5 ของกินที่ควรหลีกเลี่ยงเพื่อช่วยผู้สูงอายุชะลอความแก่
ความแก่ หรือริ้วรอยต่างๆบนร่างกายเป็นสิ่งที่ผู้คนทั้งหลายไม่พึงปรารถนา โดยเฉพาะผู้สูงวัยที่อาจจะมีปัญหาด้านร่างกายที่เสื่อมถอยลง ริ้วรอยที่เพิ่มมากขึ้น ความสามารถในการฟื้นฟูต่างๆลดลง จะดีกว่าไหมถ้าเรามาเริ่มดูแล ป้องกันตัวเองตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อที่จะชะลอความแก่โดยการเลือกประเภทของการกินที่เหมาะสม นอกจากจะช่วยเรื่องความยืดหยุ่นของผิวพรรณแล้ว ยังจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพโดยรวมอีกด้วย ในบทความนี้ขอแนะนำ 5 ประเภทของอาหารที่ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยงเพื่อช่วยชะลอความแก่ Credit photo created by pressfoto – www.freepik.com 1. เครื่องดื่มประเภท ชา กาแฟ และน้ำอัดลม ชา กาแฟ และ น้ำอัดลมเป็นเครื่องดื่มชนิดแรกๆที่ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยงถ้าต้องการจะชะลอความแก่ เพราะ ชา กาแฟ 1 แก้ว หรือประมาณ 16 ออนซ์ จะมีน้ำตาลอยู่ 12 ช้อนชา ในส่วนน้ำอัดลมมีปริมาณน้ำตาลอยู่ประมาณ 7 ช้อนชา และน้ำผลไม้สำเร็จรูปมีปริมาณน้ำตาลอยู่ที่ 6 ช้อนชา ซึ่งโดยหลักการคือ ถ้าน้ำตาลเข้าสู่ร่างกายในปริมาณที่มากเกินไปจะมีการไปจับกับโปรตีน ทำให้เกิดสารเร่งแก่ หรือที่เรียกอีกอย่างว่าปฏิกิริยา “ไกลเคชั่น (Glycation)” และอาจทำให้เกิดการสร้างอนุมูลอิสระที่มากขึ้น คอลลาเจนขาดความยืดหยุ่น ทำให้เกิดริ้วรอยที่เพิ่มขึ้นได้ […]
อาการบาดเจ็บและการดูแลผู้สูงอายุตกเตียง
อุบัติเหตุจากการตกเตียงเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เกิดขึ้นได้บ่อยสำหรับผู้สูงอายุ การตกเตียงฟังดูเหมือนจะเป็นเรื่องไกลตัวแต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่ การตกเตียงเป็นอุบัติการณ์ที่ควรระวังเพราะถ้าผู้สูงอายุเกิดพลาดตกเตียงขึ้นมา จะส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บได้ตั้งแต่การบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ สามารถเกิดภาวะแทรกซ้อน กระดูกหัก กระดูกทรุด ไม่สามารถทรงตัวหรือลุกขึ้นยืนและเดินได้ หรือถ้ารุนแรงมากอาจถึงขั้นอันตรายจนถึงแก่ชีวิต credit photo created by freepix – www.freepik.com สิ่งสำคัญเบื้องต้นคือต้องมีการคอยเฝ้าระวังผู้สูงอายุจากลูกหลานหรือผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด ในบางกรณีปัญหาการตกเตียงในผู้สูงอายุก็มาจากการขาดความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันปัญหาอย่างถูกวิธี อาการบาดเจ็บจากการตกเตียงในผู้สูงอายุมีอะไรบ้าง การตกเตียงในผู้สูงอายุมักมีสาเหตุมาหลักมาจากการลืมยกราวกั้นเตียงขึ้น หรือบางครั้งก็เกิดจากตัวที่นอนทีนุ่มเกินไปทำให้ขณะพลิกตัวเพื่อจะลุกขึ้นยืนทำได้ลำบาก เกิดการพลาดเสียการทรงตัวและล้มได้ ทั้งยังมีสาเหตุมาจากความเสื่อม การถดถอยของสภาพร่างกาย หรือเกิดจากโรคภัยไข้เจ็บ เป็นผลให้การทำงานของอวัยวะต่างๆลดลง ความจริงแล้วการลื่นล้มจากเตียงสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย แต่ถ้าเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ การฟื้นตัวของร่างกายจะทำได้ช้ากว่า