การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ตอนที่ 2

 ภาวะสมองเสื่อมเป็นความผิดปรกติที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่ง ณ.ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาให้หายขาดได้ นอกจากนั้นผู้สูงอายุที่มีภาวะนี้มีแนวโน้มที่จะมีอาการรุนแรงขึ้นเรื่อยๆตามการเกิดของโรค ดังนั้น Zee Doctor จะมาแนะนำวิธีการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมกันต่อในตอนที่ 2 (อ่านเพิ่มเติม:การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมตอนที่ 1)

 ความสำคัญของการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมคือการช่วยเหลือให้สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้เป็นอย่างดี ระดับความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยสมองเสื่อมขึ้นอยู่กับความรุนแรงของความเสื่อมและความสามารถในการใช้แขน ขา การช่วยเหลือผู้ป่วยในการทำกิจวัตรประจำวันควรทำดังนี้

เนื้อหายาวไป เลือกอ่าน

การรับประทานอาหาร

 ปัญหาที่พบบ่อยคือ จำไม่ได้ว่ากินอาหารไปแล้ว ไม่รู้จักวิธีใช้ช้อน ส้อม บางคนอาจมีปัญหาในการเคี้ยวหรือการกลืนอาหาร

แนวทางการจัดการด้านโภชนาการ ควรดูแลโดย:

  • ตรวจสุขภาพเหงือกและฟัน ความสามารถในการเคี้ยวและการกลืนเป็นระยะๆ
  • คงบรรยากาศการกินอาหารอย่างเดิมๆ อาทิ รับประทานเวลาเดิม การจัดตำแหน่งอาหารที่เดิม ถ้วย ชาม ตำแหน่งของโต๊ะและเก้าอี้
  • คอยเตือนล่วงหน้าเมื่อใกล้ถึงเวลาอาหาร
  • จัดอาหารที่คุ้นเคย ให้ผู้ป่วยมีโอกาสเลือกทานอาหารที่ตัวเองชอบตามหลักโภชนาการ ควรเป็นอาหารที่เคี้ยวง่าย ควรระวังการสำลัก บางครั้งจำเป็นต้องทำการบดอาหารหรือทำอาหารเหลวโดยเน้นคุณค่าและปริมาณอาหารแต่ละมื้อ
  • คอยเฝ้าดูผู้ป่วยระหว่างรับประทานอาหารเพื่อช่วยเหลือเมื่อจำเป็น และให้แน่ใจว่าผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารได้เพียงพอครบถ้วนตามหลักโภชนาการ
  • ไม่ต้องเคร่งครัดเรื่องมารยาทบนโต๊ะอาหารมากนัก ทำบรรยากาศให้สบายๆ ทำให้เกิดความสุขและผ่อนคลายในการรับประทาน
  • อาหารควรมีอุณหภูมิที่พอเหมาะ ไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป ควรระวังอาหารที่ร้อนจัดเพราะผู้ป่วยอาจรับรู้ไม่ได้เกี่ยวกับความร้อนของอาหาร
  • เตรียมปริมาณอาหารให้เหมาะสมแก่การรับประทาน อาหารบนโต๊ะไม่ควรมีหลายชนิดเพราะอาจทำให้สับสนได้
  • ไม่ควรวางอาหารให้ผู้สูงอายุสมองเสื่อมเห็นเพราะอาจหยิบรับประทานเองโดยไม่สามารถยับยั้งได้ และในรายที่ไม่สามารถเคี้ยวได้อาจทำให้ติดคอและสำลัก
elderly-woman-alzheimer-disease

credit photo created by jcomp – www.freepik.com

การทำความสะอาดร่างกาย

ปัญหาที่มักพบคือลืมอาบน้ำ ไม่ยอมอาบน้ำ หรือลืมวิธีการอาบน้ำ ควรดูแลโดย :

