Blendera-MF อาหารทางการแพทย์

อาหารทางการแพทย์ Blendera-MF

อาหารทางการแพทย์ สูตรครบถ้วน สำหรับผู้ป่วย คนไข้ หรือผู้สูงอายุ ที่ต้องการเสริมภาวะโภชนาการให้มีประสิทธิภาพ

Blendera-mf-suppliment

เบลนเดอล่า เอ็ม เอฟ (ฺBlendera-MF) 

Blendera-MF-for-patient

ข้อมูล Blendera-MF

เบลนเดอล่า เอ็ม เอฟ (Blendera-MF) คือ อาหารทางการแพทย์ หรือ ที่เรียกกันว่า Medical Food  เบลนเดอล่า เอ็มเอฟ มีส่วนประกอบของ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน ไขมัน และ แร่ธาตุ ใช้เป็นอาหารเสริมทางโภชนาการให้แก่ ผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุ หรือผุ้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะทุพโภชนาการ

Blendera-MF ปราศจากแลคโตส และควรใช้ตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งคัด

ข้อมูลเพิ่มเติม Blendera-MF

ส่วนผสมของ Blendera-MF:

  • ผสมฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด์ หรือ (เอฟโอเอส)
  • ผสมน้ำมันรำข้าว
  • ผสมมอลโทแดกซ์ทริน
  • ผสมโครเมี่ยม
  • ผสมโปรตีนจากถั่วเหลือง
  • ผสมน้ำมัน เอ็ม ซี ที

วิธีการใช้งาน Blendera-MF:

ผสมผงเบลนเดอร่า-เอ็มเอฟ (BLENDERA-MF) 6 ช้อน (ประมาณ 50 กรัม) ในน้ำอุ่นประมาณ 160-185 มล. คนให้ละลายจะได้ปริมาตร 200-225 มล. และให้พลังงานประมาณ 225 กิโลแคลอรี่ (ไม่ใช่อาหารพลังงานต่ำ) ใช้วันละ 1 ครั้ง หรือใช้เสริมระหว่างมื้ออาหาร

ในการเตรียมที่ความเข้มข้น 1 กิโลแคลอรี่/มล. (ปริมาตรสุทธิ 225 มล.)

มีค่าออสโมลาริตี้ประมาณ 320 mOsm/L

การเก็บรักษา Blendera-MF:

  • ปิดภาชนะบรรจุให้แน่นทุกครั้งหลังใช้งาน
  • ควรเก็บไว้ในที่แห้ง เย็น และอุณหภูมิถ่ายเทได้ดี
  • เมื่อผสมน้ำแล้วควรเก็บไว้ในตู้เย็นและใช้ให้หมดภายในภายใน 24 ชั่วโมง
  • ควรใช้ให้หมดภายใน 1 เดือน หลังจากเปิดภาชนะบรรจุแล้ว เบลนเดอร่า-เอ็มเอฟ อาจเกิดการลอยตัวและตกตะกอนภายหลังการชงละลายได้ ซึ่งลักษณะดังกล่าวจะหายไปเมื่อเขย่าหรือคนเบาๆ ทั้งนี้ลักษณะดังกล่าวมิได้เป็นปัญหาด้านคุณภาพแต่อย่างใด

สารอาหารใน Blendera-MF ประกอบด้วย:

1.โปรตีน 16% ของพลังงานทั้งหมดใน 1000  กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย

 – โซเดียม เคซิเนท 3.26 กรัม

 – โปรตีนจากถั่วเหลือง(Soy Protein Isolate) 37.47 กรัม

มีส่วนประกอบของโปรตีนทั้งจากพืชและสัตว์ มีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายครบถ้วน ช่วยช่อมแซมส่วนที่สึกหรอ เป็นส่วนประกอบของเซลล์และเอนไซม์ในร่างกาย

2.คาร์โบไฮเดรต 54% ของพลังงานทั้งหมดใน 1000 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย

 – มอลโตรเด็กซ์ตริน 91.69 กรัม

 – น้ำตาลทราย 45.74 กรัม

 – ฟรุคโตโอลิโกแซคคาไรด์ 4.95 กรัม

 เป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกาย เพื่อให้ร่างกายนำไปใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ

3.ไขมัน 30% ของพลังงานทั้งหมดใน 1000 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย

 – น้ำมันรำข้าว 30.69 กรัม

 – MCT Oil 2.66 กรัม

เป็นแหล่งของพลังงานของร่างกาย และทำหน้าที่อื่น เช่น ลำเลียงวิตามินที่ละลายไขมัน เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างเซลล์มีกรดไขมันจำเป็นครบถ้วน

 

4.วิตามินและเกลือแร่ ใน 1000 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย 5.81 กรัม

เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเอนไซม์บางตัวและช่วยควบคุมการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ

5.ฟรุคโตโอลิโกแซคคาไรด์ เป็นใยอาหารละลายน้ำได้ มีส่วนช่วยในการขับถ่ายให้เป็นปกติ

Blendera-MF เหมาะสมกับใคร:

1.ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการ

2.ทดแทนอาหารปั่น

3.ผู้ที่ต้องการเสริมโภชนาการ

4.ผู้ป่วย และ ผู้สูงอายุที่ต้องการเสริมโภชนาการ

ข้อดีของ Blendera-MF เทียบกับอาหารปั่น:

1.ให้สารอาหารครบถ้วนตามหลักโภชนาการ การกระจายพลังงาน ตามมาตรฐาน Thai RDI ดังนี้

             – โปรตีน 15-20%

             – ไขมัน 30-35%

             – คาร์โบไฮเดรต 50-55%

2.ลดการสูญเสียสารอาหาร เนื่องจากกระบวนการผลิตเนื่องจาก BLENDERA-MF สามารถเตรียมได้ด้วยน้ำอุณหภูมิห้องปกติ หรือน้ำอุ่น

3.ลดปัญหาการบูดเสีย เมื่อต้องเตรียมเป็นเวลานาน เช่น สำหรับมื้อดึก

4.ลดปัญหาการอุดตันในสาย เพราะเมื่อผสมแล้วได้สารละลายเนื้อเนียนละเอียด

5.ขั้นตอนในการเตรียมสะดวกไม่ยุ่งยาก เพียงแค่ละลายน้ำเท่านั้น

6.การเก็บรักษาไม่ยุ่งยาก

7.ค่าความเข้มข้น 350 mosm/l ที่สัดส่วน 1กิโลแคลอรี่/1มิลลิลิตร ใกล้เคียงกับร่างกาย

วิธีการผสม Blendera-MF:

1.แบบทานปรกติ ผสม 6 ช้อน(50 กรัม) กับน้ำเปล่า(น้ำอุ่น) ประมาณ 160-185 มิลลิลิตร คนให้ละลายจนได้ปริมาตร 200-225 มิลลิลิตร ให้พลังงาน 225 กิโลแคลอรี่ ใช้วันละ 1 ครั้ง หรือใช้เสริมระหว่างมื้ออาหาร

ข้อควรทราบสำหรับอาหารทางการแพทย์ Blendera-MF:

– ปิดภาชนะบรรจุให้แน่นหลังเปิดใช้ทุกครั้ง เก็บในที่แห้งที่อุณหภูมิห้อง ควรใช้ให้หมดภายใน 1 เดือนหลังจากเปิดภาชนะแล้ว

– เมื่อผสมน้ำแล้ว หากใช้ไม่หมดควรเก็บในตู้เย็น ซึ่งเก็บได้ไม่เกิน 24 ชม.

– Blendera-MF อาจเกิดการลอยตัวและตกตะกอนภายหลังการชงได้ลักษณะดังกล่าวจะหายไปเมื่อเขย่าหรือคนเบาๆ

ทั้งนี้ลักษณะดังกล่าวมิได้เป็นปัญหาด้านคุณภาพแต่อย่างใด

รูปแบบผลิตภัณฑ์ และ อายุการเก็บรักษา Blendera-MF:

– ผลิตภัณฑ์ เบลนเดอล่า เอ็ม เอฟ อยู่ในรูปแบบผง บรรจุภัณฑ์แบบถุง ขนาด 2.5 กก.

 – ผลิตภัณฑ์มีอายุ 2 ปี

ขอบคุณข้อมูลที่เป็นประโยชน์จาก: Thai Otsuka Nutrition Club

ลิงค์อ้างอิง: https://www.thaiotsukanutrition.club/product-details?product_id=2 

อันดับแรก ต้องเข้าใจกันก่อนว่ารถเข็นที่ใช้งานอยู่ทุกวันนี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่:

ประเภทแรก รถเข็น Wheel Chair แบบต้องใช้กำลังคนขับเคลื่อน ซึ่งก็สามารถแบ่งย่อยออกไปได้อีก 2 ประเภท:

  1. Transport wheel chair– รถเข็น Wheel Chair ประเภทนี้จำเป็นต้องอาศัยคนช่วยเข็นเท่านั้น คนนั่งไม่สามารถเข็นเองได้ นิยมใช้งานกันในโรงพยาบาลเพื่อเคลื่อนย้ายคนไข้จากสถานที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง รถเข็นลักษณะนี้ จะมีล้อหลังขนาดเล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ประมาณ 8-14นิ้ว ผู้นั่งจะไม่สามารถเอื้อมมือไปขยับล้อเพื่อเคลื่อนไหวรถเข็นด้วยตัวเองได้ ข้อดีคือน้ำหนักเบา ราคาค่อนข้างถูก
  2. Manually propelled wheel chair– รถเข็น Wheel Chair ประเภทนี้ผู้ใช้งานสามารถที่จะขยับรถเข็นเคลื่อนที่เองได้โดยจะต้องใช้แขนทั้งสองข้างในการช่วยหมุนล้อ ส่วนในกรณีที่ต้องการเบรก ผู้ใช้งานต้องใช้แขนทั้งสองข้างจับที่วงปั่นเพื่อช่วยในการชะลอผ่อนความเร็ว รถเข็นประเภทนี้ จะมีล้อหลังขนาดใหญ่ตั้งแต่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20-24นิ้ว (51-61 ซ.ม.) ข้อดีคือผู้ใช้งานสามารถบังคับควบคุมรถได้ด้วยตนเอง