อาการบาดเจ็บจากการตกเตียงที่พบบ่อยในผู้สูงอายุได้แก่ การหักของกระดูกสะโพก ซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้มีอาการบาดเจ็บและเกิดความพิการ รวมทั้งมีความเสี่ยงต่อชีวิตค่อนข้างสูง เนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะมีภาวะกระดูกบาง กระดูกพรุน และกระดูกทรุด เมื่อตกเตียงลงมาหรือล้มกระดูกจึงเกิดการแตกหักได้ง่าย อาการที่สงสัยว่ามีกระดูกสะโพกหัก คือ หลังจากตกเตียง/หกล้ม ผู้สูงอายุจะมีอาการปวดบริเวณสะโพกที่หัก ลุกเดินไม่ได้ หรือลงน้ำหนักขาที่สะโพกหักไม่ได้ ถ้าลูกหลานสงสัยว่ากระดูกสะโพกหักควรให้ผู้สูงอายุนั่งหรือนอนพักในท่าที่สบาย พยายามอย่าเคลื่อนย้ายผู้สูงอายุ หรือถ้าจำเป็นให้โทรเรียกรถพยาบาลมารับไปตรวจโดยเร็ว แนวทางในการปฐมพยาบาลและดูแลผู้สูงอายุตกเตียงเบื้องต้นได้แก่: ถ้ามีศีรษะกระแทกหรือไม่รู้สึกตัว ให้นอนท่าเดิม ไม่ขยับและเรียกรถพยาบาล หรือ สายด่วน 1669 […]
การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ตอนที่ 2
ภาวะสมองเสื่อมเป็นความผิดปรกติที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่ง ณ.ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาให้หายขาดได้ นอกจากนั้นผู้สูงอายุที่มีภาวะนี้มีแนวโน้มที่จะมีอาการรุนแรงขึ้นเรื่อยๆตามการเกิดของโรค ดังนั้น Zee Doctor จะมาแนะนำวิธีการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมกันต่อในตอนที่ 2 (อ่านเพิ่มเติม:การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมตอนที่ 1) ความสำคัญของการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมคือการช่วยเหลือให้สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้เป็นอย่างดี ระดับความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยสมองเสื่อมขึ้นอยู่กับความรุนแรงของความเสื่อมและความสามารถในการใช้แขน ขา การช่วยเหลือผู้ป่วยในการทำกิจวัตรประจำวันควรทำดังนี้ เนื้อหายาวไป เลือกอ่าน การรับประทานอาหาร ปัญหาที่พบบ่อยคือ จำไม่ได้ว่ากินอาหารไปแล้ว ไม่รู้จักวิธีใช้ช้อน ส้อม บางคนอาจมีปัญหาในการเคี้ยวหรือการกลืนอาหาร แนวทางการจัดการด้านโภชนาการ ควรดูแลโดย: ตรวจสุขภาพเหงือกและฟัน ความสามารถในการเคี้ยวและการกลืนเป็นระยะๆ คงบรรยากาศการกินอาหารอย่างเดิมๆ อาทิ รับประทานเวลาเดิม การจัดตำแหน่งอาหารที่เดิม ถ้วย ชาม ตำแหน่งของโต๊ะและเก้าอี้ คอยเตือนล่วงหน้าเมื่อใกล้ถึงเวลาอาหาร จัดอาหารที่คุ้นเคย ให้ผู้ป่วยมีโอกาสเลือกทานอาหารที่ตัวเองชอบตามหลักโภชนาการ ควรเป็นอาหารที่เคี้ยวง่าย ควรระวังการสำลัก บางครั้งจำเป็นต้องทำการบดอาหารหรือทำอาหารเหลวโดยเน้นคุณค่าและปริมาณอาหารแต่ละมื้อ คอยเฝ้าดูผู้ป่วยระหว่างรับประทานอาหารเพื่อช่วยเหลือเมื่อจำเป็น และให้แน่ใจว่าผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารได้เพียงพอครบถ้วนตามหลักโภชนาการ ไม่ต้องเคร่งครัดเรื่องมารยาทบนโต๊ะอาหารมากนัก ทำบรรยากาศให้สบายๆ ทำให้เกิดความสุขและผ่อนคลายในการรับประทาน อาหารควรมีอุณหภูมิที่พอเหมาะ ไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป ควรระวังอาหารที่ร้อนจัดเพราะผู้ป่วยอาจรับรู้ไม่ได้เกี่ยวกับความร้อนของอาหาร เตรียมปริมาณอาหารให้เหมาะสมแก่การรับประทาน อาหารบนโต๊ะไม่ควรมีหลายชนิดเพราะอาจทำให้สับสนได้ ไม่ควรวางอาหารให้ผู้สูงอายุสมองเสื่อมเห็นเพราะอาจหยิบรับประทานเองโดยไม่สามารถยับยั้งได้ และในรายที่ไม่สามารถเคี้ยวได้อาจทำให้ติดคอและสำลัก credit photo created […]