take-good-care-of-elderly-memory-loss
  • พยายามคงเวลาการอาบน้ำของผู้สูงอายุไว้ให้เหมือนเดิม หากผู้สูงอายุไม่ยอมอาบน้ำในขณะนั้น อาจมีการยืดหยุ่นเวลาอาบน้ำให้สอดคล้องกับอารมณ์ พฤติกรรม และชีวิตประจำวัน
  • เปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้ลงมือทำเองได้มากที่สุด แต่ต้องเฝ้าระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้นขณะกำลังอาบน้ำ
  • จัดให้ใช้อุปกรณ์ที่คุ้นเคย จัดเตรียมอุปกรณ์ตามลำดับการใช้งาน
  • ใช้วิธีการอาบน้ำที่สะดวกและไม่ซับซ้อน เช่นใช้ฝักบัว
  • ระวังความปลอดภัย เช่นควรมีราวเหล็กข้างผนังไว้สำหรับยึดเพื่อกันล้ม ควรมีเก้าอี้อาบน้ำ และคอยดูแลอุณหภูมิน้ำให้เหมาะสม
  • ควรใช้เทคนิคในการช่วยอาบน้ำในกรณีที่ผู้สูงอายุไม่ยอม อาทิ ชวนเล่นน้ำสงกรานต์ ชวนล้างห้องน้ำเป็นต้น
  • ผู้สูงอายุบางคนรู้สึกอายที่มีคนอาบน้ำให้ ควรหาผ้าไว้ปิดบังร่างกายบางส่วน

การแต่งตัว

ปัญหาที่มักพบคือ จำไม่ได้ว่าเก็บเสื้อผ้าไว้ที่ไหน ไม่ทราบว่าจะต้องใส่อะไรก่อน หลัง ไม่ทราบวิธีสวมใส่ ไม่รู้ว่าเสื้อผ้ามีเอาไว้ทำอะไรเป็นต้น ผู้ดูแลควรดูแลผู้สูงอายุโดย :

  • ช่วยเตรียมเสื้อผ้าไว้ให้ใส่อย่างเป็นลำดับ
  • บอกหรือช่วยแต่งตัวเป็นลำดับทุกครั้ง
  • สถานที่แต่งตัวให้เป็นสถานที่เดิมทุกครั้ง
  • ถ้าผู้สูงอายุสามารถแต่งตัวเองได้ ควรให้เวลาไม่ต้องเร่งรีบ
  • พยายามเลือกเสื้อผ้าที่ใส่สบายและง่าย
  • ให้เลือกเครื่องแต่งกายเองจนกว่าจะทำไม่ได้
  • แนะนำการจัดเลือกเสื้อผ้าให้เหมาะกับกาลเทศะ

การควบคุมการขับถ่ายและการใช้ห้องน้ำ

elderly-prevent-alzheimer-disease

ปัญหาที่มักพบคือ ผู้สูงอายุมักจะไม่ทราบว่าเมื่อไร่จึงจะใช้ห้องน้ำ อาจกลั้นอุจาระไม่ได้ หรือหาห้องน้ำไม่พบ เข้าไปในห้องน้ำแล้วไม่ทราบว่าจะต้องทำอย่างไรและอาจถึงขั้นขับถ่ายไม่เป็นที่เป็นทาง แนวทางการดูแลคือ

  • พยายามจัดเวลาการขับถ่ายให้เป็นเวลา หรือใกล้เคียงกับเวลาเดิม
  • ไม่ควรให้ดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มมากเมื่อใกล้เวลาเข้านอน
  • ดูแลความสะดวกในการเดินเข้าห้องน้ำ เช่นเปิดไฟในห้องน้ำ และทางเดินไปห้องน้ำ
  • ติดป้ายบอกว่าเป็นห้องน้ำให้ชัดเจน
  • ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่ถอดออกได้ง่าย เช่นกางเกงเอวยางยืด แทนการติดกระดุมหรือผูกเชือก
  • เตรียมกระโถนสำหรับปัสสาวะไว้ใกล้ๆที่นอน หากมีความจำเป็นอาจต้องใช้ผ้าอ้อมผู้สูงอายุขณะนอนหลับ
  • จัดเวลาให้สอดคล้องกับกิจวัตรประจำวันและมื้ออาหาร
  • ถ้าผู้สูงอายุไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ อาจใช้วิธีกำหนดเวลาไปห้องน้ำเป็นระยะๆ

การเคลื่อนย้ายเคลื่อนที่

old-man-play-wooden-toy-prevent-memory-loss

ปัญหาที่อาจะพบบ่อยคือ เดินลำบาก บางรายอาจพบอาการพาร์กินสันร่วมด้วย บางรายอาจพบปัญหาการเดินเรื่อยเปื่อย ไม่มีจุดมุ่งหมายในการเดิน ผู้ดูแลสามารถดูแลได้โดย

