การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ตอนที่ 1

 ภาวะสมองเสื่อมเป็นกลุ่มอาการความผิดปรกติของสมองที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุซึ่งเกิดจากความเสื่อมจากการทำงานของสมอง โดยแสดงความผิดปรกติทางด้านความคิด ความจำ การตัดสินใจ การใช้ภาษา และ การเคลื่อนไหว ซึ่งจะรบกวนการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ (อ่านความหมายของสังคมผู้สูงอายุ) ร่วมกับมีการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรม บุคลิกภาพ และอารมณ์

สารบัญเนื้อหา ยาวไปเลือกอ่าน

ภาวะสมองเสื่อมคืออะไร

ภาวะสมองเสื่อมแบ่งตามสาเหตุหลักๆ ได้ดังนี้:

1). อัลไซเมอร์ ดีเมนเทีย (Alzheimer’s dementia) หรือ AD เป็นภาวะสมองเสื่อมที่พบบ่อยมากที่สุด ลักษณะเฉพาะของสมองเสื่อมชนิดนี้คือจะมีเนื้อสมองฝ่อเล็กลง อาการเด่นของสมองเสื่อมแบบ AD นี้คือความจำเสื่อมที่ค่อยๆเป็นมากขึ้นทีละน้อยๆ และเป็นอย่างช้าๆ

2). แวสคูล่า ดีเมนเทีย(Vascular ‘s dementia) หรือ VD เป็นภาวะสมองเสื่อมที่เกิดจากมีการขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง ผู้ป่วย จะมีอาการของภาวะสมองเสื่อมร่วมกับหลักฐานที่บ่งบอกว่ามีโรคหลอดเลือดสมอง การเกิดโรคมักเกิดขึ้นภายใน 3 เดือนหลังเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ความรุนแรงของภาวะสมองเสื่อมชนิดนี้จะขึ้นกับบริเวณและขนาดของเนื้อสมองที่ขาดเลือดไปเลี้ยง

3). Dementia with Lewy bodies(DLB) สมองเสื่อมชนิดนี้มักพบบ่อยว่าเกิดร่วมกับ AD ผู้ป่วย/ผู้สูงอายุ มักมีอาการประสาทหลอนโดยเฉพาะการเห็นภาพหลอน มีการเคลื่อนไหวเชื่องช้าทำให้หกล้มบ่อย ระดับสติปัญญาและความจำจะเริ่มถดถอยลงตามลำดับ

elderly-alzheimer-disease

4). Frontotemporal dementia (FTD) ลักษณะเด่นของสมองเสื่อมชนิดนี้คือทางผู้ป่วยจะมีความผิดปรกติทางพฤติกรรมมากกว่าทางสติปัญญา ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับสังคมที่อยู่แวดล้อม ขาดการยั้งคิด การวางแผน การตัดสินใจ สูญเสียการรับรู้ความเป็นตัวของตัวเอง อาการจะเป็นมากขึ้นจนสูญเสียความสามารถในการใช้ภาษา

5). พาร์กินสัน ดีสีส (Parkinson’s disease) คือภาวะสมองเสื่อมร่วมกับมีความเคลื่อนไหวผิดปรกติ หรือ (อ่านต่อ โรคพาร์กินสันคืออะไร?)

6). AIDS อาจจะพบว่ามีอาการสมองเสื่อมได้ในระยะท้ายของโรค

7). สมองเสื่อมจากการได้รับบาดเจ็บหรือได้รับสารพิษ

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อม

elderly-woman-alzheimer-disease

Credit photo created by jcomp – www.freepik.com

สาเหตุ ปัจจัยเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมมีได้ดังนี้:

  1. กรรมพันธุ์ พบว่าผู้ที่บุคคลในครอบครัวเคยมีภาวะสมองเสื่อมมีโอกาสเกิดภาวะสมองเสื่อมได้
  2. มีความผิดปรกติของโครโมโซม
  3. มีความเสื่อมของเซลล์สมอง เช่น AD, DLB, FTD
  4. เซลล์สมองขาดเลือดไปเลี้ยง
  5. มีความผิดปรกติของโรคระบบต่างๆได้แก่ โรคระบบต่อมไร้ท่อ เช่น โรคเบาหวาน ,โรคของต่อมไทรอยด์ โรคระบบทางเดินหายใจ โรคระบบโลหิต เช่นภาวะซีด
  6. ขาดวิตามินบางชนิด เช่น B1 B3 B12 และกรดโฟลิก
  7. มีความผิดปรกติอื่นๆ หรือการได้รับบาดเจ็บของระบบประสาท เช่น ภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
  8. มีการติดเชื้อเช่น ซิฟิลิส เยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคเอดส์
  9. ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น อนุมูลอิสระ เซลล์สมองถูกทำลาย พิษจากสิ่งแวดล้อม เช่นพบว่ามีระดับของอลูมิเนียม และสารปรอทสูงในเซลล์สมองของผู้ที่มีโรคอัลไซเมอร์

อาการของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม

 โดยทั่วไปอาการของสมองเสื่อมจะเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป เป็นเดือนหรือเป็นปี ยกเว้น VD อาจจะเกิดเร็ว และเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ และไม่มีอาการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นหรือน้อยลงในช่วงเวลาของวัน ผู้สูงอายุจะรู้สึกตัวดี และมีการตระหนักรู้ มีความตั้งใจปรกติ คิดในสิ่งที่เป็นนามธรรมไม่ค่อยได้

อาการที่พบได้บ่อยในผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมซึ่งทำให้ผู้สูงอายุต้องมาพบหมอได้แก่ ความจำไม่ดี  โดยเฉพาะความจำในปัจจุบัน ไม่สามารถทำงานที่คุ้นเคยได้ มีปัญหาในด้านการใช้ภาษา เช่นหาคำพูดและเปล่งเสียงไม่ได้ การรับรู้เวลาและสถานที่บกพร่อง การรับรู้สถานที่ไม่ดี มีปัญหาด้านการตัดสินใจต่างๆ หาของไม่พบ หรือ วางของผิดที่ อารมณ์ พฤติกรรม และบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง และ ไม่มีความคิดริเริ่ม

 นอกจากอาการดังกล่าวข้างต้น ผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมอาจจะมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงหรือผิดปรกติ เช่นย้ำคิด ย้ำทำ มีการนอนผิดเวลาหลับมากในตอนกลางวันและตื่นกลางคืน  หาของไม่ค่อยพบ  มีพฤติกรรมวุ่นวาย ไม่อยู่กับที่ ไม่มีจุดหมาย เดินเปะปะ ซึมเศร้า หรือมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม

take-good-care-of-elderly-memory-loss

การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม

 เนื่องจากภาวะสมองเสื่อมไม่สามารถคืนสู่ปรกติได้ และภาวะนี้ยังมีแนวโน้มอาการที่แย่ลง ทำให้เกิดผลกระทบต่อทั้งตัวผู้ป่วยและผู้ดูแลที่บ้านเป็นอย่างมาก ดังนั้นเป้าหมายหลักในการดูแลผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมในทุกระยะก็เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถช่วยเหลือตัวเองในการทำกิจวัตรประจำวันให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

 ในขณะเดียวกันก็สนับสนุนช่วยเหลือในสิ่งที่จำเป็น นอกจากนั้น เป้าหมายอื่นๆ อาจขึ้นอยู่กับปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุแต่ละราย เช่น เพื่อลดความวิตกกังวล เพื่อให้รับรู้สภาพการณ์ที่เป็นจริง เพื่อส่งเสริมความจำและช่วยให้มีการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

แนวทางหลักในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมมี  2  วิธีได้แก่:

  1. การดัดแปลงสิ่งแวดล้อม: การดัดแปลงสิ่งแวดล้อมจะช่วยควบคุมสิ่งกระตุ้น และช่วยให้ผู้สูงอายุมีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น ผู้สูงอายุจะรู้สึกปลอดภัย ลดความวิตกกังวล และลดภาวะซึมเศร้า นอกจากนั้นยังให้ผลดีในผู้ที่มีปัญหาด้านพฤติกรรม เช่น เดินเปะไปเปะมา หรือมีพฤติกรรมกระวนกระวายไม่อยู่นิ่ง เพราะจะทำให้ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสมองเสื่อมสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตัวเอง เหตุผลในการจัดการกับสิ่งแวดล้อมก็เพื่อคงความสามารถของสมองไว้ให้นานที่สุด และป้องกันอันตรายรวมทั้งอุบัติเหตุ

แนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อม:

  • ให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่คุ้นเคย ลดสิ่งกระตุ้นที่ทำให้อาการแย่ลงเช่นเสียงรบกวน
  • ใช้เฟอร์นิเจอร์ที่มั่นคง ไม่ลื่น หลีกเลี่ยงสิ่งของที่มีล้อ เตียงนอน เก้าอี้ โถส้วม ควรมีความสูงพอเหมาะ ไม่เตี้ยเกินไป
  • ควรระวังอุบัติเหตุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการหกล้มจากการทำกิจกรรมต่างๆ ภายในบ้านและนอกบ้านอาทิ การทำครัว การดูแลเด็กเล็ก การดูแลสัตว์เลี้ยง การสะดุดสิ่งกีดขวาง
  • หลีกเลี่ยงการตกแต่งด้วยกระจกเงา สีห้องและม่านควรเป็นสีโทนเดียว สบายตา ไม่มีลวดลาย
  • พื้นห้องควรมีระดับเดียวกันและไม่ลื่น จุดเชื่อมต่อระหว่างห้องควรอยู่ระดับเดียวกัน หลีกเลี่ยงธรณีประตู และไม่ควรวางของเกะกะที่พื้น เช่นของเล่นเด็ก สายไฟเป็นต้น
  • ติดสัญลักษณ์หรือตัวหนังสือบอกตำแหน่งห้องน้ำ เลือกใช้นาฬิกาตัวเลขขนาดใหญ่
  • ควรมีแสงสว่างที่เพียงพอ ถ้าสามารถทำได้ควรติดตั้งหลอดไฟที่สว่างขึ้นเองโดยอัตโนมัติในบริเวณมุมมือหรือที่เดินผ่านบ่อยๆ
  • ห้องนอนควรมีขนาดที่พอเหมาะ ไม่ใหญ่หรือเล็กจนเกินไป ให้พักคนเดียวหรือพักร่วมกับผู้แล หากเป็นไปได้ควรจัดให้ผู้ป่วยพักอยู่บริเวณชั้นล่างของบ้าน
  • อุปกรณ์ที่อันตรายเช่น ปลั๊กไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้า เตาแก๊ส เครื่องทำน้ำร้อนควรวางไว้ในที่ปลอดภัย ป้องกันไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
  • ควรเก็บยาและสารเคมีไว้ในที่ๆมิดชิด
  • ควรเก็บของชิ้นเล็กๆที่อาจเข้าปากหรือจมูกได้ไว้ในที่ๆมิดชิด
  • ห้องน้ำควรแยกส่วนแห้งและส่วนเปียกเพื่อป้องกันการลื่นล้ม อุปกรณ์อาบน้ำ (สนใจเก้าอี้อาบน้ำผู้สูงอายุ คลิก)    ควรอยู่ในระดับสายตาเพื่อให้ใช้ได้สะดวก มีราวจับ ยึด เกาะ
  • ผู้ที่มีสมองเสื่อมในระยะเล็กน้อยถึงปานกลาง ไม่ควรย้ายที่อยู่อาศัย หรือปรับย้ายเฟอร์นิเจอร์ เพราะจะทำให้ผู้ป่วยสับสนมากขึ้น
old-man-play-wooden-toy-prevent-memory-loss

2. การใช้เทคนิคการติดต่อสื่อสาร: ผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อมจะค่อยๆ สูญเสียทักษะการติดต่อสื่อสาร โดยจะค่อยๆ ลืมชื่อคน ลืมสถานที่ แม้กระทั่งคนที่สนิทกันมากๆ พูดคุยกันทุกวัน และจะมีปัญหาในการจำสรรพนามสุดท้ายก็จะพูดลำบากเพราะจำไม่ได้ อาจพูดได้เพียง 2-3 คำ หรือพูดซ้ำไปมา เมื่อมีอาการรุนแรงมากขึ้นจะไม่สามารถเข้าใจคำพูด แนวทางนี้จะดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมแบ่งออกเป็น 2 วิธีได้แก่ การสื่อสารโดยไม่ใช้คำพูด และ การสื่อสารโดยใช้คำพูด

2.1 การสื่อโดยไม่ใช้คำพูด มีแนวทางดังนี้: 

2.1.1 การใช้กลิ่นในการบำบัด โดยใช้น้ำมันหอมละเหยซึ่งกลิ่นที่นิยมใช้ในผุ้ที่สมองเสื่อมคือกลิ่นเมลิซ่า (Melissa) และกลิ่นลาเวนเดอร์ (Lavender) ซึ่งจะช่วยลดความวิตกกังวล ลดอาการกระวนกระวายและกระตุ้นประสาทสัมผัสให้ทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