การดูแลผู้สูงอายุในช่วง Covid-19 ตอนที่ 2
สถานการณ์ Covid-19 ณ.ตอนนี้ มีแนวโน้มที่จะกลับมาระบาดในประเทศไทยอีกครั้ง เราต้องดูแลตัวเองให้ดี โดยหลักการง่ายๆ 3 ข้อที่เราทำกันมาโดยตลอดคือ ใส่หน้ากากอนามัย ล้างมืออย่างสม่ำเสมอ และเว้นระยะห่าง หลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่ๆมีคนแออัด หรือ ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงการเดินทางในช่วงเวลานี้ ที่สำคัญเราต้องคอยดูแลคนที่เรารักโดยเฉพาะพ่อ แม่ หรือผู้สูงอายุภายในบ้านเพราะกลุ่มคนเหล่านี้มีความอ่อนไหวต่อโรค Covid-19 อย่างมาก สามารถที่จะติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนธรรมดาทั่วไป ฉะนั้นในบทความนี้เราขอนำคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพผู้สูงอายุมาอธิบายแนวทางในการดูแลผู้สูงอายุในช่วง Covid-19 Photo created by pikisuperstar – www.freepik.com ยาวไปเลือกอ่าน โดยปรกติผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสภาพร่างกายและจิตใจสูง ด้วยความชราภาพ สุขภาพก็อาจจะอ่อนแอลง มีความอ่อนไหวของจิตใจต่อสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพบ้างไม่มากก็น้อย ยิ่งโดยเฉพาะช่วงนี้ซึ่งเป็นช่วงการแพร่กระจาย Covid-19 อาจจะต้องการการดูแลจากลูกหลานมากขึ้นเป็นพิเศษ อาการที่ควรระวังสำหรับผู้สูงอายุในช่วง Covid-19 อาการที่ควรต้องระวังของคนทั่วไปอาจแตกต่างจากผู้สูงอายุ ปรกติในช่วงการแพร่กระจายของ Covid-19 คนธรรมดาทั่วไปอาจมีอาการมีไข้ ไอ เจ็บคอ หายใจเร็ว การหอบ ลิ้นและจมูกไม่สามารถสัมผัสถึงรสและกลิ่นได้ แต่ในผู้สูงอายุด้วยความทีมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านกายภาพ ร่างกาย จึงต้องควรระวังในเรื่อง การเบื่ออาหาร กินได้น้อย ซึมเศร้าหรือสับสนมากขึ้น ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลง […]
การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ตอนที่ 1
ภาวะสมองเสื่อมเป็นกลุ่มอาการความผิดปรกติของสมองที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุซึ่งเกิดจากความเสื่อมจากการทำงานของสมอง โดยแสดงความผิดปรกติทางด้านความคิด ความจำ การตัดสินใจ การใช้ภาษา และ การเคลื่อนไหว ซึ่งจะรบกวนการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ (อ่านความหมายของสังคมผู้สูงอายุ) ร่วมกับมีการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรม บุคลิกภาพ และอารมณ์ สารบัญเนื้อหา ยาวไปเลือกอ่าน ภาวะสมองเสื่อมคืออะไร ภาวะสมองเสื่อมแบ่งตามสาเหตุหลักๆ ได้ดังนี้: 1). อัลไซเมอร์ ดีเมนเทีย (Alzheimer’s dementia) หรือ AD เป็นภาวะสมองเสื่อมที่พบบ่อยมากที่สุด ลักษณะเฉพาะของสมองเสื่อมชนิดนี้คือจะมีเนื้อสมองฝ่อเล็กลง อาการเด่นของสมองเสื่อมแบบ AD