โรคกระดูกพรุน

Osteoporosis

โรคกระดูกพรุนโดย: รศ.นพ.อาศิส อุนนะนันทน์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัด คนที่ร่างกายปกติ แต่พอนานวันเข้าความสูงของร่างกายกลับลดลงได้เอง ลักษณะแบบนี้มีโอกาสเกิดโรคกระดูกพรุนได้จริงหรือไม่ มาหาคำตอบกับเรื่องนี้กัน โรคกระดูกพรุน เกิดจากการลดลงของปริมาณกระดูกในร่างกาย ร่วมกับมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในของกระดูก เป็นผลให้ความแข็งแรงของกระดูกโดยรวมลดลง และเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกหักได้หลายตำแหน่ง เช่น กระดูกข้อสะโพก กระดูกข้อมือ หรือกระดูกสันหลัง และผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกพรุนมักจะไม่มีอาการใด ๆ โดยทั่วไปในผู้สูงอายุที่มีความสูงลดลง อาจจะต้องวินิจฉัยหาสาเหตุ เพราะว่าอาจจะมีความสูงลดลงจากภาวะกระดูกสันหลังหักยุบจากโรคกระดูกพรุนได้ หรือในผู้ป่วยบางรายที่มีภาวะกระดูกสันหลังเสื่อม และทำให้กระดูกสันหลังโก่ง โค้งก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ความสูงของผู้ป่วยลดลงได้เช่นกัน ซึ่งเราควรจะต้องสงสัยภาวะกระดูกสันหลังหักยุบจากโรคกระดูกพรุน หากผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุมีความสูงลดลง 2 เซนติเมตรต่อปี หรือส่วนสูงลดลง 4 เซนติเมตรเมื่อเทียบกับความสูงในช่วงวัยหนุ่มสาว หากมีลักษณะแบบนี้ควรต้องสงสัยและมาพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยต่อไป ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน ตัวอย่างเช่น ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ในผู้หญิงที่มีภาวะหมดประจําเดือนก่อนวัยอันควร เช่น ถูกตัดรังไข่ทั้ง 2 ข้าง ก่อนอายุ 45 ปี ในกรณีของผู้ชาย เราใช้เกณฑ์อายุประมาณ 70 ปี นอกจากนี้ การกินยาบางชนิดก็เป็นสาเหตุของโรคกระดูกพรุนได้ เช่น ยาสเตียรอยด์ ยาเคมีบำบัดรักษาและได้รับการฉายรังสีรักษา […]