9 วิธีสร้างสุขให้ผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุ เป็นวัยที่นอกจากต้องใส่ใจเรื่องอาหารการกินแล้ว เรื่องของสุขภาพจิตก็เป็นสิ่งสำคัญ !

เพราะวัยนี้เป็นวัยแห่งการเปลี่ยนแปลงชีวิตหลายอย่าง อารมณ์และความรู้สึกของผู้สูงอายุอาจเปราะบางเป็นพิเศษ และอาจส่งผลให้สุขภาพจิตย่ำแย่ มีความสุขน้อยลง ซึ่งก็จะพาลส่งผลกระทบต่อร่างกาย อาจจะมีอาการนอนไม่หลับ เบื่ออาหารหรืออ่อนแรง ฉะนั้นเราควรที่จะรู้จักวิธีการเตรียมตัวสู่การเป็นผู้สูงอายุที่มีความสุข มาเริ่มเรียมรู้ธรรมชาติและความเป็นไปของผู้สูงอายุเพื่อเตรียมความพร้อมกันก่อน

ผู้สูงอายุ aging society
Credit: แฟ้มภาพ

ธรรมชาติและความเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุ

  1. อารมณ์เหงาและว้าเหว่ เพราะคนวัยนี้มีเวลาว่างจากอาชีพการงาน บ้างพลัดพรากจากผู้ที่ใกล้ชิดและเป็นที่รัก นอกจากนี้ยังมีสภาวะทางกายเสื่อม อาทิ สายตาไม่ดี หูไม่ดี การทำกิจกรรมจึงมีข้อจำกัด โดยอารมณ์เหงาในผู้สูงอายุมักมีอารมณ์อื่นๆ ร่วมด้วย และก่อให้เกิดผลกระทบหลายอย่าง อาทิเช่น ซึมเศร้า เบื่ออาหาร ไม่มีความสุขกับการใช้ชีวิตหรือเกิดโรคภัยไข้เจ็บ
  2. อารมณ์เศร้าจากการพลัดพราก เช่น การสูญเสียคนที่รัก ก็มักจะมีอารมณ์ทางลบต่างๆ ทั้งว้าเหว่ เลื่อนลอยหลงๆ ลืมๆ ซึ่งหากผู้ที่จากไปมีความผูกพันกันอย่างมากแล้ว เขาก็อาจจะตามไปในเวลาไม่ช้า ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้
  3. อารมณ์โกรธ เมื่อยามที่มีความขัดแย้งกับลูกหลานไม่ยอมรับฟังความคิดเห็น ดูเสมือนเป็นเรื่องเล็กแต่สุดท้ายอาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่บานปลายและลดทอนความสุขของผู้สูงอายุได้
  4. ขี้น้อยใจ เพราะคิดว่าตนเองไร้ค่าและลูกหลานไม่สนใจ
  5. การย้อนคิดถึงความหลัง เช่น นั่งคิดอะไรคนเดียวเงียบๆ บอกเล่าให้เพื่อนฟังหรือมักเดินทางไปยังสถานที่คุ้นเคย เพราะการย้อนอดีตเพื่อดูว่าชีวิตที่ผ่านมาสมหวังหรือไม่ และหากย้อนไปแล้วรู้สึกไม่พึงพอใจก็อาจเกิดความรู้สึกคับแค้น แต่หากผู้สูงอายุย้อนคิดถึงอดีตแล้วเกิดความพอใจ และสามารถปรับตนให้ตระหนักถึงความไม่เที่ยงในชีวิตท่านผู้นั้นก็จะสามารถมีความสุขตามวัยได้
  6. วิตกกังวล เป็นความรู้สึกที่ผู้สูงอายุกลัวว่าต้องพึ่งลูกหลาน ขาดความมั่นใจ ขาดความสามารถ กลัวภัย หรือกลัวการไม่ได้รับการเอาใจใส่ดูแล เป็นเหตุทำให้อ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง เบื่ออาหาร หายใจไม่ออกหรือเป็นลมง่าย
  7. กลัวถูกทอดทิ้ง เนื่องจากผู้สูงอายุช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลง
  8. หงุดหงิด เนื่องจากผู้สูงอายุทำอะไรด้วยตนเองได้น้อยลง ใครทำอะไรก็ไม่ถูกใจ จึงกลายเป็นคนจู้จี้ขี้บ่น แสนงอน ท้ายสุดก็ไม่เกิดความสุขในบั้นปลายของชีวิต
take care of older
Credit: แฟ้มภาพ

แต่ปัญหาเหล่านั้นสามารถป้องกันได้ถ้าผู้สูงอายุเรียนรู้และรู้จักการปรับตัวยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และในวันนี้เรามี 9 วิธีสร้างสุขให้ผู้สูงอายุ แล้วคุณจะพบว่าการเป็นผู้สูงอายุที่มีความสุข แบบง่ายๆนั้นจะต้องปฏิบัติตัวเช่นไร