  • ทดสอบความสามารในการยืน การเดิน โดยเฉพาะเรื่องของการทรงตัว
  • จำกัดการเดินและการเดินของผู้สูงอายุ
  • เลือกเวลาและสถานที่เดินสำหรับผู้สูงอายุให้เหมาะสมและปลอดภัย
  • เปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้เดิน และเคลื่อนไหวด้วยตัวเองโดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเดินให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อส่งเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การนอน การขับถ่าย ความจำและส่งเสริมด้านอารมณ์
  • กรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถยืน เดินได้ ควรแนะนำให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวบนเตียง
  • หาดจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน ควรเลือกใช้อุปกรณ์ที่ใช้ง่าย ไม่ซับซ้อนและเหมาะสมกับผู้สูงอายุแต่ละราย (สนใจสินค้าผู้สูงอายุ อุปกรณ์ช่วยการทรงตัว คลิกเลย)

การสูญเสียทักษะ ความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ

food-for-parkinson

การสูญเสียทักษะ ที่เคยทำ อาทิเช่น ทักษะในการปรุงอาหาร สูญเสียทักษะในการประกอบอาชีพ ซึ่งทำให้เกิดอันตรายได้ เช่น ใส่สารบางอย่างลงไปในอาหาร ลืมปิดเตาแก๊สหลังทำอาหาร หรือสูญเสียทักษะในการดูแลตนเอง เช่นสวมเสื้อผ้า อาบน้ำ และในผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมอย่างรุนแรงอาจไม่สามารถดื่มน้ำและทานอาหารได้ด้วยตัวเอง แนวทางในการดูแลสามารถทำได้โดย :

  • ช่วยแนะนำ ให้กำลังใจ ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้ใช้ความสามารถและรักษาทักษะที่มีให้นานที่สุด
  • แนะนำให้ผู้ดูแลเข้าใจถึงปัญหาและควรอดทนให้เวลาผู้สูงอายุในการทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ เช่นล้างจาน จัดโต๊ะอาหาร
  • ถ้าผู้สูงอายุคุ้นเคยกับการใช้โทรศัพท์ ควรกระตุ้นให้ใช้ต่อไปให้เป็นผู้รับโทรศัพท์ ควรวางปากกา กระดาษไว้ใกล้ๆ เพื่อใช้บันทึกข้อความข้อความผู้ที่โทรศัพท์มาหา และควรเขียนรายชื่อคนที่ติดต่อกันเป็นประจำ เช่น สมาชิกครอบครัว เพื่อน แพทย์เป็นต้น

การดูแลผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยสมองเสื่อมในภาวะซึมเศร้า

สามารถดูแลได้ดังนี้:

ผู้ที่อยู่ในระยะเริ่มต้น

  • ให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
  • ยอมรับอาการหลงลืม พยายามทำความเข้าใจ รวมทั้งหาความหมายของพฤติกรรมและอารมณ์ที่ผู้สูงอายุแสดงออก
  • เปิดโอกาสให้มีกิจกรรมที่ชอบและยังสามารถทำได้ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม กระตุ้นให้มีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม เช่น การออกกำลังกาย
  • ให้พูดระบายความรู้สึก
  • ให้กำลังใจสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

ผู้ที่อยู่ในระยะปานกลางถึงรุนแรง

  • จัดตารางกิจกรรมในแต่ละวันให้เหมือนเดิม
  • หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป เช่น เสียงดัง อยู่ในกลุ่มคนมากๆ หรือทิ้งให้อยู่คนเดียว
  • พูดคุยกับผู้สูงอายุตัวต่อตัว ด้วยค่ำพูดที่สั้นและกระชับ
  • ใช้การสัมผัสช่วยกระตุ้นหรือถ่ายทอดความรู้สึกกับผู้สูงอายุบ่อยๆ

การดูแลผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยสมองเสื่อมที่มีอาการเฉยเมย ไม่แสดงอารมณ์ มีวิธีการดังนี้:

  • ต้องยอมรับว่าเป็นอาการของโรค ผู้สูงอายุไม่ได้แกล้งทำ
  • คอยสนับสนุน กระตุ้นให้ผู้สูงอายุ ให้มีส่วนร่วมกิจกรรม
  • กระตุ้นประสาทสัมผัสด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น snozelen (คือการสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดความรู้สึกที่อบอุ่น ผ่อนคลายด้วยสิ่งกระตุ้นประสาทความรู้สึกขั้นพื้นฐาน) วันละประมาณ 15 นาที ในห้องที่ช่วยให้สงบผ่อนคลาย
  • จัดกิจกรรมเตือนความจำ ฝึกการทำสมาธิ

การดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมที่มีอาการทางจิต เช่นหูแว่ว เห็นภาพหลอน ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ จึงควรมองหาต้นตอของสาเหตุและให้การดูแลตามสาเหตุดังนี้ :

  • มีสติปัญญาในการรับรู้เสื่อมลง เช่นอาจหลงผิดคิดว่าผู้ดูแลเป็นตัวปลอม จึงควรแนะนำให้ญาติหรือผู้ดูแลสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้สูงอายุเพื่อให้จดจำ
  • มีอาการหลงผิด ประสาทหลอน เช่นเห็นภาพตนเองในกระจก คิดว่ามีคนอื่นอยู่ด้วย ควรจัดการโดยกำจัดสิ่งเร้าออกไป หรืออาจคิดว่ามีคนจะมาขโมยของๆตน ควรจัดการโดยการให้เขียนชื่อลงบนสิ่งของต่างๆ ในบางกรณีผู้สูงอายุอาจคิดว่าตนเองถูกทอดทิ้ง ควรสร้างสัมพันธ์ภาพและดูแลให้ใกล้ชิดมากขึ้น ทั้งนี้ญาติและผู้ดูแล ควรรับฟัง ทำความเข้าใจ และรับรู้อารมณ์ของผู้สูงอายุ อธิบายให้เข้าใจถึงสถานการณ์อย่างช้าๆ ไม่ควรทะเลาะ ขัดแย้ง โต้เถียงในสิ่งที่ผู้สูงอายุหลงผิดและไม่ควรส่งเสริมให้ยึดความเชื่อที่หลงผิดนั้น ควรใช้วิธีเบี่ยงเบนความสนใจไปยังสิ่งอื่นแทน

สรุป

 การดูแลผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยสมองเสื่อมนั้นต้องการการเข้าใจที่ละเอียดอ่อน ญาติหรือผู้ดูแลควรได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านการพยาบาลเพื่อทำหน้าที่ร่วมกันในการช่วยเหลือผู้ป่วยให้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ทั้งนี้ถ้าผู้สูงอายุสามารถที่จะทำกิจวัตรประจำวันได้เองบ้าง จะเป็นการแบ่งเบาภาระงานของญาติหรือผู้ดูแลให้สามารถไปทำหน้าที่อื่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้สูงอายุให้ดีขึ้นได้

แหล่งที่มาข้อมูลเรื่อง การพยาบาลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม

จากหนังสือการพยาบาลผู้สูงอายุโดย ผศ.ดร.ทศพร คำผลศิริ

อันดับแรก ต้องเข้าใจกันก่อนว่ารถเข็นที่ใช้งานอยู่ทุกวันนี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่:

ประเภทแรก รถเข็น Wheel Chair แบบต้องใช้กำลังคนขับเคลื่อน ซึ่งก็สามารถแบ่งย่อยออกไปได้อีก 2 ประเภท:

  1. Transport wheel chair– รถเข็น Wheel Chair ประเภทนี้จำเป็นต้องอาศัยคนช่วยเข็นเท่านั้น คนนั่งไม่สามารถเข็นเองได้ นิยมใช้งานกันในโรงพยาบาลเพื่อเคลื่อนย้ายคนไข้จากสถานที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง รถเข็นลักษณะนี้ จะมีล้อหลังขนาดเล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ประมาณ 8-14นิ้ว ผู้นั่งจะไม่สามารถเอื้อมมือไปขยับล้อเพื่อเคลื่อนไหวรถเข็นด้วยตัวเองได้ ข้อดีคือน้ำหนักเบา ราคาค่อนข้างถูก
  2. Manually propelled wheel chair– รถเข็น Wheel Chair ประเภทนี้ผู้ใช้งานสามารถที่จะขยับรถเข็นเคลื่อนที่เองได้โดยจะต้องใช้แขนทั้งสองข้างในการช่วยหมุนล้อ ส่วนในกรณีที่ต้องการเบรก ผู้ใช้งานต้องใช้แขนทั้งสองข้างจับที่วงปั่นเพื่อช่วยในการชะลอผ่อนความเร็ว รถเข็นประเภทนี้ จะมีล้อหลังขนาดใหญ่ตั้งแต่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20-24นิ้ว (51-61 ซ.ม.) ข้อดีคือผู้ใช้งานสามารถบังคับควบคุมรถได้ด้วยตนเอง