ประเภทที่สอง รถเข็น Wheel Chair ที่ใช้พลังงานภายนอก หรือ นิยมเรียกกันว่า รถเข็นไฟฟ้า

คือรถเข็นที่ใช้ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ในการขับเคลื่อน โดยลักษณะภายนอกของรถเข็นและการใช้งานจะเหมือนกับแบบที่ใช้กำลังคนในการขับเคลื่อน แต่จะถูกติดตั้งเพิ่มเติมด้วยระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าทำให้ผู้ใช้งานสามารถบังคับทิศทางการเคลื่อนที่ไปในทางที่ต้องการได้ รถเข็นแบบนี้นิยมใช้กับผู้สูงอายุที่มีอาการป่วยหนักไม่สามารถควบคุมการทำงานภายในร่างกายได้ หรือพิการ เป็นอัมพาตจนร่างกายขยับไม่ได้

รถเข็นไฟฟ้าช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ป่วย ผู้สูงอายุได้เป็นอย่างมากโดยเฉพาะผู้ที่ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ไม่สามารถขยับเขยื้อนช่วงล่างของร่างกายได้เลย ผู้ใช้งานสามารถบังคับรถเพื่อหลบหลีกทาง หรือ เขยิบไปในจุดที่สะดวกได้ด้วยตนเองหรือในขณะที่คนเข็นรถไม่อยู่

ข้อแนะนำในการเลือกรถเข็นผู้ป่วย ผู้สูงอายุ:

  1. ควรเลือกแบบที่สามารถพับเก็บได้เพื่อความสะดวกในการพกพาไปในสถานที่ต่างๆ เพื่อความง่ายในการเคลื่อนย้าย
  2. รถเข็นควรมีเบรกและระบบล๊อคล้อเพื่อความปลอดภัย
  3. กรณีเป็นผู้ป่วยหนักจำเป็นต้องใช้รถเข็นในระยะเวลานาน ควรเลือกซื้อแบบที่ทนทาน มีน้ำหนักเบา สามารถเคลื่อนย้ายได้โดยสะดวก หากต้องเดินทางเป็นประจำควรซื้อแบบที่ทำด้วยอลูมิเนียม
  4. รถเข็นที่ดีต้องมีความเหมาะสมกับผู้ใช้งาน ต้องไม่เทอะทะ ความลึกของเบาะนั่งต้องพอดีกับร่างกาย เมื่อนั่งแล้ว สะโพกและข้อเข่าควรงอทำมุมฉาก ควรมีช่องว่างระหว่างขอบที่นั่งกับข้อพับเข่าของผู้ป่วยเล็กน้อย หากที่นั่งลึกเกินไปอาจเกิดการเสียดสีเป็นแผลที่ใต้เข่าหรือผู้ป่วยอาจเลื่อนไหลตัวไปด้านหน้าจนอาจตกจากรถเข็นได้
  5. ต้องมีความปลอดภัยกับผู้ใช้งาน โดยควรคำนึงถึงความสูงของพนักพิงว่าต้องพอดี หากผู้ป่วยมีอาการที่ทรงตัวไม่ดี ควรใช้พนักพิงที่พอเหมาะพอดีกับตัว หากผู้ใช้งานทรงตัวดี ต้องการความคล่องตัวในการเข็นรถด้วยตนเองให้เลือกใช้พนักพิงแบบต่ำ
  6. ที่วางเท้าต้องพอเหมาะในขณะที่ผู้สูงอายุนั่ง ข้อเข่าและข้อเท้าควรงอตั้งฉากกัน ไม่ควรงอหรือเหยียดจนเกินไป หรือหากที่วางเท้าสูงเกินไปอาจส่งผลให้เกิดแรงกดไปที่ก้นมากจนอาจเกิดอันตราย เมื่อใช้ไปนานเข้าอาจทำให้ปวดหลังหรือเกิดแผลกดทับที่ก้นขึ้นมาได้

เครดิตข้อมูลจาก site :       

Phartrillion: https://phartrillion.com/how-to-choose-wheelchair/

ราคาเครื่องมือแพทย์.com:  https://bit.ly/38GGrWs