การดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคพาร์กินสัน
หลังจากที่เราได้ทราบข้อมูลของโรคพาร์กินสันในผู้สูงอายุจากบทความก่อนหน้า (อ่านบทความโรคพาร์กินสัน) ในบทความนี้ เราจะมาพูดต่อเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคพาร์กินสัน เพื่อเป็นแนวทางในการพยาบาลเบื้องต้นให้กับผู้สูงอายุ การดูแลผู้ป่วย ผู้สูงอายุ ที่เป็นโรคพาร์กินสัน: 1. การให้ความรู้เกี่ยวกับการรับประทานอาหาร ผู้ป่วยพาร์กินสันควรได้รับประทานอาหารจำพวกผัก ผลไม้และธัญพืชให้มากเนื่องจากมีสารต้านอนุมูลอิสระ ผัก ผลไม้ยังมีใยอาหารป้องกันอาการท้องผูก ผู้ป่วยบางรายรับประทานสาหร่ายหรือยาระบายชนิดผงที่เพิ่มเนื้ออุจาระ ผู้ป่วยควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว เพื่อป้องกันอาการท้องผูก หลีกเลี่ยงชา กาแฟ อาหารมันๆ โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว เช่น เนื้อแดง นม เนย กะทิ และไอศกรีม (อ่านบทความเพิ่มเติมเรื่อง อาหารที่มีประโยชน์สำหรับผู้สูงอายุ) 2. การให้ความรู้เกี่ยวกับการเคี้ยวและการกลืน เนื่องจากผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสันในระยะท้าย จะมีปัญหาเรื่องการกลืน วิธีที่แนะนำในการช่วยลดปัญหาได้คือ ตักอาหารให้พอดีคำ เคี้ยวให้ละเอียด กลืนให้หมดก่อนที่จะป้อนคำต่อไป ควรจะมีแผ่นกันความร้อนรองเพื่อป้องกันไม่ให้อาหารเย็น ที่สำคัญควรเลือกอาหารที่เคี้ยวสะดวกและย่อยง่าย 3. การให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย การออกกำลังกายมีประโยชน์ต่อผู้สูงอายุที่เป็นพาร์กินสันอย่างมากเพราะจะช่วยทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง การทรงตัวดีขึ้น ข้อมีการเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ป้องกันอาการข้อติด อารมณ์ดีขึ้น วิธีการออกกำลังกายอาจจะใช้การเดิน ว่ายน้ำ ทำสวน การเต้นรำ หรือ ยกน้ำหนัก(weight …