นี้คือความจำเสื่อมที่ค่อยๆเป็นมากขึ้นทีละน้อยๆ และเป็นอย่างช้าๆ 2). แวสคูล่า ดีเมนเทีย(Vascular ‘s dementia) หรือ VD เป็นภาวะสมองเสื่อมที่เกิดจากมีการขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง ผู้ป่วย จะมีอาการของภาวะสมองเสื่อมร่วมกับหลักฐานที่บ่งบอกว่ามีโรคหลอดเลือดสมอง การเกิดโรคมักเกิดขึ้นภายใน 3 เดือนหลังเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ความรุนแรงของภาวะสมองเสื่อมชนิดนี้จะขึ้นกับบริเวณและขนาดของเนื้อสมองที่ขาดเลือดไปเลี้ยง 3). Dementia with Lewy bodies(DLB) สมองเสื่อมชนิดนี้มักพบบ่อยว่าเกิดร่วมกับ AD ผู้ป่วย/ผู้สูงอายุ มักมีอาการประสาทหลอนโดยเฉพาะการเห็นภาพหลอน มีการเคลื่อนไหวเชื่องช้าทำให้หกล้มบ่อย ระดับสติปัญญาและความจำจะเริ่มถดถอยลงตามลำดับ […]
การดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านการได้ยิน
ปัญหาด้านการได้ยินเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากความบกพร่องของอวัยวะที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยินคือหู หากเป็นความผิดปรกติของหูชั้นนอกและหูชั้นกลางจะมีผลต่อการนำเสียง ถ้าหากมีความผิดปรกติของหูชั้นในจะไปรบกวนโครงสร้างประสาทการรับรู้ แต่ถ้ามีปัญหาความผิดปรกติของหูทั้ง 3 ชั้น จะทำให้การทำกิจกรรม รวมทั้งการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุเป็นปัญหาอย่างมาก ลูก หลาน หรือ ผู้ดูแล ควรคอยสังเกตอาการผิดปรกติเหล่านั้นที่อาจเกิดขึ้น สารบัญเนื้อหา ยาวไปเลือกอ่าน สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของปัญหาด้านการได้ยินในผู้สูงอายุ การได้ยินที่ปรกติจะต้องประกอบด้วยการทำงานที่ปรกติของอวัยวะที่ทำหน้าที่ในการรับเสียงคือหู และสมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยิน เมื่ออายุมากขึ้นการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย ความชรา และความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ทำให้หูชั้นนอก ได้แก่ ใบหู และ รูหู หูชั้นกลาง ในส่วนของเยื่อแก้วหู และกระดูกส่วนต่างๆ และหูชั้นใน มีผลกระทบต่อการได้ยินในผู้สูงอายุ การเปลี่ยนแปลงของหูชั้นนอก เมื่ออายุมากขึ้น รูหูชั้นนอกจะมีการเปลี่ยนแปลงซึ่งอาจมีผลต่อการสร้างและการเคลื่อนไหวของขี้หู โดยพบว่าผิวหนังในรูหูบางลงและแห้งมีการสร้างขี้หูมากขึ้น ขี้หูแห้งขึ้น ขนในรูหูจะแข็งและหยาบขึ้นโดยเฉพาะในเพศชาย นอกจากนั้นกระดูกอ่อนในหูมีความยืดหยุ่นลดลง ส่งผลให้รูหูมีความคดเคี้ยวผิดปรกติมากขึ้นทำให้ยากในการขับขี้หูออก ผู้สูงอายุบางรายมีขี้หูน้อย ในขณะที่บางรายมีขี้หูมากอาจสะสมและอุดตันรูหูได้ Credit picture created by drobotdean – www.freepik.com การเปลี่ยนแปลงของหูชั้นกลาง ในผู้สูงอายุเยื่อแก้วหูจะมีเนื้อเยื่อคอลลาเจนมาแทนที่เนื้อเยื่ออิลาสติคทำให้เยื่อหูบางลง มีการแข็งตัวเพิ่มขึ้นยืดหยุ่นได้น้อยลง นอกจากนั้นการทำงานที่เสื่อมลงของกล้ามเนื้อและพังผืดรอบๆ เยื่อแก้วหูมีผลทำให้การดีดกลับของเยื่อแก้วหูลดลง เมื่อเสียงผ่านเยื่อแก้วหูจะเข้าสู่กระดูกสามชิ้นที่เชื่อมต่อกันโดยแต่ละชิ้นจะมีการเคลื่อนไหวอย่างเป็นอิสระ […]
5 วิธีป้องกันอันตรายจากฝุ่น PM 2.5 ในผู้สูงอายุ
