ้นตรงโคนผม หรือแถบผมหงอกด้านข้างศีรษะจนกลางศีรษะ ถ้าเป็นผู้ชายอาจมีอาการผมร่วง ศีรษะเถิก และหัวล้าน
  • ผิวหน้าแห้งขึ้น ทำให้เริ่มมีรอยตีนกาเพิ่มมากขึ้น การยืดหยุ่นของผิวลดลง
happy-couple-elderly-watching-ipad

Credit photo created by tirachardz – www.freepik.com

ข้อที่ 3. กำลังวังชาที่ถดถอยลงไป

  • พออายุเข้าวัย 30 ปีขึ้นไป มวลกล้ามเนื้อและกระดูก จะเริ่มลดลง 3-5% ทุกๆ 10 ปี ฉะนั้นถ้าไม่คอยออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ กล้ามเนื้อของเราก็จะค่อยๆ หายไปเรื่อยๆ จนทำให้กล้ามเนื้อไม่แข็งแรงและไม่มีกำลัง ในส่วนของกระดูก พอย่างเข้าวัย 30 ปี จะไม่มีการเสริมสร้างขึ้นอีก แต่ร่างกายจะคงสภาพของกระดูกเอาไว้ และมวลกระดูกจะเริ่มลดลงหลังจากเราเข้าสู่วัยทอง(ผู้หญิงเริ่มตั้งแต่ 45-55 ปี) และจะนำไปสู่การเกิดภาวะกระดูกพรุนในที่สุด

ข้อที่ 4. การเปลี่ยนแปลงเรื่องของน้ำหนักตัว(ที่เพิ่มขึ้น)

 ด้วยภาวะกล้ามเนื้อที่ลดลงของผู้สูงวัย จึงทำให้การเผาผลาญพลังงานได้ไม่ดีเหมือนตอนวัยหนุ่มสาว ทำให้เกิดการสะสมของไขมันเพิ่มขึ้น ทั้งยังอ้วนง่ายขึ้นในขณะที่กินเท่าเดิม

elderly-healthy-happy-couple

Credit photo created by tirachardz – www.freepik.com

ข้อที่ 5. อารมณ์เปลี่ยนแปลงบ่อย

 ในส่วนของผู้หญิงฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดลงอย่างรวดเร็ว พอเข้าสู่วัยทองรังไข่ก็จะหยุดทำงาน ทำให้การปรับตัวเรื่องของอารมณ์นั้นแย่ลง หงุดหงิดง่ายขึ้น และยังทำให้เกิดอาการนอนหลับยากขึ้น ร้อนวูบวาบ(อาจจะเกิดขึ้นในบางคน)

 ในส่วนของผู้ชายฮอร์โมนเพศชายก็จะลดลงเช่นกันแต่จะเป็นในลักษณะค่อยๆลดลง ไม่ได้หายไปเลยแบบผู้หญิง จึงทำให้การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ไม่รุนแรงเท่า หรือบางครั้งอาจจะไม่มีอาการเลยก็ได้

ข้อที่ 6. สถานะภาพทางสังคมและครอบครัวมีการเปลี่ยนแปลง

 โดยที่สมัยก่อนผู้ชายหรือพ่อจะเป็นหัวหน้าผู้ดูแลครอบครัว แต่พอเข้าสู่วัยชราก็จะเป็นรุ่นลูกที่ขึ้นมาทำหน้าที่นี้แทน ฉะนั้น พ่อจึงถูกลดบทบาทและอำนาจภายในครอบครัวลง ขาดการยอมรับจากครอบครัวเพิ่มขึ้น ถ้าไม่มีการเตรียมตัวที่ดี และเข้าใจสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลง จะทำให้เกิดปัญหาภายในบ้านและการเข้าสังคมได้ในอนาคต

asian-elderly-couple-smart-aging-society

Credit photo created by tirachardz – www.freepik.com

 สรุปแล้วการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุควรเริ่มเมื่อไร่? คำตอบง่ายๆจาก ผศ.พญ.ดรุณีวัลย์ วโรดมวิจิตร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้กล่าวแนะนำว่า ให้เตรียมตัวตั้งแต่ตอนนี้เลย เตรียมตัวตั้งแต่เนินๆ เพราะถ้ารอจนอายุ 50-60 ปี ในบางครั้งอาจจะสายเกินไป ไม่สามารถปรับตัวให้ทันกับอารมณ์และร่างกายที่เปลี่ยนแปลงได้