  1. ผู้สูงอายุควรรู้จักโอนอ่อนผ่อนตามความเห็นของลูกหลาน คิดเรื่องต่างๆ ด้วยความยืดหยุ่นว่าทำอะไรจึงจะอยู่ร่วมกับครอบครัวและคนอื่นได้อย่างดีที่สุด และเกิดความขัดแย้งน้อยที่สุด มีความสุขมากที่สุด
  2. ผู้สูงอายุทำใจตระหนักได้ว่าการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมดา
  3. ผู้สูงอายุควรมองชีวิตตนเองในทางที่ดี ภาคภูมิใจที่สามารถเป็นที่พึ่งพิงแก่ผู้อ่อนวัย คอยให้แนวคิด วิธีการใช้ชีวิตจากประสบการณ์ที่ผ่านมาแนะนำให้ลูกหลานได้รับฟังและนำไปปรับใช้ในชีวิตจริง
  4. เมื่อมีความกังวลต่างๆ เช่น เป็นห่วงลูกหลานจะลำบาก กังวลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยของตน ควรศึกษาพูดคุยกับคุณใกล้ชิดก็ได้ระบายความรู้สึก เป็นต้น
  5. พยายามหากิจกรรมฝึกงานอดิเรกที่ทำแล้วรู้สึกเพลิดเพลิน และมีคุณค่าทางจิตใจ เช่น ปลูกต้นไม้ เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น
  6. ผู้สูงอายุควรเข้าสังคมพบปะสังสรรค์กับผู้อื่น เพื่อพูดคุยกันปรับทุกข์
  7. ผู้สูงอายุควรยึดหลักศาสนาเป็นที่พึ่งทางใจ เช่น สวดมนต์ เข้าวัด ทำบุญ ฝึกสมาธิ เป็นต้น
  8. ผู้สูงอายุควรดูแลรักษาสุขภาพกายให้ดี หมั่นออกกำลังตามความเหมาะสมของสภาพร่างกาย รับปะทานอาหารที่มีประโยชน์ ย่อยง่าย ไม่หนักท้องจนเกินไป คอยตรวจสุขภาพและเข้าพบแพทย์ตามเวลานัดหมายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ สุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บแล้วจะเกิดความสุข
  9. หมั่นทำจิตใจให้เบิกบานอยู่เสมอ ไม่เครียด ไม่จู้จี้ หรือหงุดหงิดง่าย สร้างความสุขแบบง่ายๆด้วยการปรับวิธีคิด อย่าไปยึดติดกับอะไรมากจนเกินไป ปล่อยให้เป็นไปตามที่มันควรจะเป็น

ทั้งหมดนี้ไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุเท่านั้นที่ต้องปรับตัว ผู้ดูแลผู้สูงอายุเองก็ต้องปรับตัวด้วยเช่นกัน และเมื่อทั้งสองฝ่ายปรับตัวเข้าหากันได้ก็จะส่งผลดีทำให้เกิดความสุข ความสบายใจ ผ่อนคลาย สุดท้ายจะบังเกิดความสุขทั้งผู้ให้และผู้รับ รวมทั้งคนรอบข้าง

 

เครดิตบทความ: สสส. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

เครดิต link:

เรียบเรียงเนื้อหาเพื่อความเหมาะสม: ทีมงาน zeedoctor

อันดับแรก ต้องเข้าใจกันก่อนว่ารถเข็นที่ใช้งานอยู่ทุกวันนี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่:

ประเภทแรก รถเข็น Wheel Chair แบบต้องใช้กำลังคนขับเคลื่อน ซึ่งก็สามารถแบ่งย่อยออกไปได้อีก 2 ประเภท:

  1. Transport wheel chair– รถเข็น Wheel Chair ประเภทนี้จำเป็นต้องอาศัยคนช่วยเข็นเท่านั้น คนนั่งไม่สามารถเข็นเองได้ นิยมใช้งานกันในโรงพยาบาลเพื่อเคลื่อนย้ายคนไข้จากสถานที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง รถเข็นลักษณะนี้ จะมีล้อหลังขนาดเล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ประมาณ 8-14นิ้ว ผู้นั่งจะไม่สามารถเอื้อมมือไปขยับล้อเพื่อเคลื่อนไหวรถเข็นด้วยตัวเองได้ ข้อดีคือน้ำหนักเบา ราคาค่อนข้างถูก
  2. Manually propelled wheel chair– รถเข็น Wheel Chair ประเภทนี้ผู้ใช้งานสามารถที่จะขยับรถเข็นเคลื่อนที่เองได้โดยจะต้องใช้แขนทั้งสองข้างในการช่วยหมุนล้อ ส่วนในกรณีที่ต้องการเบรก ผู้ใช้งานต้องใช้แขนทั้งสองข้างจับที่วงปั่นเพื่อช่วยในการชะลอผ่อนความเร็ว รถเข็นประเภทนี้ จะมีล้อหลังขนาดใหญ่ตั้งแต่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20-24นิ้ว (51-61 ซ.ม.) ข้อดีคือผู้ใช้งานสามารถบังคับควบคุมรถได้ด้วยตนเอง

