ข้อควรระวังเบื้องต้นสำหรับการใช้ยาในผู้สูงอายุ

 คนเราเมื่อมีอายุที่มากขึ้นร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลง เกิดภาวะความเสื่อมทั้งในด้านโครงสร้างและการทำหน้าที่ของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องปรกติ นอกจากนั้นผู้สูงอายุส่วยใหญ่ยังคงมี่โรคประจำตัวที่เรื้องรังทำให้ต้องใช้ยารักษาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจะเห็นได้ว่าผู้สูงอายุเป็นกลุ่มผู้บริโภคยากลุ่มใหญ่ที่สุดกลุ่มหนึ่ง

 ด้วยเหตุผลข้างต้นที่ผู้สูงอายุมีการใช้ยาอย่างมาก จึงอาจส่งผลกระทบต่อกระบวนการดูดซึม และการกระจายตัวของยา รวมทั้งการเผาผลาญและการขับถ่ายยาออกจากร่างกาย ดังนั้นเราจึงควรดูแลผู้สูงอายุอย่างเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของร่างกายตามกระบวนการชราภาพที่เกิดขึ้น

Medicine-elderly-use

credit pics by freepik – www.freepik.com

ปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาในผู้สูงอายุ

  การใช้ยาร่วมกันหลายชนิด และต้องใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานในผู้สูงอายุ ทำให้มีโอกาสเกิดปัญหาหลายอย่างได้แก่ การทำปฏิกิริยาต่อกันระหว่ายากับยา ยากับอาหาร หรือ ยากับโรค และการไม่ใช้ยาตามแผนการรักษา ทั้งหมดนี้อาจทำให้เกิดปัญหาด้านการใช้ยากับผู้สูงอายุได้ง่าย

1. การทำปฏิกิริยาต่อกันระหว่างยากับยา

pills-for-pain

credit pics by freepik – www.freepik.com

 เกิดจากความแตกต่างระหว่างฤทธิ์ของยาแต่ละชนิด ซึ่งอาจเป็นความแตกต่างทางด้านการดูดซึมยา การกระจายตัวของยา หรือการเปลี่ยนแปลงยาในร่างกาย การขับถ่ายออกจากร่างกาย หรือเกิดจากความแตกต่างระหว่างการออกฤทธิ์ของยาต่อตัวรับยาในร่างกาย อาทิเช่น ปฏิกิริยาระหว่างยาต้านการแข็งตัวของเลือดคือ warfarin ถ้าใช้ร่วมกับยาแอสไพริน อาจเพิ่มฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด ทำให้เกิดภาวะเลือดออกง่าย หรือถ้าผู้ป่วยได้รับยาเพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจ คือยา ไดจอกซิน และได้รับยาขับปัสสาวะที่มีผลทำให้โปตัสเซียมในเลือดต่ำจะเกิดพิษจากยาไดจอกซิน เนื่องจากการขับไดจอกซินจากไตลดลง

2. ผลกระทบระหว่างยากับโรค

medical-composition-with-pills_elderly

credit pics by Racool_Studio – www.freepik.com

 ยาบางชนิดมีฤทธิ์ข้างเคียงที่ทำให้อาการบางอย่างของโรคเลวลง ซึ่งส่งผลกระทบค่อนข้างมากในผู้สูงอายุเนื่องจากทำให้อุบัติการณ์เกิดโรคเพิ่มขึ้น และแยกความแตกต่างระหว่างอาการระหว่างอาการที่เกิดจากโรคออกจากอาการที่เกิดจากยาได้ยาก เช่น ยาในกลุ่ม anticholinergic สามารถทำให้เกิดอาการข้างเคียงซึ่งแยกได้ยากจากอาการของโรค ตัวอย่างเช่น อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้สูงอายุที่มีต่อมลูกหมากโต ระดับความรู้สึกตัวที่ลดลงจากเดิมในผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมหรือ parkinsonism หรือการมองเห็นบกพร่องในผู้ป่วยต้อหินชนิดมุมปิด เป็นต้น