 แต่ที่สำคัญที่สุดคือเราจะเข้าสู่วัยเก๋าอย่างไรให้มีคุณค่า โดยการยอมรับว่าความแก่ชราว่าเป็นเรื่องปรกติ หมั่นดูแลตัวเองให้ดีพร้อมทั้ง 4 ด้านที่สำคัญได้แก่ การสร้างสรรค์อารมณ์ที่ดี มองโลกในแง่ดี เลือกอาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อสุขภาพ (อ่านเพิ่มเติม..ผู้สูงอายุญี่ปุ่นทานอะไรถึงสุขภาพดี) และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทั้งหมดนี้จะช่วยให้คุณก้าวเช้าสู่วัยเก๋าที่มีคุณค่าอย่างสมบูรณ์แบบได้

ขอบคุณข้อมูลที่เป็นประโยชน์จาก: ผศ.พญ.ดรุณีวัลย์ วโรดมวิจิตร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาลัยมหิดล

บทความเรียบเรียงโดย Zeedoctor  และ เครดิต Clip จาก Mahidol Channel: https://www.youtube.com/watch?v=QkXzQiwzcVY&list=PLYbHecbpdP2uXF3FiWfJftK6UDRWcB4pk&index=70

อันดับแรก ต้องเข้าใจกันก่อนว่ารถเข็นที่ใช้งานอยู่ทุกวันนี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่:

ประเภทแรก รถเข็น Wheel Chair แบบต้องใช้กำลังคนขับเคลื่อน ซึ่งก็สามารถแบ่งย่อยออกไปได้อีก 2 ประเภท:

  1. Transport wheel chair– รถเข็น Wheel Chair ประเภทนี้จำเป็นต้องอาศัยคนช่วยเข็นเท่านั้น คนนั่งไม่สามารถเข็นเองได้ นิยมใช้งานกันในโรงพยาบาลเพื่อเคลื่อนย้ายคนไข้จากสถานที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง รถเข็นลักษณะนี้ จะมีล้อหลังขนาดเล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ประมาณ 8-14นิ้ว ผู้นั่งจะไม่สามารถเอื้อมมือไปขยับล้อเพื่อเคลื่อนไหวรถเข็นด้วยตัวเองได้ ข้อดีคือน้ำหนักเบา ราคาค่อนข้างถูก
  2. Manually propelled wheel chair– รถเข็น Wheel Chair ประเภทนี้ผู้ใช้งานสามารถที่จะขยับรถเข็นเคลื่อนที่เองได้โดยจะต้องใช้แขนทั้งสองข้างในการช่วยหมุนล้อ ส่วนในกรณีที่ต้องการเบรก ผู้ใช้งานต้องใช้แขนทั้งสองข้างจับที่วงปั่นเพื่อช่วยในการชะลอผ่อนความเร็ว รถเข็นประเภทนี้ จะมีล้อหลังขนาดใหญ่ตั้งแต่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20-24นิ้ว (51-61 ซ.ม.) ข้อดีคือผู้ใช้งานสามารถบังคับควบคุมรถได้ด้วยตนเอง

ประเภทที่สอง รถเข็น Wheel Chair ที่ใช้พลังงานภายนอก หรือ นิยมเรียกกันว่า รถเข็นไฟฟ้า

