9 เรื่องสำคัญที่ผู้สูงวัยควรรู้เกี่ยวกับสุขภาพ

“ผู้สูงวัย” เป็นช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจไม่ต่างกับช่วงวัยเด็กหรือช่วงวัยรุ่น การที่ผู้สูงวัยได้เตรียมตัวและรับรู้ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกายตนเองตั้งแต่เนิ่นๆจะเป็นประโยชน์กับตัวเองเมื่อเข้าสู่วัยชรา ผู้สูงวัยควรเตรียมพร้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และคอยหมั่นสังเกตุตนเองอย่างสม่ำเสมอเพื่อพร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น วันนี้เราขอนำเอา 9 เรื่องที่ควรรู้สำหรับผู้สูงวัยมาฝากกัน

 

1. ระบบผิวหนัง

ผู้สูงอายุจะมีภาวะผิวหนังขาดความยืดหยุ่น เนื่องจากเส้นใยอีลาสตินและเซลล์ผิวหนังลดลง ต่อมไขมันทำงานลดลงทำให้ผิวหนังของผู้สูงวัยมีลักษณะแห้งและเป็นขุย เซลล์ที่สร้างเม็ดสีมีการทำงานลดลงทำให้สีของผิวหนังจางลง แต่อาจพบจุดสีน้ำตาลได้ทั่วไปอันเนื่องมาจากการรวมตัวของเม็ดสีเก่าๆ และในวัยผู้สูงอายุผิวหนังจะมีอาการแพ้ได้ง่ายกว่าวัยอื่นๆ ผู้สูงอายุจะเริ่มมีเล็บที่มีลักษณะหนาและแข็งมากขึ้น ผมและขนต่างๆ จะจางลงและหลุดร่วงง่าย

ผู้สูงวัย

Photo by Siarhei Plashchynski on Unsplash

 

2. ระบบหัวใจและไหลเวียนโลหิต

ในช่วงวัยนี้ ประสิทธิภาพในการทำงานของหัวใจของผู้สูงอายุจะลดลงเนื่องจากการบีบตัวและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อหัวใจลดลง(อ่านบทความ: ภาวะหัวใจล้มเหลว) อาจมีความผิดปกติในการนำสัญญาณไฟฟ้าในกล้ามเนื้อหัวใจ ผู้สูงวัยอาจเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หลอดเลือดฝอยของร่างกายเปราะบางอาจทำให้เกิดภาวะขาดเลือดได้

 

3. ระบบทางเดินหายใจ

เมื่ออายุมากขึ้น จะเกิดการแข็งตัวไม่ยืดหยุ่นของข้อต่อเล็กๆ ของซี่โครง ทำให้การขยายตัวของทรวงอกลดลง เกิดภาวะหลังค่อม บวกกับเนื้อเยื่อปอดมีความยืดหยุ่นลดลง ทำให้ปริมาตรการหายใจและค่าความจุปอดต่ำลง ส่งผลให้การหายใจเข้าและออกไม่สะดวกเท่าตอนอยู่ในวัยหนุ่มสาว เมื่อวงจรการตอบสนองกำจัดสิ่งแปลกปลอมในระบบทางเดินหายใจของผู้สูงวัยไม่ดี อาจทำให้เกิดการติดเชื้อและอาการสำลักได้ ฉะนั้นผู้สูงอายุควรระมัดระวังอย่างยิ่ง

 

4. ระบบประสาท ประสาทสัมผัส และการทรงตัว

สารสื่อประสาทและเซลล์ประสาททั้งระบบส่วนกลางและระบบประสาทส่วนปลายมีประสิทธิภาพลดลง การส่งสัญญาณประสาทช้าลง ทำให้ปฏิกิริยาที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าและการเคลื่อนไหวในผู้สูงอายุลดลง ระบบความคิดและวิเคราะห์ที่ช้าลง อาจทำให้ผู้สูงวัยเกิดภาวะความจำเสื่อม ประสิทธิภาพของสมองส่วนที่ควบคุมอุณหภูมิร่างกายลดลง สารสื่อประสาทที่สำคัญอาจเสื่อมสลาย นำไปสู่โรคพากินสัน (การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ) นอนหลับลึกน้อยลงจากเดิม รวมถึงอาการสายตายาวในผู้สูงอายุที่เป็นต้นเหตุของการหกล้มในผู้สูงวัย นอกจากนี้ยังมีภาวการณ์ได้ยินที่ลดลงประกอบด้วย

ผู้สูงอายุ

Photo by Todd Cravens on Unsplash

 

5. ระบบสืบพันธุ์

ในเพศชายอาจขับถ่ายปัสสาวะได้ลำบาก ขณะที่เพศหญิงมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนลดลง และทรวงอกสูญเสียความยืดหยุ่น ทำให้เกิดการหย่อนคล้อย

 

6. ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ

ภาวะกล้ามเนื้อลีบจากการไม่ได้ใช้งานในผู้สูงอายุสังเกตได้จากการที่กล้ามเนื้อมีขนาดเล็กลง ส่งผลให้ความแข็งแรงและการหดตัวของกล้ามเนื้อมีความเสื่อมถอย ภาวการณ์สูญเสียสมดุลนี้ส่งผลให้เกิดอาการสั่นเมื่อต้องทำงาน มีการลดลงของกำลังกล้ามเนื้อสูงสุด และระยะการเคลื่อนไหวของข้อต่อ โดยทั่วไปนั้นจะลดลงในอัตราร้อยละ 15-20 โดยประมาณในระหว่างช่วงอายุ 20-60 ปี มากน้อยตามแต่ว่าเคยดูแลสมรรถภาพร่างกายก่อนหน้านี้มาอย่างไร ฉะนั้นผู้สูงวัยส่วนใหญ่จึงควรพยายามดำรงความสามารถในการทำงานเดิมไว้ให้ได้ ทั้งนี้ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้กำลังข้อต่อและกล้ามเนื้อมากๆ เช่น ยกของหนัก แบกของ และงานที่ต้องบิดเอี้ยวตัวมากๆ

 

ผู้สูงวัย สูงอายุ

Photo by Les Anderson on Unsplash

 

7. ระบบทางเดินอาหาร

ผู้สูงวัยมีโอกาสท้องผูกบ่อย กระเพาะอาหารหลั่งน้ำย่อยลดลงทำให้ประสิทธิภาพในการย่อยอาหารลดลง(อ่านบทความ:ผู้สูงวัยควรกินอย่างไรให้แข็งแรง)  ผู้สูงอายุบางรายอาจเกิดภาวะระบบร่างกายขาดสารอาหารเพราะการดูดซึมอาหารในกระเพาะอาหารบกพร่อง

 

8. ระบบปัสสาวะ

ผู้สูงอายุจะถ่ายปัสสาวะบ่อย เนื่องจากหลังจากถ่ายปัสสาวะในแต่ละครั้งจะมีปริมาณปัสสาวะตกค้างในกระเพาะปัสสาวะเพิ่มขึ้น

 

9. ระบบต่อมไร้ท่อ

ร่างกายผู้สูงอายุสร้างฮอร์โมนชนิดต่างๆ ได้น้อยลง ข้อควรระวังคือการหลั่งฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงทำให้การเผาผลาญไขมันลดลง ส่งผลให้เกิดภาวะอ้วนง่ายในผู้สูงวัย และอาจเกิดอาการกระดูกหัก หรือยุบง่ายเมื่อร่างกายได้รับบาดเจ็บที่ไม่รุนแรง

old man

Photo by Aswathy N on Unsplash

 

การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายของผู้สูงวัยมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์และจิตใจในวัยนี้ ทำให้อาจมีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย วิตกกังวล น้อยใจ รู้สึกเหงาเนื่องจากกลัวการถูกทอดทิ้ง ไม่มั่นใจในการทำกิจกรรมต่างๆ จากภาวะที่ร่างกายเสื่อมถอย เกิดความคิดลังเลซ้ำไปซ้ำมา รู้สึกด้อยค่าจากภาวะที่ไม่สามารถทำงานได้หรือสูญเสียบทบาทของตนเองจากที่เคยเป็นผู้นำครอบครัวเปลี่ยนมาเป็นผู้พึ่งพิงผู้อื่น(อ่านบทความ:4 วิธีง่ายๆสร้างสุขให้ผู้สูงอายุ) ส่งผลให้ผู้สูงอายุบางท่านชอบพูดคุยกับคนอื่นๆ บางท่านมีลักษณะชอบบ่น เอาแต่ใจตนเอง หรือมีลักษณะเก็บตัวร่วมด้วย

 

ดังนั้นการเตรียมความพร้อมก่อนเป็นผู้สูงวัยจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรเริ่มทำตั้งแต่ตอนนี้ ไม่ว่าจะเป็นการทานอาหารที่ดีมีประโยชน์เพื่อบำรุงและซ่อมแซมร่างกาย การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและทำให้สุขภาพดี การฝึกจิตใจให้ผ่อนคลาย ปล่อยวาง มีความสุขกับสิ่งใกล้ตัว ก็จะเป็นการลดความเจ็บป่วยที่จะมาพร้อมกับช่วงวัยของผู้สูงอายุได้

 

ขอบคุณบทความดีๆจาก สสส. 

อันดับแรก ต้องเข้าใจกันก่อนว่ารถเข็นที่ใช้งานอยู่ทุกวันนี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่:

ประเภทแรก รถเข็น Wheel Chair แบบต้องใช้กำลังคนขับเคลื่อน ซึ่งก็สามารถแบ่งย่อยออกไปได้อีก 2 ประเภท:

  1. Transport wheel chair– รถเข็น Wheel Chair ประเภทนี้จำเป็นต้องอาศัยคนช่วยเข็นเท่านั้น คนนั่งไม่สามารถเข็นเองได้ นิยมใช้งานกันในโรงพยาบาลเพื่อเคลื่อนย้ายคนไข้จากสถานที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง รถเข็นลักษณะนี้ จะมีล้อหลังขนาดเล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ประมาณ 8-14นิ้ว ผู้นั่งจะไม่สามารถเอื้อมมือไปขยับล้อเพื่อเคลื่อนไหวรถเข็นด้วยตัวเองได้ ข้อดีคือน้ำหนักเบา ราคาค่อนข้างถูก
  2. Manually propelled wheel chair– รถเข็น Wheel Chair ประเภทนี้ผู้ใช้งานสามารถที่จะขยับรถเข็นเคลื่อนที่เองได้โดยจะต้องใช้แขนทั้งสองข้างในการช่วยหมุนล้อ ส่วนในกรณีที่ต้องการเบรก ผู้ใช้งานต้องใช้แขนทั้งสองข้างจับที่วงปั่นเพื่อช่วยในการชะลอผ่อนความเร็ว รถเข็นประเภทนี้ จะมีล้อหลังขนาดใหญ่ตั้งแต่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20-24นิ้ว (51-61 ซ.ม.) ข้อดีคือผู้ใช้งานสามารถบังคับควบคุมรถได้ด้วยตนเอง

ประเภทที่สอง รถเข็น Wheel Chair ที่ใช้พลังงานภายนอก หรือ นิยมเรียกกันว่า รถเข็นไฟฟ้า

คือรถเข็นที่ใช้ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ในการขับเคลื่อน โดยลักษณะภายนอกของรถเข็นและการใช้งานจะเหมือนกับแบบที่ใช้กำลังคนในการขับเคลื่อน แต่จะถูกติดตั้งเพิ่มเติมด้วยระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าทำให้ผู้ใช้งานสามารถบังคับทิศทางการเคลื่อนที่ไปในทางที่ต้องการได้ รถเข็นแบบนี้นิยมใช้กับผู้สูงอายุที่มีอาการป่วยหนักไม่สามารถควบคุมการทำงานภายในร่างกายได้ หรือพิการ เป็นอัมพาตจนร่างกายขยับไม่ได้

รถเข็นไฟฟ้าช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ป่วย ผู้สูงอายุได้เป็นอย่างมากโดยเฉพาะผู้ที่ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ไม่สามารถขยับเขยื้อนช่วงล่างของร่างกายได้เลย ผู้ใช้งานสามารถบังคับรถเพื่อหลบหลีกทาง หรือ เขยิบไปในจุดที่สะดวกได้ด้วยตนเองหรือในขณะที่คนเข็นรถไม่อยู่

ข้อแนะนำในการเลือกรถเข็นผู้ป่วย ผู้สูงอายุ:

  1. ควรเลือกแบบที่สามารถพับเก็บได้เพื่อความสะดวกในการพกพาไปในสถานที่ต่างๆ เพื่อความง่ายในการเคลื่อนย้าย
  2. รถเข็นควรมีเบรกและระบบล๊อคล้อเพื่อความปลอดภัย
  3. กรณีเป็นผู้ป่วยหนักจำเป็นต้องใช้รถเข็นในระยะเวลานาน ควรเลือกซื้อแบบที่ทนทาน มีน้ำหนักเบา สามารถเคลื่อนย้ายได้โดยสะดวก หากต้องเดินทางเป็นประจำควรซื้อแบบที่ทำด้วยอลูมิเนียม
  4. รถเข็นที่ดีต้องมีความเหมาะสมกับผู้ใช้งาน ต้องไม่เทอะทะ ความลึกของเบาะนั่งต้องพอดีกับร่างกาย เมื่อนั่งแล้ว สะโพกและข้อเข่าควรงอทำมุมฉาก ควรมีช่องว่างระหว่างขอบที่นั่งกับข้อพับเข่าของผู้ป่วยเล็กน้อย หากที่นั่งลึกเกินไปอาจเกิดการเสียดสีเป็นแผลที่ใต้เข่าหรือผู้ป่วยอาจเลื่อนไหลตัวไปด้านหน้าจนอาจตกจากรถเข็นได้
  5. ต้องมีความปลอดภัยกับผู้ใช้งาน โดยควรคำนึงถึงความสูงของพนักพิงว่าต้องพอดี หากผู้ป่วยมีอาการที่ทรงตัวไม่ดี ควรใช้พนักพิงที่พอเหมาะพอดีกับตัว หากผู้ใช้งานทรงตัวดี ต้องการความคล่องตัวในการเข็นรถด้วยตนเองให้เลือกใช้พนักพิงแบบต่ำ
  6. ที่วางเท้าต้องพอเหมาะในขณะที่ผู้สูงอายุนั่ง ข้อเข่าและข้อเท้าควรงอตั้งฉากกัน ไม่ควรงอหรือเหยียดจนเกินไป หรือหากที่วางเท้าสูงเกินไปอาจส่งผลให้เกิดแรงกดไปที่ก้นมากจนอาจเกิดอันตราย เมื่อใช้ไปนานเข้าอาจทำให้ปวดหลังหรือเกิดแผลกดทับที่ก้นขึ้นมาได้

เครดิตข้อมูลจาก site :       

Phartrillion: https://phartrillion.com/how-to-choose-wheelchair/

ราคาเครื่องมือแพทย์.com:  https://bit.ly/38GGrWs