2.1.2 การใช้แสงสว่าง เพื่อช่วยปรับอารมณ์ ความรู้สึกให้นิ่ง สบาย ลดความวิตกกังวล

2.1.3 การใช้ดนตรีบำบัด ช่วยเพิ่มการสื่อสารให้ผู้ที่มีสมองเสื่อมขั้นรุนแรง

2.1.4 การออกกำลังกาย ช่วยลดอาการกระวนกระวาย ทำให้อารมณ์ดีขึ้นและช่วยให้คุณภาพการนอนหลับดีขึ้น

2.1.5 การมใช้วิธีช่วยกระตุ้นประสารทสัมผัส

elderly-prevent-alzheimer-disease

2.2 การสื่อสารโดยใช้คำพูด มีแนวทางดังนี้:

2.2.1 การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคสมองเสื่อม

2.2.2 การฝึกการรับรู้ สถานที่ บุคคล ช่วยให้ผู้สูงอายุรับรู้สภาพความเป็นจริงในโลก

2.2.3 การจัดกิจกรรมเพื่อระลึกถึงความจำในอดีต ช่วยกระตุ้นความจำและมองเห็นคุณค่าในตัวของตัวเอง ทำโดยการชวนพูดคุยถึงเรื่องวัยเด็ก วัยทำงาน หรือช่วงชีวิตที่มีความสุขในอดีต อาจจะใช้รูปภาพหรืออุปกรณ์ที่เคยใช้ในอดีตมาร่วมในกิจกรรม

2.2.4 การหาความหมายของพฤติกรรมและอารมณ์ เป็นการทำให้ผู้สูงอายุเข้าใจความหมายของพฤติกรรมที่แสดงออกของตนซึ่งอาจจะเกิดจากปมขัดแย้งในอดีตที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข การรักษานี้จะช่วยลดความทุกข์ทรมานใจและลดความวิตกกังวล

สรุป

 ทังนี้ การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมตามวิธีการดังกล่าว เป็นเพียงแนวทางในการดูแล เอาใจใสเบื้องต้น ทางที่ดีถ้าผู้สูงอายุมีภาวะความจำเสื่อมที่รุนแรง ควรไปพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อประเมินอาการและหาแนวทางในการรักษาที่ถูกต้อง

 แต่สิ่งที่จำเป็นลำดับแรกคือความเข้าใจว่าพฤติกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นเป็นเพราะโรค และความผิดปรกติทางสมองเนื่องจากความชราภาพลง  ลูกหลาน หรือผู้ดูแลต้องมีความอดทน และยอมรับอย่างจริงใจเพื่อการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี  ในบทความหน้า เราจะมาพูดต่อกันถึงแนวทางในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมในตอนที่ 2

แหล่งที่มาข้อมูลเรื่อง การพยาบาลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม

จากหนังสือการพยาบาลผู้สูงอายุโดย ผศ.ดร.ทศพร คำผลศิริ

อันดับแรก ต้องเข้าใจกันก่อนว่ารถเข็นที่ใช้งานอยู่ทุกวันนี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่:

ประเภทแรก รถเข็น Wheel Chair แบบต้องใช้กำลังคนขับเคลื่อน ซึ่งก็สามารถแบ่งย่อยออกไปได้อีก 2 ประเภท:

  1. Transport wheel chair– รถเข็น Wheel Chair ประเภทนี้จำเป็นต้องอาศัยคนช่วยเข็นเท่านั้น คนนั่งไม่สามารถเข็นเองได้ นิยมใช้งานกันในโรงพยาบาลเพื่อเคลื่อนย้ายคนไข้จากสถานที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง รถเข็นลักษณะนี้ จะมีล้อหลังขนาดเล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ประมาณ 8-14นิ้ว ผู้นั่งจะไม่สามารถเอื้อมมือไปขยับล้อเพื่อเคลื่อนไหวรถเข็นด้วยตัวเองได้ ข้อดีคือน้ำหนักเบา ราคาค่อนข้างถูก
  2. Manually propelled wheel chair– รถเข็น Wheel Chair ประเภทนี้ผู้ใช้งานสามารถที่จะขยับรถเข็นเคลื่อนที่เองได้โดยจะต้องใช้แขนทั้งสองข้างในการช่วยหมุนล้อ ส่วนในกรณีที่ต้องการเบรก ผู้ใช้งานต้องใช้แขนทั้งสองข้างจับที่วงปั่นเพื่อช่วยในการชะลอผ่อนความเร็ว รถเข็นประเภทนี้ จะมีล้อหลังขนาดใหญ่ตั้งแต่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20-24นิ้ว (51-61 ซ.ม.) ข้อดีคือผู้ใช้งานสามารถบังคับควบคุมรถได้ด้วยตนเอง