คือรถเข็นที่ใช้ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ในการขับเคลื่อน โดยลักษณะภายนอกของรถเข็นและการใช้งานจะเหมือนกับแบบที่ใช้กำลังคนในการขับเคลื่อน แต่จะถูกติดตั้งเพิ่มเติมด้วยระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าทำให้ผู้ใช้งานสามารถบังคับทิศทางการเคลื่อนที่ไปในทางที่ต้องการได้ รถเข็นแบบนี้นิยมใช้กับผู้สูงอายุที่มีอาการป่วยหนักไม่สามารถควบคุมการทำงานภายในร่างกายได้ หรือพิการ เป็นอัมพาตจนร่างกายขยับไม่ได้

รถเข็นไฟฟ้าช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ป่วย ผู้สูงอายุได้เป็นอย่างมากโดยเฉพาะผู้ที่ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ไม่สามารถขยับเขยื้อนช่วงล่างของร่างกายได้เลย ผู้ใช้งานสามารถบังคับรถเพื่อหลบหลีกทาง หรือ เขยิบไปในจุดที่สะดวกได้ด้วยตนเองหรือในขณะที่คนเข็นรถไม่อยู่

ข้อแนะนำในการเลือกรถเข็นผู้ป่วย ผู้สูงอายุ:

  1. ควรเลือกแบบที่สามารถพับเก็บได้เพื่อความสะดวกในการพกพาไปในสถานที่ต่างๆ เพื่อความง่ายในการเคลื่อนย้าย
  2. รถเข็นควรมีเบรกและระบบล๊อคล้อเพื่อความปลอดภัย
  3. กรณีเป็นผู้ป่วยหนักจำเป็นต้องใช้รถเข็นในระยะเวลานาน ควรเลือกซื้อแบบที่ทนทาน มีน้ำหนักเบา สามารถเคลื่อนย้ายได้โดยสะดวก หากต้องเดินทางเป็นประจำควรซื้อแบบที่ทำด้วยอลูมิเนียม
  4. รถเข็นที่ดีต้องมีความเหมาะสมกับผู้ใช้งาน ต้องไม่เทอะทะ ความลึกของเบาะนั่งต้องพอดีกับร่างกาย เมื่อนั่งแล้ว สะโพกและข้อเข่าควรงอทำมุมฉาก ควรมีช่องว่างระหว่างขอบที่นั่งกับข้อพับเข่าของผู้ป่วยเล็กน้อย หากที่นั่งลึกเกินไปอาจเกิดการเสียดสีเป็นแผลที่ใต้เข่าหรือผู้ป่วยอาจเลื่อนไหลตัวไปด้านหน้าจนอาจตกจากรถเข็นได้
  5. ต้องมีความปลอดภัยกับผู้ใช้งาน โดยควรคำนึงถึงความสูงของพนักพิงว่าต้องพอดี หากผู้ป่วยมีอาการที่ทรงตัวไม่ดี ควรใช้พนักพิงที่พอเหมาะพอดีกับตัว หากผู้ใช้งานทรงตัวดี ต้องการความคล่องตัวในการเข็นรถด้วยตนเองให้เลือกใช้พนักพิงแบบต่ำ
  6. ที่วางเท้าต้องพอเหมาะในขณะที่ผู้สูงอายุนั่ง ข้อเข่าและข้อเท้าควรงอตั้งฉากกัน ไม่ควรงอหรือเหยียดจนเกินไป หรือหากที่วางเท้าสูงเกินไปอาจส่งผลให้เกิดแรงกดไปที่ก้นมากจนอาจเกิดอันตราย เมื่อใช้ไปนานเข้าอาจทำให้ปวดหลังหรือเกิดแผลกดทับที่ก้นขึ้นมาได้

เครดิตข้อมูลจาก site :       

Phartrillion: https://phartrillion.com/how-to-choose-wheelchair/

ราคาเครื่องมือแพทย์.com:  https://bit.ly/38GGrWs