อาการบาดเจ็บและการดูแลผู้สูงอายุตกเตียง

 อุบัติเหตุจากการตกเตียงเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เกิดขึ้นได้บ่อยสำหรับผู้สูงอายุ การตกเตียงฟังดูเหมือนจะเป็นเรื่องไกลตัวแต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่ การตกเตียงเป็นอุบัติการณ์ที่ควรระวังเพราะถ้าผู้สูงอายุเกิดพลาดตกเตียงขึ้นมา จะส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บได้ตั้งแต่การบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ สามารถเกิดภาวะแทรกซ้อน กระดูกหัก กระดูกทรุด ไม่สามารถทรงตัวหรือลุกขึ้นยืนและเดินได้ หรือถ้ารุนแรงมากอาจถึงขั้นอันตรายจนถึงแก่ชีวิต

elderly-fall-out-of-bed

credit photo created by freepix – www.freepik.com

 สิ่งสำคัญเบื้องต้นคือต้องมีการคอยเฝ้าระวังผู้สูงอายุจากลูกหลานหรือผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด ในบางกรณีปัญหาการตกเตียงในผู้สูงอายุก็มาจากการขาดความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันปัญหาอย่างถูกวิธี

อาการบาดเจ็บจากการตกเตียงในผู้สูงอายุมีอะไรบ้าง

 การตกเตียงในผู้สูงอายุมักมีสาเหตุมาหลักมาจากการลืมยกราวกั้นเตียงขึ้น หรือบางครั้งก็เกิดจากตัวที่นอนทีนุ่มเกินไปทำให้ขณะพลิกตัวเพื่อจะลุกขึ้นยืนทำได้ลำบาก เกิดการพลาดเสียการทรงตัวและล้มได้ ทั้งยังมีสาเหตุมาจากความเสื่อม การถดถอยของสภาพร่างกาย หรือเกิดจากโรคภัยไข้เจ็บ เป็นผลให้การทำงานของอวัยวะต่างๆลดลง ความจริงแล้วการลื่นล้มจากเตียงสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย แต่ถ้าเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ การฟื้นตัวของร่างกายจะทำได้ช้ากว่า

 อาการบาดเจ็บจากการตกเตียงที่พบบ่อยในผู้สูงอายุได้แก่ การหักของกระดูกสะโพก ซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้มีอาการบาดเจ็บและเกิดความพิการ รวมทั้งมีความเสี่ยงต่อชีวิตค่อนข้างสูง เนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะมีภาวะกระดูกบาง กระดูกพรุน และกระดูกทรุด เมื่อตกเตียงลงมาหรือล้มกระดูกจึงเกิดการแตกหักได้ง่าย

 อาการที่สงสัยว่ามีกระดูกสะโพกหัก คือ หลังจากตกเตียง/หกล้ม ผู้สูงอายุจะมีอาการปวดบริเวณสะโพกที่หัก ลุกเดินไม่ได้ หรือลงน้ำหนักขาที่สะโพกหักไม่ได้ ถ้าลูกหลานสงสัยว่ากระดูกสะโพกหักควรให้ผู้สูงอายุนั่งหรือนอนพักในท่าที่สบาย พยายามอย่าเคลื่อนย้ายผู้สูงอายุ หรือถ้าจำเป็นให้โทรเรียกรถพยาบาลมารับไปตรวจโดยเร็ว

แนวทางในการปฐมพยาบาลและดูแลผู้สูงอายุตกเตียงเบื้องต้นได้แก่:

  • ถ้ามีศีรษะกระแทกหรือไม่รู้สึกตัว ให้นอนท่าเดิม ไม่ขยับและเรียกรถพยาบาล หรือ สายด่วน 1669
  • ถ้าผู้สูงอายุ/ผู้ป่วย รู้สึกตัวดีและมีอาการปวดต้นคอร่วมด้วยให้นอนราบไม่หนุนหมอน พยายามขยับตัวผู้ป่วยให้น้อยที่สุด
  • ถ้าผู้สูงอายุมีอาการปวดสะโพกหรือต้นขา จัดให้ผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยนอนในท่าที่ปวดน้อยที่สุดแล้วเรียกรถพยาบาล ไม่ควรเคลื่อนย้ายเองเพราะอาจทำให้มีการเคลื่อนของกระดูก
  • ในกรณีที่มีแผลเลือดออก ให้ญาติใช้ผ้าสะอาดกดไว้นาน 10-15 นาที และเรียกรถพยาบาลหรือสายด่วนฉุกเฉิน 1669 โดยด่วน

แหล่งที่มาข้อมูลเรื่อง อาการบาดเจ็บและดูแลผู้สูงอายุหกล้มและตกเตียง

ข้อมูลอ้างอิง:
สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ ( Inno Thai): https://bit.ly/3aYBt97
ข้อมูลสุขภาพโรงพยาบาลกรุงเทพ: https://bit.ly/3d9ganZ

อันดับแรก ต้องเข้าใจกันก่อนว่ารถเข็นที่ใช้งานอยู่ทุกวันนี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่:

ประเภทแรก รถเข็น Wheel Chair แบบต้องใช้กำลังคนขับเคลื่อน ซึ่งก็สามารถแบ่งย่อยออกไปได้อีก 2 ประเภท:

  1. Transport wheel chair– รถเข็น Wheel Chair ประเภทนี้จำเป็นต้องอาศัยคนช่วยเข็นเท่านั้น คนนั่งไม่สามารถเข็นเองได้ นิยมใช้งานกันในโรงพยาบาลเพื่อเคลื่อนย้ายคนไข้จากสถานที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง รถเข็นลักษณะนี้ จะมีล้อหลังขนาดเล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ประมาณ 8-14นิ้ว ผู้นั่งจะไม่สามารถเอื้อมมือไปขยับล้อเพื่อเคลื่อนไหวรถเข็นด้วยตัวเองได้ ข้อดีคือน้ำหนักเบา ราคาค่อนข้างถูก
  2. Manually propelled wheel chair– รถเข็น Wheel Chair ประเภทนี้ผู้ใช้งานสามารถที่จะขยับรถเข็นเคลื่อนที่เองได้โดยจะต้องใช้แขนทั้งสองข้างในการช่วยหมุนล้อ ส่วนในกรณีที่ต้องการเบรก ผู้ใช้งานต้องใช้แขนทั้งสองข้างจับที่วงปั่นเพื่อช่วยในการชะลอผ่อนความเร็ว รถเข็นประเภทนี้ จะมีล้อหลังขนาดใหญ่ตั้งแต่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20-24นิ้ว (51-61 ซ.ม.) ข้อดีคือผู้ใช้งานสามารถบังคับควบคุมรถได้ด้วยตนเอง

ประเภทที่สอง รถเข็น Wheel Chair ที่ใช้พลังงานภายนอก หรือ นิยมเรียกกันว่า รถเข็นไฟฟ้า

คือรถเข็นที่ใช้ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ในการขับเคลื่อน โดยลักษณะภายนอกของรถเข็นและการใช้งานจะเหมือนกับแบบที่ใช้กำลังคนในการขับเคลื่อน แต่จะถูกติดตั้งเพิ่มเติมด้วยระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าทำให้ผู้ใช้งานสามารถบังคับทิศทางการเคลื่อนที่ไปในทางที่ต้องการได้ รถเข็นแบบนี้นิยมใช้กับผู้สูงอายุที่มีอาการป่วยหนักไม่สามารถควบคุมการทำงานภายในร่างกายได้ หรือพิการ เป็นอัมพาตจนร่างกายขยับไม่ได้

รถเข็นไฟฟ้าช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ป่วย ผู้สูงอายุได้เป็นอย่างมากโดยเฉพาะผู้ที่ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ไม่สามารถขยับเขยื้อนช่วงล่างของร่างกายได้เลย ผู้ใช้งานสามารถบังคับรถเพื่อหลบหลีกทาง หรือ เขยิบไปในจุดที่สะดวกได้ด้วยตนเองหรือในขณะที่คนเข็นรถไม่อยู่

ข้อแนะนำในการเลือกรถเข็นผู้ป่วย ผู้สูงอายุ:

  1. ควรเลือกแบบที่สามารถพับเก็บได้เพื่อความสะดวกในการพกพาไปในสถานที่ต่างๆ เพื่อความง่ายในการเคลื่อนย้าย
  2. รถเข็นควรมีเบรกและระบบล๊อคล้อเพื่อความปลอดภัย
  3. กรณีเป็นผู้ป่วยหนักจำเป็นต้องใช้รถเข็นในระยะเวลานาน ควรเลือกซื้อแบบที่ทนทาน มีน้ำหนักเบา สามารถเคลื่อนย้ายได้โดยสะดวก หากต้องเดินทางเป็นประจำควรซื้อแบบที่ทำด้วยอลูมิเนียม
  4. รถเข็นที่ดีต้องมีความเหมาะสมกับผู้ใช้งาน ต้องไม่เทอะทะ ความลึกของเบาะนั่งต้องพอดีกับร่างกาย เมื่อนั่งแล้ว สะโพกและข้อเข่าควรงอทำมุมฉาก ควรมีช่องว่างระหว่างขอบที่นั่งกับข้อพับเข่าของผู้ป่วยเล็กน้อย หากที่นั่งลึกเกินไปอาจเกิดการเสียดสีเป็นแผลที่ใต้เข่าหรือผู้ป่วยอาจเลื่อนไหลตัวไปด้านหน้าจนอาจตกจากรถเข็นได้
  5. ต้องมีความปลอดภัยกับผู้ใช้งาน โดยควรคำนึงถึงความสูงของพนักพิงว่าต้องพอดี หากผู้ป่วยมีอาการที่ทรงตัวไม่ดี ควรใช้พนักพิงที่พอเหมาะพอดีกับตัว หากผู้ใช้งานทรงตัวดี ต้องการความคล่องตัวในการเข็นรถด้วยตนเองให้เลือกใช้พนักพิงแบบต่ำ
  6. ที่วางเท้าต้องพอเหมาะในขณะที่ผู้สูงอายุนั่ง ข้อเข่าและข้อเท้าควรงอตั้งฉากกัน ไม่ควรงอหรือเหยียดจนเกินไป หรือหากที่วางเท้าสูงเกินไปอาจส่งผลให้เกิดแรงกดไปที่ก้นมากจนอาจเกิดอันตราย เมื่อใช้ไปนานเข้าอาจทำให้ปวดหลังหรือเกิดแผลกดทับที่ก้นขึ้นมาได้

เครดิตข้อมูลจาก site :       

Phartrillion: https://phartrillion.com/how-to-choose-wheelchair/

ราคาเครื่องมือแพทย์.com:  https://bit.ly/38GGrWs