ประเภทที่สอง รถเข็น Wheel Chair ที่ใช้พลังงานภายนอก หรือ นิยมเรียกกันว่า รถเข็นไฟฟ้า

คือรถเข็นที่ใช้ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ในการขับเคลื่อน โดยลักษณะภายนอกของรถเข็นและการใช้งานจะเหมือนกับแบบที่ใช้กำลังคนในการขับเคลื่อน แต่จะถูกติดตั้งเพิ่มเติมด้วยระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าทำให้ผู้ใช้งานสามารถบังคับทิศทางการเคลื่อนที่ไปในทางที่ต้องการได้ รถเข็นแบบนี้นิยมใช้กับผู้สูงอายุที่มีอาการป่วยหนักไม่สามารถควบคุมการทำงานภายในร่างกายได้ หรือพิการ เป็นอัมพาตจนร่างกายขยับไม่ได้

รถเข็นไฟฟ้าช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ป่วย ผู้สูงอายุได้เป็นอย่างมากโดยเฉพาะผู้ที่ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ไม่สามารถขยับเขยื้อนช่วงล่างของร่างกายได้เลย ผู้ใช้งานสามารถบังคับรถเพื่อหลบหลีกทาง หรือ เขยิบไปในจุดที่สะดวกได้ด้วยตนเองหรือในขณะที่คนเข็นรถไม่อยู่

ข้อแนะนำในการเลือกรถเข็นผู้ป่วย ผู้สูงอายุ:

  1. ควรเลือกแบบที่สามารถพับเก็บได้เพื่อความสะดวกในการพกพาไปในสถานที่ต่างๆ เพื่อความง่ายในการเคลื่อนย้าย
  2. รถเข็นควรมีเบรกและระบบล๊อคล้อเพื่อความปลอดภัย
  3. กรณีเป็นผู้ป่วยหนักจำเป็นต้องใช้รถเข็นในระยะเวลานาน ควรเลือกซื้อแบบที่ทนทาน มีน้ำหนักเบา สามารถเคลื่อนย้ายได้โดยสะดวก หากต้องเดินทางเป็นประจำควรซื้อแบบที่ทำด้วยอลูมิเนียม
  4. รถเข็นที่ดีต้องมีความเหมาะสมกับผู้ใช้งาน ต้องไม่เทอะทะ ความลึกของเบาะนั่งต้องพอดีกับร่างกาย เมื่อนั่งแล้ว สะโพกและข้อเข่าควรงอทำมุมฉาก ควรมีช่องว่างระหว่างขอบที่นั่งกับข้อพับเข่าของผู้ป่วยเล็กน้อย หากที่นั่งลึกเกินไปอาจเกิดการเสียดสีเป็นแผลที่ใต้เข่าหรือผู้ป่วยอาจเลื่อนไหลตัวไปด้านหน้าจนอาจตกจากรถเข็นได้
  5. ต้องมีความปลอดภัยกับผู้ใช้งาน โดยควรคำนึงถึงความสูงของพนักพิงว่าต้องพอดี หากผู้ป่วยมีอาการที่ทรงตัวไม่ดี ควรใช้พนักพิงที่พอเหมาะพอดีกับตัว หากผู้ใช้งานทรงตัวดี ต้องการความคล่องตัวในการเข็นรถด้วยตนเองให้เลือกใช้พนักพิงแบบต่ำ
  6. ที่วางเท้าต้องพอเหมาะในขณะที่ผู้สูงอายุนั่ง ข้อเข่าและข้อเท้าควรงอตั้งฉากกัน ไม่ควรงอหรือเหยียดจนเกินไป หรือหากที่วางเท้าสูงเกินไปอาจส่งผลให้เกิดแรงกดไปที่ก้นมากจนอาจเกิดอันตราย เมื่อใช้ไปนานเข้าอาจทำให้ปวดหลังหรือเกิดแผลกดทับที่ก้นขึ้นมาได้

เครดิตข้อมูลจาก site :       

Phartrillion: https://phartrillion.com/how-to-choose-wheelchair/

ราคาเครื่องมือแพทย์.com:  https://bit.ly/38GGrWs