ผู้สูงอายุญี่ปุ่น ทานอะไรถึงมีสุขภาพยืนยาว

ทำไมผู้สูงอายุคนญี่ปุ่นถึงมีสุขภาพดี ?

 

สังคมญี่ปุ่นปัจจุบันมีประชากรเด็กน้อยลงแต่กลับมีแต่คนที่มีอายุกลางคนและคนสูงอายุจำนวนมาก จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ยืนยันว่าประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีจำนวนคนอายุยืนมากที่สุดในโลก ซึ่งครองสถิติแชมป์ยาวนานต่อเนื่องมากว่า 20 ปี ทั้งยังเป็นประเทศที่มีประชากรที่มีอายุเฉลี่ยเกิน 100 ปี มากถึงสองหมื่นคน เคล็ดลับที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือ เรื่องอาหารการกิน นั่นเอง

คนญี่ปุ่นมีเคล็ดลับการกินอย่างไรและอาหารที่แนะนำเพื่อสุขภาพที่ยืนยาวมีอะไรบ้าง

 

อาหารสำหรับผู้สูงอายุ

  • เนื้อปลา ประเทศญี่ปุ่นมีภูมิประเทศเป็นเกาะล้อมรอบไปด้วยทะเล มีอาหารทะเลและปลาจำนวนมากมาย เนื้อปลาประเภทต่างๆ มีคุณค่าทางโปรตีนที่ดีต่อร่างกาย มีไขมันต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลาแซลมอนเป็นปลาที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 อยู่มาก ซึ่งกรดไขมันโอเมก้า 3 (omega 3) ซึ่งเป็นโครงสร้างไขมันสำคัญในสมองและจอประสาทตา เป็นหนึ่งในกรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายมนุษย์ขาดไม่ได้ Omega3 ประกอบด้วย EPA (Eicosapentaenoic acid) , DHA – (Docosahexaenoic acid)

food for oldie

  • พริกหวาน พริกต่างๆ ซึ่งมีสารที่ชื่อ “แคปไซซิน” (Capsaicin) สารที่ให้ความเผ็ดในพริกต่างๆ จะมีอยู่มากบริเวณเยื่อแกนกลางสีขาว ช่วยในการเผาผลาญอาหารและไขมันในร่างกาย นอกจากนั้นพริกยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ อย่าง วิตามินเอ วิตามินบี 6 วิตามินซี ธาตุแมกนีเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุเหล็ก ในพริก 100 กรัมมีวิตามินซีสูงถึง 144 มิลลิกรัม

 

ถั่วเหลืองสำหรับผู้สูงอายุ

  • ไข่ ถั่วเหลือง เต้าหู้ โปรตีนสำคัญต่อร่างกาย โดยเฉพาะในถั่วเหลืองจะมีสารเลซิติน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ทั่วไปรวมทั้งเซลล์ประสาทในไขสันหลังและสมอง เลซิตินมีประโยชน์ในการช่วยบำรุงสมอง ช่วยสื่อประสาท ช่วยเพิ่มความจำ ช่วยการเจริญเติบโตของเซลล์ประสาท ชะลอความแก่ นอกเหนือจากนี้โคลีนในเลซิตินยังช่วยควบคุมปริมาณฮอร์โมนวาโซเพรสซิน (vasopressin) หรือแอนติไดยูเรติก ฮอร์โมน (antidiuretic hormone) ที่ช่วยขับปัสสาวะ ควบคุมความดันโลหิต และความเข้มข้นของสารต่างๆ ในกระแสเลือดได้อีกด้วย นอกจากเลซิตินแล้วสารอาหารในโปรตีนล้วนจำเป็นต่อการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันและสร้างเสริมเซลล์ใหม่แทนเซลล์ที่เสื่อมสภาพ

 