ประเภทที่สอง รถเข็น Wheel Chair ที่ใช้พลังงานภายนอก หรือ นิยมเรียกกันว่า รถเข็นไฟฟ้า

คือรถเข็นที่ใช้ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ในการขับเคลื่อน โดยลักษณะภายนอกของรถเข็นและการใช้งานจะเหมือนกับแบบที่ใช้กำลังคนในการขับเคลื่อน แต่จะถูกติดตั้งเพิ่มเติมด้วยระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าทำให้ผู้ใช้งานสามารถบังคับทิศทางการเคลื่อนที่ไปในทางที่ต้องการได้ รถเข็นแบบนี้นิยมใช้กับผู้สูงอายุที่มีอาการป่วยหนักไม่สามารถควบคุมการทำงานภายในร่างกายได้ หรือพิการ เป็นอัมพาตจนร่างกายขยับไม่ได้

รถเข็นไฟฟ้าช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ป่วย ผู้สูงอายุได้เป็นอย่างมากโดยเฉพาะผู้ที่ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ไม่สามารถขยับเขยื้อนช่วงล่างของร่างกายได้เลย ผู้ใช้งานสามารถบังคับรถเพื่อหลบหลีกทาง หรือ เขยิบไปในจุดที่สะดวกได้ด้วยตนเองหรือในขณะที่คนเข็นรถไม่อยู่

ข้อแนะนำในการเลือกรถเข็นผู้ป่วย ผู้สูงอายุ:

  1. ควรเลือกแบบที่สามารถพับเก็บได้เพื่อความสะดวกในการพกพาไปในสถานที่ต่างๆ เพื่อความง่ายในการเคลื่อนย้าย
  2. รถเข็นควรมีเบรกและระบบล๊อคล้อเพื่อความปลอดภัย
  3. กรณีเป็นผู้ป่วยหนักจำเป็นต้องใช้รถเข็นในระยะเวลานาน ควรเลือกซื้อแบบที่ทนทาน มีน้ำหนักเบา สามารถเคลื่อนย้ายได้โดยสะดวก หากต้องเดินทางเป็นประจำควรซื้อแบบที่ทำด้วยอลูมิเนียม
  4. รถเข็นที่ดีต้องมีความเหมาะสมกับผู้ใช้งาน ต้องไม่เทอะทะ ความลึกของเบาะนั่งต้องพอดีกับร่างกาย เมื่อนั่งแล้ว สะโพกและข้อเข่าควรงอทำมุมฉาก ควรมีช่องว่างระหว่างขอบที่นั่งกับข้อพับเข่าของผู้ป่วยเล็กน้อย หากที่นั่งลึกเกินไปอาจเกิดการเสียดสีเป็นแผลที่ใต้เข่าหรือผู้ป่วยอาจเลื่อนไหลตัวไปด้านหน้าจนอาจตกจากรถเข็นได้
  5. ต้องมีความปลอดภัยกับผู้ใช้งาน โดยควรคำนึงถึงความสูงของพนักพิงว่าต้องพอดี หากผู้ป่วยมีอาการที่ทรงตัวไม่ดี ควรใช้พนักพิงที่พอเหมาะพอดีกับตัว หากผู้ใช้งานทรงตัวดี ต้องการความคล่องตัวในการเข็นรถด้วยตนเองให้เลือกใช้พนักพิงแบบต่ำ
  6. ที่วางเท้าต้องพอเหมาะในขณะที่ผู้สูงอายุนั่ง ข้อเข่าและข้อเท้าควรงอตั้งฉากกัน ไม่ควรงอหรือเหยียดจนเกินไป หรือหากที่วางเท้าสูงเกินไปอาจส่งผลให้เกิดแรงกดไปที่ก้นมากจนอาจเกิดอันตราย เมื่อใช้ไปนานเข้าอาจทำให้ปวดหลังหรือเกิดแผลกดทับที่ก้นขึ้นมาได้

เครดิตข้อมูลจาก site :       

Phartrillion: https://phartrillion.com/how-to-choose-wheelchair/

ราคาเครื่องมือแพทย์.com:  https://bit.ly/38GGrWs