3. ผลข้างเคียงจากการใช้ยา

 อันตรายที่เกิดจากฤทธิ์ข้างเคียงหรืออาการที่ไม่พึงประสงค์ของยา ในผู้สูงอายุพบได้ 2-3 เท่าของคนที่มีอายุน้อยกว่า เนื่องจากมีการใช้ยาร่วมกันหลายชนิดและต้องใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานทำให้มีโอกาสเกิดผลกระทบระหว่างยากับยา หรือ ยากับโรคได้ง่าย

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรักษาได้แก่ ปัจจัยด้านผู้ป่วย ปัจจัยด้านการรักษา ปัจจัยด้านสภาพอาการ แยกรายละเอียดย่อยได้ดังนี้:

Use-Medicine-for-elderly

credit pics by freepix – www.freepik.com

  • ปัจจัยด้านผู้ป่วย ได้แก่ อายุที่เพิ่มมากขึ้นทำให้อวัยวะทำงานได้ลดลง เช่นสายตาเสื่อมลงทำให้การมองเห็นของสายตาลดลง จึงมองไม่ชัด รวมทั้งการรับรู้ และการจดจำที่ลดลง เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาด้านการใช้ยาในผู้ป่วยสูงอายุได้
  • ปัจจัยด้านความรู้ ทัศนคติ และ ความเชื่อ ความเข้าใจ รวมทั้งความคาดหวังของผู้ป่วย ในผู้ป่วยบางคนมีความเชื่อว่าเมื่ออาการปรกติ ไม่มีอาการใดๆ เกิดขึ้นจึงไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ยา
  • ปัจจัยด้านการรักษา ผลข้างเคียงจากการใช้ยา ความยุ่งยากสลับซับซ้อนในการใช้ยา การใช้ยาหลายขนาน ความถี่ในการใช้ยา ช่วงเวลาในการศึกษา ถ้าสิ่งเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น ความไม่ร่วมมือในการใช้ยาก็จะมากขึ้นตามไปด้วย
  • ปัจจัยด้านสภาพอาการ สภาพการเจ็บป่วยในบางระยะ การมีโรคร่วมหลายโรค ระดับความรุนแรงของโรค ระดับความพิการของร่างกายและจิตใจ อาจส่งผลต่อการร่วมมือในการใช้ยาสำหรับผู้สูงอายุได้

ขอบคุณแหล่งที่มาข้อมูลเรื่อง การใช้ยาในผู้สูงอายุ: การพยาบาลผู้สูงอายุโดย ผศ.ดร.ทศพร คำผลศิริ

อันดับแรก ต้องเข้าใจกันก่อนว่ารถเข็นที่ใช้งานอยู่ทุกวันนี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่:

ประเภทแรก รถเข็น Wheel Chair แบบต้องใช้กำลังคนขับเคลื่อน ซึ่งก็สามารถแบ่งย่อยออกไปได้อีก 2 ประเภท:

  1. Transport wheel chair– รถเข็น Wheel Chair ประเภทนี้จำเป็นต้องอาศัยคนช่วยเข็นเท่านั้น คนนั่งไม่สามารถเข็นเองได้ นิยมใช้งานกันในโรงพยาบาลเพื่อเคลื่อนย้ายคนไข้จากสถานที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง รถเข็นลักษณะนี้ จะมีล้อหลังขนาดเล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ประมาณ 8-14นิ้ว ผู้นั่งจะไม่สามารถเอื้อมมือไปขยับล้อเพื่อเคลื่อนไหวรถเข็นด้วยตัวเองได้ ข้อดีคือน้ำหนักเบา ราคาค่อนข้างถูก
  2. Manually propelled wheel chair– รถเข็น Wheel Chair ประเภทนี้ผู้ใช้งานสามารถที่จะขยับรถเข็นเคลื่อนที่เองได้โดยจะต้องใช้แขนทั้งสองข้างในการช่วยหมุนล้อ ส่วนในกรณีที่ต้องการเบรก ผู้ใช้งานต้องใช้แขนทั้งสองข้างจับที่วงปั่นเพื่อช่วยในการชะลอผ่อนความเร็ว รถเข็นประเภทนี้ จะมีล้อหลังขนาดใหญ่ตั้งแต่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20-24นิ้ว (51-61 ซ.ม.) ข้อดีคือผู้ใช้งานสามารถบังคับควบคุมรถได้ด้วยตนเอง