ช่วงนี้เป็นที่ทราบกันดีว่าฝุ่น PM 2.5 ได้กลับมาสร้างปัญหาด้านสุขภาพของผู้คนในประเทศไทยโดยเฉพาะเขตกรุงเทพมหานครฯ ปริมณฑล และตามหัวเมืองใหญ่ ช่วงปลายหน้าฝนต้นหนาวที่บางวันมีสภาพอากาศปิดทำให้ฝุ่นเกิดการสะสมบนท้องฟ้าไม่สามารถระบายออกไปได้ จึงเกิดปริมาณฝุ่น PM 2.5 ที่เกินมาตรฐาน และยิ่งฝนตกน้อยลง ทำให้ฝุ่น PM 2.5 กระจายตัวเพิ่มขึ้น ช่วงเช้าๆพอเราออกไปนอกบ้านมองไปบนท้องฟ้าอาจเข้าใจผิดนึกว่าเป็นหมอก แต่ทำไมมันหายใจติดขัดและแสบตา พอมานึกได้อีกที ก็เข้าใจแล้วว่าจริงๆมันคือฝุ่น PM 2.5 ตัวร้ายที่ทำลายสุขภาพเด็ก ผู้ใหญ่ รวมทั้งผู้สูงอายุ วันนี้ทาง Zee Doctor จะมาอธิบายความหมายของฝุ่น PM 2.5 ว่ามันคืออะไร รวมทั้งเราจะป้องกันอันตรายจากฝุ่น PM 2.5 นี้ในผู้สูงอายุได้อย่างไร ฝุ่น PM 2.5 คืออะไร? PM 2.5 คือละอองฝุ่นขนาดเล็กมาก เล็กกว่า 2.5 ไมครอน (เส้นผ่าศูนย์กลางของฝุ่นน้อยกว่า 2.5 ไมครอน) หรือมีขนาดประมาณ 1 ใน 25 ของเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผม ฝุ่น […]
การดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคพาร์กินสัน
หลังจากที่เราได้ทราบข้อมูลของโรคพาร์กินสันในผู้สูงอายุจากบทความก่อนหน้า (อ่านบทความโรคพาร์กินสัน) ในบทความนี้ เราจะมาพูดต่อเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคพาร์กินสัน เพื่อเป็นแนวทางในการพยาบาลเบื้องต้นให้กับผู้สูงอายุ การดูแลผู้ป่วย ผู้สูงอายุ ที่เป็นโรคพาร์กินสัน: 1. การให้ความรู้เกี่ยวกับการรับประทานอาหาร ผู้ป่วยพาร์กินสันควรได้รับประทานอาหารจำพวกผัก ผลไม้และธัญพืชให้มากเนื่องจากมีสารต้านอนุมูลอิสระ ผัก ผลไม้ยังมีใยอาหารป้องกันอาการท้องผูก ผู้ป่วยบางรายรับประทานสาหร่ายหรือยาระบายชนิดผงที่เพิ่มเนื้ออุจาระ ผู้ป่วยควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว เพื่อป้องกันอาการท้องผูก หลีกเลี่ยงชา กาแฟ อาหารมันๆ โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว เช่น เนื้อแดง นม เนย กะทิ และไอศกรีม (อ่านบทความเพิ่มเติมเรื่อง อาหารที่มีประโยชน์สำหรับผู้สูงอายุ) 2. การให้ความรู้เกี่ยวกับการเคี้ยวและการกลืน เนื่องจากผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสันในระยะท้าย จะมีปัญหาเรื่องการกลืน วิธีที่แนะนำในการช่วยลดปัญหาได้คือ ตักอาหารให้พอดีคำ เคี้ยวให้ละเอียด กลืนให้หมดก่อนที่จะป้อนคำต่อไป ควรจะมีแผ่นกันความร้อนรองเพื่อป้องกันไม่ให้อาหารเย็น ที่สำคัญควรเลือกอาหารที่เคี้ยวสะดวกและย่อยง่าย 3. การให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย การออกกำลังกายมีประโยชน์ต่อผู้สูงอายุที่เป็นพาร์กินสันอย่างมากเพราะจะช่วยทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง การทรงตัวดีขึ้น ข้อมีการเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ป้องกันอาการข้อติด อารมณ์ดีขึ้น วิธีการออกกำลังกายอาจจะใช้การเดิน ว่ายน้ำ ทำสวน การเต้นรำ หรือ ยกน้ำหนัก(weight […]
โรคพาร์กินสันในผู้สูงอายุ