ผักสำหรับผู้สูงอายุ

  • ผักผลไม้ แน่นอนว่าขาดไม่ได้คือวิตามินและเกลือแร่ต่างๆ รวมถึงกากใยในผักผลไม้ที่จะช่วยปรับสมดุลการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย ในทุกๆ มื้ออาหาร จะเน้นให้มีผักและผลไม้ประกอบอยู่ด้วยเสมอ โรงเรียนที่ญี่ปุ่นจะจัดอาหารให้นักเรียนครบตามความต้องการของร่างกายทุกมื้อจะมีผักและผลไม้ด้วย
  • ชาเขียวร้อน คุณประโยชน์นานานับประการของชาเขียวญี่ปุ่นมีกล่าวขานมานานแล้ว คุณประโยชน์อาทิเช่น ช่วยทำให้ระบบหมุนเวียนเลือดดีขึ้น ชีพจรเต้นถูกจังหวะ ป้องกันโรคหลอดเลือดตีบตันและโรคหัวใจ ชาเขียวญี่ปุ่น มีวิตามินซีสูง ซึ่งช่วยต่อต้านภาวะติดเชื้อและเสริมสร้างการทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกาย ทำให้ร้ายการมีภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้น นอกจากนั้นยังมีวิตามินหลากหลายชนิด และแร่ธาตุอื่นๆ อีกมากมาย

การเลือกรับประทานอาหารจึงนับว่าเป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่จะช่วยยืดอายุให้ยืนยาวได้ นอกจากรับประทานให้ครบตามหลักโภชนาการและครบตามความต้องการของร่างกายแล้ว ต้องเลือกอาหารที่สดสะอาด ปรุงรสน้อยและปราศจากสารพิษก็จะยิ่งดีต่อสุขภาพร่างกายและทำให้มีชีวิตที่ยืนยาว

 

Credit: ขอบคุณบทความดีจาก MGL online

 

อันดับแรก ต้องเข้าใจกันก่อนว่ารถเข็นที่ใช้งานอยู่ทุกวันนี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่:

ประเภทแรก รถเข็น Wheel Chair แบบต้องใช้กำลังคนขับเคลื่อน ซึ่งก็สามารถแบ่งย่อยออกไปได้อีก 2 ประเภท:

  1. Transport wheel chair– รถเข็น Wheel Chair ประเภทนี้จำเป็นต้องอาศัยคนช่วยเข็นเท่านั้น คนนั่งไม่สามารถเข็นเองได้ นิยมใช้งานกันในโรงพยาบาลเพื่อเคลื่อนย้ายคนไข้จากสถานที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง รถเข็นลักษณะนี้ จะมีล้อหลังขนาดเล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ประมาณ 8-14นิ้ว ผู้นั่งจะไม่สามารถเอื้อมมือไปขยับล้อเพื่อเคลื่อนไหวรถเข็นด้วยตัวเองได้ ข้อดีคือน้ำหนักเบา ราคาค่อนข้างถูก
  2. Manually propelled wheel chair– รถเข็น Wheel Chair ประเภทนี้ผู้ใช้งานสามารถที่จะขยับรถเข็นเคลื่อนที่เองได้โดยจะต้องใช้แขนทั้งสองข้างในการช่วยหมุนล้อ ส่วนในกรณีที่ต้องการเบรก ผู้ใช้งานต้องใช้แขนทั้งสองข้างจับที่วงปั่นเพื่อช่วยในการชะลอผ่อนความเร็ว รถเข็นประเภทนี้ จะมีล้อหลังขนาดใหญ่ตั้งแต่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20-24นิ้ว (51-61 ซ.ม.) ข้อดีคือผู้ใช้งานสามารถบังคับควบคุมรถได้ด้วยตนเอง

ประเภทที่สอง รถเข็น Wheel Chair ที่ใช้พลังงานภายนอก หรือ นิยมเรียกกันว่า รถเข็นไฟฟ้า