ประเภทที่สอง รถเข็น Wheel Chair ที่ใช้พลังงานภายนอก หรือ นิยมเรียกกันว่า รถเข็นไฟฟ้า

คือรถเข็นที่ใช้ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ในการขับเคลื่อน โดยลักษณะภายนอกของรถเข็นและการใช้งานจะเหมือนกับแบบที่ใช้กำลังคนในการขับเคลื่อน แต่จะถูกติดตั้งเพิ่มเติมด้วยระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าทำให้ผู้ใช้งานสามารถบังคับทิศทางการเคลื่อนที่ไปในทางที่ต้องการได้ รถเข็นแบบนี้นิยมใช้กับผู้สูงอายุที่มีอาการป่วยหนักไม่สามารถควบคุมการทำงานภายในร่างกายได้ หรือพิการ เป็นอัมพาตจนร่างกายขยับไม่ได้

รถเข็นไฟฟ้าช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ป่วย ผู้สูงอายุได้เป็นอย่างมากโดยเฉพาะผู้ที่ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ไม่สามารถขยับเขยื้อนช่วงล่างของร่างกายได้เลย ผู้ใช้งานสามารถบังคับรถเพื่อหลบหลีกทาง หรือ เขยิบไปในจุดที่สะดวกได้ด้วยตนเองหรือในขณะที่คนเข็นรถไม่อยู่

ข้อแนะนำในการเลือกรถเข็นผู้ป่วย ผู้สูงอายุ:

  1. ควรเลือกแบบที่สามารถพับเก็บได้เพื่อความสะดวกในการพกพาไปในสถานที่ต่างๆ เพื่อความง่ายในการเคลื่อนย้าย
  2. รถเข็นควรมีเบรกและระบบล๊อคล้อเพื่อความปลอดภัย
  3. กรณีเป็นผู้ป่วยหนักจำเป็นต้องใช้รถเข็นในระยะเวลานาน ควรเลือกซื้อแบบที่ทนทาน มีน้ำหนักเบา สามารถเคลื่อนย้ายได้โดยสะดวก หากต้องเดินทางเป็นประจำควรซื้อแบบที่ทำด้วยอลูมิเนียม
  4. รถเข็นที่ดีต้องมีความเหมาะสมกับผู้ใช้งาน ต้องไม่เทอะทะ ความลึกของเบาะนั่งต้องพอดีกับร่างกาย เมื่อนั่งแล้ว สะโพกและข้อเข่าควรงอทำมุมฉาก ควรมีช่องว่างระหว่างขอบที่นั่งกับข้อพับเข่าของผู้ป่วยเล็กน้อย หากที่นั่งลึกเกินไปอาจเกิดการเสียดสีเป็นแผลที่ใต้เข่าหรือผู้ป่วยอาจเลื่อนไหลตัวไปด้านหน้าจนอาจตกจากรถเข็นได้
  5. ต้องมีความปลอดภัยกับผู้ใช้งาน โดยควรคำนึงถึงความสูงของพนักพิงว่าต้องพอดี หากผู้ป่วยมีอาการที่ทรงตัวไม่ดี ควรใช้พนักพิงที่พอเหมาะพอดีกับตัว หากผู้ใช้งานทรงตัวดี ต้องการความคล่องตัวในการเข็นรถด้วยตนเองให้เลือกใช้พนักพิงแบบต่ำ
  6. ที่วางเท้าต้องพอเหมาะในขณะที่ผู้สูงอายุนั่ง ข้อเข่าและข้อเท้าควรงอตั้งฉากกัน ไม่ควรงอหรือเหยียดจนเกินไป หรือหากที่วางเท้าสูงเกินไปอาจส่งผลให้เกิดแรงกดไปที่ก้นมากจนอาจเกิดอันตราย เมื่อใช้ไปนานเข้าอาจทำให้ปวดหลังหรือเกิดแผลกดทับที่ก้นขึ้นมาได้

เครดิตข้อมูลจาก site :       

Phartrillion: https://phartrillion.com/how-to-choose-wheelchair/

ราคาเครื่องมือแพทย์.com:  https://bit.ly/38GGrWs