ปัจจุบันคนไทยมีอายุเฉลี่ยที่ยืนยาวขึ้นกว่าเดิม เป็นสาเหตุให้พบเจอโรคต่างๆที่หลากหลายได้มากขึ้น โดยโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ อาทิเช่น โรคทางระบบประสาท มีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นในประเทศไทย หนึ่งในโรคที่ต้องให้ความใส่ใจ คือโรคพาร์กินสัน วันนี้ทาง Zee Doctor จะมาเรียบเรียงและอธิบายให้เข้าใจถึงโรคพาร์กินสันในเบื้องต้นแบบง่ายๆกัน โรคพาร์กินสัน เป็นโรคที่พบมากในกลุ่มผู้สูงอายุ โรคนี้จะทำให้ผู้ป่วยส่วนมากซึ่งเป็นผู้สูงอายุมีอาการทางระบบประสาทที่เด่นชัด 3 ประการได้แก่ อาการสั่น อาการเกร็ง และ อาการเคลื่อนไหวช้า โรคพาร์กินสัน เป็นกลุ่มอาการที่มีความผิดปรกติของระบบประสาทส่วนกลางที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวและการพูด พาร์กินสันนิซึ่ม เป็นกลุ่มอาการและลักษะอาการที่ปรากฏจากการตรวจร่างกาย คืออาการเคลื่อนไหวน้อยและช้า อาการสั่น และ อาการแข็งเกร็งและปัญหาการเดิน หมายเหตุ: อาการดังกล่าวข้างต้นนี้อาจเกิดจากโรคอื่นๆนอกเหนือจากพาร์กินสันได้เช่นกัน อาทิ มาจากยาบางชนิด หรือ โรคหลอดเลือดสมอง สารบัญเนื้อหา 1. สาเหตุของโรคพาร์กินสัน โรคพาร์กินสันอาจเกิดได้จากสาเหตุต่างๆดังนี้: ความชราภาพของสมอง ทำให้เซลล์สมองที่สร้างสารโดปามีนมีจำนวนลดลง ในผู้ป่วยกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่พบบ่อยทีสุด และจัดว่าเป็นกลุ่มที่ไม่มีสาเหตุจำเพาะแน่นอน มักพบในผู้ที่มีอายุเกิน 65 ปีขึ้นไป และพบได้บ่อยพอๆกันทั้งเพศชายและเพศหญิง อัตราการเกิดโรคพาร์กินสันจะเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น โดยในผู้ที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป มีการเกิดสูงกว่าผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี ถึง […]
5 อาหารว่างที่เหมาะกับผู้สูงอายุ 2020
“You are what you eat” เป็นประโยคที่เราท่านคุ้นเคยกันดี เรารับประทานอะไรเข้าไป สุขภาพร่างกายเราก็จะเป็นแบบนั้น สำหรับผู้สูงอายุก็เช่นกัน ถ้าผู้สูงอายุรับประทานอาหารที่ดี มีประโยชน์ สารอาหารหลักครบทั้ง 5 หมู่ เราก็มั่นใจเบื้องต้นได้ว่าสุขภาพของผู้สูงอายุจะมีแนวโน้มที่ดีในอนาคต นอกเหนือไปจากอาหารมื้อหลักที่ผู้สูงอายุควรจะรับประทานให้ครบทั้ง 5 หมู่แล้ว อาหารมื้อรอง (อาหารว่าง) ก็สำคัญไม่น้อยเช่นกัน วันนี้ Zee Doctor จะขอมาแนะนำอาหารว่าง 5 อย่างที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ photo created by jcomp – www.freepik.com 1. ฟักทองนึ่ง อาหารว่างอย่างแรกที่มีประโยชน์สำหรับผู้สูงอายุ ทั้งยังเป็นที่นิยมอย่างมากคือ “ฟักทองนึ่ง” ฟังดูอาจจะรู้สึกธรรมดา เฉยๆ แต่เชื่อเถอะว่าฟักทองนั้นประกอบไปด้วยสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก ประโยชน์มหาศาล ผู้สูงอายุที่รับประทานฟักทองจะได้รับสารเบต้าแคโรทีนที่ช่วยบำรุงสายตา มีสารต้านอนุมูลอิสระ บำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื่น ทั้งยังลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง ฟักทองที่มีสีเหลืองออกส้ม มีไขมันน้อย น้ำตาลน้อย กากใยอาหารสูง พลังงานต่ำ จึงเป็นอาหารว่างที่เหมาะกับผู้สูงอายุ ฟักทองยังช่วยเรื่องของระบบขับถ่าย ทำให้ขับถ่ายได้ง่ายเนื่องจากมีกากใยสูง ช่วยป้องกันโรคที่เกี่ยวกับลำไส้ […]