ประเภทที่สอง รถเข็น Wheel Chair ที่ใช้พลังงานภายนอก หรือ นิยมเรียกกันว่า รถเข็นไฟฟ้า

คือรถเข็นที่ใช้ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ในการขับเคลื่อน โดยลักษณะภายนอกของรถเข็นและการใช้งานจะเหมือนกับแบบที่ใช้กำลังคนในการขับเคลื่อน แต่จะถูกติดตั้งเพิ่มเติมด้วยระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าทำให้ผู้ใช้งานสามารถบังคับทิศทางการเคลื่อนที่ไปในทางที่ต้องการได้ รถเข็นแบบนี้นิยมใช้กับผู้สูงอายุที่มีอาการป่วยหนักไม่สามารถควบคุมการทำงานภายในร่างกายได้ หรือพิการ เป็นอัมพาตจนร่างกายขยับไม่ได้

รถเข็นไฟฟ้าช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ป่วย ผู้สูงอายุได้เป็นอย่างมากโดยเฉพาะผู้ที่ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ไม่สามารถขยับเขยื้อนช่วงล่างของร่างกายได้เลย ผู้ใช้งานสามารถบังคับรถเพื่อหลบหลีกทาง หรือ เขยิบไปในจุดที่สะดวกได้ด้วยตนเองหรือในขณะที่คนเข็นรถไม่อยู่

ข้อแนะนำในการเลือกรถเข็นผู้ป่วย ผู้สูงอายุ:

  1. ควรเลือกแบบที่สามารถพับเก็บได้เพื่อความสะดวกในการพกพาไปในสถานที่ต่างๆ เพื่อความง่ายในการเคลื่อนย้าย
  2. รถเข็นควรมีเบรกและระบบล๊อคล้อเพื่อความปลอดภัย
  3. กรณีเป็นผู้ป่วยหนักจำเป็นต้องใช้รถเข็นในระยะเวลานาน ควรเลือกซื้อแบบที่ทนทาน มีน้ำหนักเบา สามารถเคลื่อนย้ายได้โดยสะดวก หากต้องเดินทางเป็นประจำควรซื้อแบบที่ทำด้วยอลูมิเนียม
  4. รถเข็นที่ดีต้องมีความเหมาะสมกับผู้ใช้งาน ต้องไม่เทอะทะ ความลึกของเบาะนั่งต้องพอดีกับร่างกาย เมื่อนั่งแล้ว สะโพกและข้อเข่าควรงอทำมุมฉาก ควรมีช่องว่างระหว่างขอบที่นั่งกับข้อพับเข่าของผู้ป่วยเล็กน้อย หากที่นั่งลึกเกินไปอาจเกิดการเสียดสีเป็นแผลที่ใต้เข่าหรือผู้ป่วยอาจเลื่อนไหลตัวไปด้านหน้าจนอาจตกจากรถเข็นได้
  5. ต้องมีความปลอดภัยกับผู้ใช้งาน โดยควรคำนึงถึงความสูงของพนักพิงว่าต้องพอดี หากผู้ป่วยมีอาการที่ทรงตัวไม่ดี ควรใช้พนักพิงที่พอเหมาะพอดีกับตัว หากผู้ใช้งานทรงตัวดี ต้องการความคล่องตัวในการเข็นรถด้วยตนเองให้เลือกใช้พนักพิงแบบต่ำ
  6. ที่วางเท้าต้องพอเหมาะในขณะที่ผู้สูงอายุนั่ง ข้อเข่าและข้อเท้าควรงอตั้งฉากกัน ไม่ควรงอหรือเหยียดจนเกินไป หรือหากที่วางเท้าสูงเกินไปอาจส่งผลให้เกิดแรงกดไปที่ก้นมากจนอาจเกิดอันตราย เมื่อใช้ไปนานเข้าอาจทำให้ปวดหลังหรือเกิดแผลกดทับที่ก้นขึ้นมาได้

เครดิตข้อมูลจาก site :       

Phartrillion: https://phartrillion.com/how-to-choose-wheelchair/

ราคาเครื่องมือแพทย์.com:  https://bit.ly/38GGrWs