เลือกรถเข็นผู้ป่วย Wheel Chair อย่างไรให้เหมาะสม

รถเข็นผู้ป่วย รถเข็นผู้สูงอายุ หรือที่เราเรียกกันว่า Wheel Chair เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ผู้สูงอายุให้สามารถเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ได้ง่ายขึ้น เพิ่มความปลอดภัย ป้องกันการหกล้มอันจะเป็นสาเหตุหลักของอาการบาดเจ็บในผู้ป่วย หรือ ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเดินได้ ปัจจุบัน รถเข็นผู้ป่วย Wheel Chair เป็นที่นิยมใช้กันตามบ้านเรือนอย่างแพร่หลายมากขึ้น

รถเข็นผู้ป่วย หรือ รถเข็นผู้สูงอายุมีลักษณะทั่วไปคล้ายเก้าอี้แต่มีอุปกรณ์เสริมเพื่ออำนวยความสะดวกต่างๆ พัฒนาออกแบบขึ้นมาให้ทันสมัยเพื่อการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ประกอบกับเทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้น จึงมีการพัฒนารถเข็น wheel chair ที่มีคุณภาพดี คงทน แข็งแรงเหมาะสมกับการใช้งานมากยิ่งขึ้น

วันนี้ทาง Zee Doctor จะขอนำท่านมาทำความรู้จักกับรถเข็นประเภทต่างๆ ที่มีอยู่ในท้องตลาด คุณลักษณะเด่นของรถเข็นแต่ละประเภท รวมทั้งการใช้งานเพื่อช่วยให้ท่านได้มีแนวทางการเลือกรถเข็นได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการของผู้สูงอายุและผู้ป่วยอย่างแท้จริง เรามาเริ่มกันเลย!

wheel-chair

credit ภาพ: Freepix.com

อันดับแรก ต้องเข้าใจกันก่อนว่ารถเข็นที่ใช้งานอยู่ทุกวันนี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่:

ประเภทแรก รถเข็น Wheel Chair แบบต้องใช้กำลังคนขับเคลื่อน ซึ่งก็สามารถแบ่งย่อยออกไปได้อีก 2 ประเภท:

  1. Transport wheel chair– รถเข็น Wheel Chair ประเภทนี้จำเป็นต้องอาศัยคนช่วยเข็นเท่านั้น คนนั่งไม่สามารถเข็นเองได้ นิยมใช้งานกันในโรงพยาบาลเพื่อเคลื่อนย้ายคนไข้จากสถานที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง รถเข็นลักษณะนี้ จะมีล้อหลังขนาดเล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ประมาณ 8-14นิ้ว ผู้นั่งจะไม่สามารถเอื้อมมือไปขยับล้อเพื่อเคลื่อนไหวรถเข็นด้วยตัวเองได้ ข้อดีคือน้ำหนักเบา ราคาค่อนข้างถูก
  2. Manually propelled wheel chair– รถเข็น Wheel Chair ประเภทนี้ผู้ใช้งานสามารถที่จะขยับรถเข็นเคลื่อนที่เองได้โดยจะต้องใช้แขนทั้งสองข้างในการช่วยหมุนล้อ ส่วนในกรณีที่ต้องการเบรก ผู้ใช้งานต้องใช้แขนทั้งสองข้างจับที่วงปั่นเพื่อช่วยในการชะลอผ่อนความเร็ว รถเข็นประเภทนี้ จะมีล้อหลังขนาดใหญ่ตั้งแต่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20-24นิ้ว (51-61 ซ.ม.) ข้อดีคือผู้ใช้งานสามารถบังคับควบคุมรถได้ด้วยตนเอง
elderly-wheel-chair

credit ภาพ: Freepix.com

ประเภทที่สอง รถเข็น Wheel Chair ที่ใช้พลังงานภายนอก หรือ นิยมเรียกกันว่า รถเข็นไฟฟ้า

คือรถเข็นที่ใช้ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ในการขับเคลื่อน โดยลักษณะภายนอกของรถเข็นและการใช้งานจะเหมือนกับแบบที่ใช้กำลังคนในการขับเคลื่อน แต่จะถูกติดตั้งเพิ่มเติมด้วยระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าทำให้ผู้ใช้งานสามารถบังคับทิศทางการเคลื่อนที่ไปในทางที่ต้องการได้ รถเข็นแบบนี้นิยมใช้กับผู้สูงอายุที่มีอาการป่วยหนักไม่สามารถควบคุมการทำงานภายในร่างกายได้ หรือพิการ เป็นอัมพาตจนร่างกายขยับไม่ได้

รถเข็นไฟฟ้าช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ป่วย ผู้สูงอายุได้เป็นอย่างมากโดยเฉพาะผู้ที่ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ไม่สามารถขยับเขยื้อนช่วงล่างของร่างกายได้เลย ผู้ใช้งานสามารถบังคับรถเพื่อหลบหลีกทาง หรือ เขยิบไปในจุดที่สะดวกได้ด้วยตนเองหรือในขณะที่คนเข็นรถไม่อยู่

patient-wheel-chair

credit ภาพ: phartrillion.com

ส่วนประกอบของรถเข็นผู้ป่วย Wheel Chair:

  1. โครงสร้างของตัวรถเข็น ส่วนมากทำจากเหล็กพ่นสีหรืออลูมิเนียม ในส่วนที่นั่งผู้ป่วยมักใช้ผ้าหรือหนังใยสังเคราะห์ มีที่เท้าแขนสำหรับวางแขนให้ผู้ป่วย มีที่พักเท้าซึ่งควรพับหรือถอดออกได้ พนักพิงศีรษะอาจมีหรือไม่มีเป็นบางรุ่น มีคันบังคับท้ายสำหรับผู้ดูแล
  2. ล้อรถเข็น
    ยางตัน ทนทานแต่ไม่นุ่มนวล ไม่เหมาะกับการใช้งานนอกสถานที่ ยางสูบลม อาจรั่วซึมลมอาจออกได้ง่ายแต่นุ่มนวล เหมาะกับการนำมาใช้งานนอกสถานที่
    ล้อหน้า ทำหน้าที่รับน้ำหนัก มีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่าล้อหลัง มีกรงล้อนอกสำหรับใช้มือหมุนให้ล้อเคลื่อนที่
    ล้อหลัง ทำหน้าที่บังคับทิศทาง มีขนาดเล็กกว่าล้อหน้า หมุนได้รอบแกน
elderly-wheel-chair 2

credit ภาพ: phartrillion.com

ข้อแนะนำในการเลือกรถเข็นผู้ป่วย ผู้สูงอายุ:

  1. ควรเลือกแบบที่สามารถพับเก็บได้เพื่อความสะดวกในการพกพาไปในสถานที่ต่างๆ เพื่อความง่ายในการเคลื่อนย้าย
  2. รถเข็นควรมีเบรกและระบบล๊อคล้อเพื่อความปลอดภัย
  3. กรณีเป็นผู้ป่วยหนักจำเป็นต้องใช้รถเข็นในระยะเวลานาน ควรเลือกซื้อแบบที่ทนทาน มีน้ำหนักเบา สามารถเคลื่อนย้ายได้โดยสะดวก หากต้องเดินทางเป็นประจำควรซื้อแบบที่ทำด้วยอลูมิเนียม
  4. รถเข็นที่ดีต้องมีความเหมาะสมกับผู้ใช้งาน ต้องไม่เทอะทะ ความลึกของเบาะนั่งต้องพอดีกับร่างกาย เมื่อนั่งแล้ว สะโพกและข้อเข่าควรงอทำมุมฉาก ควรมีช่องว่างระหว่างขอบที่นั่งกับข้อพับเข่าของผู้ป่วยเล็กน้อย หากที่นั่งลึกเกินไปอาจเกิดการเสียดสีเป็นแผลที่ใต้เข่าหรือผู้ป่วยอาจเลื่อนไหลตัวไปด้านหน้าจนอาจตกจากรถเข็นได้
  5. ต้องมีความปลอดภัยกับผู้ใช้งาน โดยควรคำนึงถึงความสูงของพนักพิงว่าต้องพอดี หากผู้ป่วยมีอาการที่ทรงตัวไม่ดี ควรใช้พนักพิงที่พอเหมาะพอดีกับตัว หากผู้ใช้งานทรงตัวดี ต้องการความคล่องตัวในการเข็นรถด้วยตนเองให้เลือกใช้พนักพิงแบบต่ำ
  6. ที่วางเท้าต้องพอเหมาะในขณะที่ผู้สูงอายุนั่ง ข้อเข่าและข้อเท้าควรงอตั้งฉากกัน ไม่ควรงอหรือเหยียดจนเกินไป หรือหากที่วางเท้าสูงเกินไปอาจส่งผลให้เกิดแรงกดไปที่ก้นมากจนอาจเกิดอันตราย เมื่อใช้ไปนานเข้าอาจทำให้ปวดหลังหรือเกิดแผลกดทับที่ก้นขึ้นมาได้

ขอบคุณ เครดิตข้อมูลจาก site :       

Phartrillion: https://phartrillion.com/how-to-choose-wheelchair/

ราคาเครื่องมือแพทย์.com:  https://bit.ly/38GGrWs

อันดับแรก ต้องเข้าใจกันก่อนว่ารถเข็นที่ใช้งานอยู่ทุกวันนี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่:

ประเภทแรก รถเข็น Wheel Chair แบบต้องใช้กำลังคนขับเคลื่อน ซึ่งก็สามารถแบ่งย่อยออกไปได้อีก 2 ประเภท:

  1. Transport wheel chair– รถเข็น Wheel Chair ประเภทนี้จำเป็นต้องอาศัยคนช่วยเข็นเท่านั้น คนนั่งไม่สามารถเข็นเองได้ นิยมใช้งานกันในโรงพยาบาลเพื่อเคลื่อนย้ายคนไข้จากสถานที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง รถเข็นลักษณะนี้ จะมีล้อหลังขนาดเล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ประมาณ 8-14นิ้ว ผู้นั่งจะไม่สามารถเอื้อมมือไปขยับล้อเพื่อเคลื่อนไหวรถเข็นด้วยตัวเองได้ ข้อดีคือน้ำหนักเบา ราคาค่อนข้างถูก
  2. Manually propelled wheel chair– รถเข็น Wheel Chair ประเภทนี้ผู้ใช้งานสามารถที่จะขยับรถเข็นเคลื่อนที่เองได้โดยจะต้องใช้แขนทั้งสองข้างในการช่วยหมุนล้อ ส่วนในกรณีที่ต้องการเบรก ผู้ใช้งานต้องใช้แขนทั้งสองข้างจับที่วงปั่นเพื่อช่วยในการชะลอผ่อนความเร็ว รถเข็นประเภทนี้ จะมีล้อหลังขนาดใหญ่ตั้งแต่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20-24นิ้ว (51-61 ซ.ม.) ข้อดีคือผู้ใช้งานสามารถบังคับควบคุมรถได้ด้วยตนเอง

ประเภทที่สอง รถเข็น Wheel Chair ที่ใช้พลังงานภายนอก หรือ นิยมเรียกกันว่า รถเข็นไฟฟ้า

คือรถเข็นที่ใช้ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ในการขับเคลื่อน โดยลักษณะภายนอกของรถเข็นและการใช้งานจะเหมือนกับแบบที่ใช้กำลังคนในการขับเคลื่อน แต่จะถูกติดตั้งเพิ่มเติมด้วยระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าทำให้ผู้ใช้งานสามารถบังคับทิศทางการเคลื่อนที่ไปในทางที่ต้องการได้ รถเข็นแบบนี้นิยมใช้กับผู้สูงอายุที่มีอาการป่วยหนักไม่สามารถควบคุมการทำงานภายในร่างกายได้ หรือพิการ เป็นอัมพาตจนร่างกายขยับไม่ได้

รถเข็นไฟฟ้าช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ป่วย ผู้สูงอายุได้เป็นอย่างมากโดยเฉพาะผู้ที่ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ไม่สามารถขยับเขยื้อนช่วงล่างของร่างกายได้เลย ผู้ใช้งานสามารถบังคับรถเพื่อหลบหลีกทาง หรือ เขยิบไปในจุดที่สะดวกได้ด้วยตนเองหรือในขณะที่คนเข็นรถไม่อยู่

ข้อแนะนำในการเลือกรถเข็นผู้ป่วย ผู้สูงอายุ:

  1. ควรเลือกแบบที่สามารถพับเก็บได้เพื่อความสะดวกในการพกพาไปในสถานที่ต่างๆ เพื่อความง่ายในการเคลื่อนย้าย
  2. รถเข็นควรมีเบรกและระบบล๊อคล้อเพื่อความปลอดภัย
  3. กรณีเป็นผู้ป่วยหนักจำเป็นต้องใช้รถเข็นในระยะเวลานาน ควรเลือกซื้อแบบที่ทนทาน มีน้ำหนักเบา สามารถเคลื่อนย้ายได้โดยสะดวก หากต้องเดินทางเป็นประจำควรซื้อแบบที่ทำด้วยอลูมิเนียม
  4. รถเข็นที่ดีต้องมีความเหมาะสมกับผู้ใช้งาน ต้องไม่เทอะทะ ความลึกของเบาะนั่งต้องพอดีกับร่างกาย เมื่อนั่งแล้ว สะโพกและข้อเข่าควรงอทำมุมฉาก ควรมีช่องว่างระหว่างขอบที่นั่งกับข้อพับเข่าของผู้ป่วยเล็กน้อย หากที่นั่งลึกเกินไปอาจเกิดการเสียดสีเป็นแผลที่ใต้เข่าหรือผู้ป่วยอาจเลื่อนไหลตัวไปด้านหน้าจนอาจตกจากรถเข็นได้
  5. ต้องมีความปลอดภัยกับผู้ใช้งาน โดยควรคำนึงถึงความสูงของพนักพิงว่าต้องพอดี หากผู้ป่วยมีอาการที่ทรงตัวไม่ดี ควรใช้พนักพิงที่พอเหมาะพอดีกับตัว หากผู้ใช้งานทรงตัวดี ต้องการความคล่องตัวในการเข็นรถด้วยตนเองให้เลือกใช้พนักพิงแบบต่ำ
  6. ที่วางเท้าต้องพอเหมาะในขณะที่ผู้สูงอายุนั่ง ข้อเข่าและข้อเท้าควรงอตั้งฉากกัน ไม่ควรงอหรือเหยียดจนเกินไป หรือหากที่วางเท้าสูงเกินไปอาจส่งผลให้เกิดแรงกดไปที่ก้นมากจนอาจเกิดอันตราย เมื่อใช้ไปนานเข้าอาจทำให้ปวดหลังหรือเกิดแผลกดทับที่ก้นขึ้นมาได้

เครดิตข้อมูลจาก site :       

Phartrillion: https://phartrillion.com/how-to-choose-wheelchair/

ราคาเครื่องมือแพทย์.com:  https://bit.ly/38GGrWs