คือรถเข็นที่ใช้ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ในการขับเคลื่อน โดยลักษณะภายนอกของรถเข็นและการใช้งานจะเหมือนกับแบบที่ใช้กำลังคนในการขับเคลื่อน แต่จะถูกติดตั้งเพิ่มเติมด้วยระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าทำให้ผู้ใช้งานสามารถบังคับทิศทางการเคลื่อนที่ไปในทางที่ต้องการได้ รถเข็นแบบนี้นิยมใช้กับผู้สูงอายุที่มีอาการป่วยหนักไม่สามารถควบคุมการทำงานภายในร่างกายได้ หรือพิการ เป็นอัมพาตจนร่างกายขยับไม่ได้

รถเข็นไฟฟ้าช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ป่วย ผู้สูงอายุได้เป็นอย่างมากโดยเฉพาะผู้ที่ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ไม่สามารถขยับเขยื้อนช่วงล่างของร่างกายได้เลย ผู้ใช้งานสามารถบังคับรถเพื่อหลบหลีกทาง หรือ เขยิบไปในจุดที่สะดวกได้ด้วยตนเองหรือในขณะที่คนเข็นรถไม่อยู่

ข้อแนะนำในการเลือกรถเข็นผู้ป่วย ผู้สูงอายุ:

  1. ควรเลือกแบบที่สามารถพับเก็บได้เพื่อความสะดวกในการพกพาไปในสถานที่ต่างๆ เพื่อความง่ายในการเคลื่อนย้าย
  2. รถเข็นควรมีเบรกและระบบล๊อคล้อเพื่อความปลอดภัย
  3. กรณีเป็นผู้ป่วยหนักจำเป็นต้องใช้รถเข็นในระยะเวลานาน ควรเลือกซื้อแบบที่ทนทาน มีน้ำหนักเบา สามารถเคลื่อนย้ายได้โดยสะดวก หากต้องเดินทางเป็นประจำควรซื้อแบบที่ทำด้วยอลูมิเนียม
  4. รถเข็นที่ดีต้องมีความเหมาะสมกับผู้ใช้งาน ต้องไม่เทอะทะ ความลึกของเบาะนั่งต้องพอดีกับร่างกาย เมื่อนั่งแล้ว สะโพกและข้อเข่าควรงอทำมุมฉาก ควรมีช่องว่างระหว่างขอบที่นั่งกับข้อพับเข่าของผู้ป่วยเล็กน้อย หากที่นั่งลึกเกินไปอาจเกิดการเสียดสีเป็นแผลที่ใต้เข่าหรือผู้ป่วยอาจเลื่อนไหลตัวไปด้านหน้าจนอาจตกจากรถเข็นได้
  5. ต้องมีความปลอดภัยกับผู้ใช้งาน โดยควรคำนึงถึงความสูงของพนักพิงว่าต้องพอดี หากผู้ป่วยมีอาการที่ทรงตัวไม่ดี ควรใช้พนักพิงที่พอเหมาะพอดีกับตัว หากผู้ใช้งานทรงตัวดี ต้องการความคล่องตัวในการเข็นรถด้วยตนเองให้เลือกใช้พนักพิงแบบต่ำ
  6. ที่วางเท้าต้องพอเหมาะในขณะที่ผู้สูงอายุนั่ง ข้อเข่าและข้อเท้าควรงอตั้งฉากกัน ไม่ควรงอหรือเหยียดจนเกินไป หรือหากที่วางเท้าสูงเกินไปอาจส่งผลให้เกิดแรงกดไปที่ก้นมากจนอาจเกิดอันตราย เมื่อใช้ไปนานเข้าอาจทำให้ปวดหลังหรือเกิดแผลกดทับที่ก้นขึ้นมาได้

เครดิตข้อมูลจาก site :       

Phartrillion: https://phartrillion.com/how-to-choose-wheelchair/

ราคาเครื่องมือแพทย์.com:  https://bit.ly/38GGrWs