การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ตอนที่ 2
ภาวะสมองเสื่อมเป็นความผิดปรกติที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่ง ณ.ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาให้หายขาดได้ นอกจากนั้นผู้สูงอายุที่มีภาวะนี้มีแนวโน้มที่จะมีอาการรุนแรงขึ้นเรื่อยๆตามการเกิดของโรค ดังนั้น Zee Doctor จะมาแนะนำวิธีการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมกันต่อในตอนที่ 2 (อ่านเพิ่มเติม:การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมตอนที่ 1) ความสำคัญของการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมคือการช่วยเหลือให้สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้เป็นอย่างดี ระดับความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยสมองเสื่อมขึ้นอยู่กับความรุนแรงของความเสื่อมและความสามารถในการใช้แขน ขา การช่วยเหลือผู้ป่วยในการทำกิจวัตรประจำวันควรทำดังนี้ เนื้อหายาวไป เลือกอ่าน การรับประทานอาหาร ปัญหาที่พบบ่อยคือ จำไม่ได้ว่ากินอาหารไปแล้ว ไม่รู้จักวิธีใช้ช้อน ส้อม บางคนอาจมีปัญหาในการเคี้ยวหรือการกลืนอาหาร แนวทางการจัดการด้านโภชนาการ ควรดูแลโดย: ตรวจสุขภาพเหงือกและฟัน ความสามารถในการเคี้ยวและการกลืนเป็นระยะๆ คงบรรยากาศการกินอาหารอย่างเดิมๆ อาทิ รับประทานเวลาเดิม การจัดตำแหน่งอาหารที่เดิม ถ้วย ชาม ตำแหน่งของโต๊ะและเก้าอี้ คอยเตือนล่วงหน้าเมื่อใกล้ถึงเวลาอาหาร จัดอาหารที่คุ้นเคย ให้ผู้ป่วยมีโอกาสเลือกทานอาหารที่ตัวเองชอบตามหลักโภชนาการ ควรเป็นอาหารที่เคี้ยวง่าย ควรระวังการสำลัก บางครั้งจำเป็นต้องทำการบดอาหารหรือทำอาหารเหลวโดยเน้นคุณค่าและปริมาณอาหารแต่ละมื้อ คอยเฝ้าดูผู้ป่วยระหว่างรับประทานอาหารเพื่อช่วยเหลือเมื่อจำเป็น และให้แน่ใจว่าผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารได้เพียงพอครบถ้วนตามหลักโภชนาการ ไม่ต้องเคร่งครัดเรื่องมารยาทบนโต๊ะอาหารมากนัก ทำบรรยากาศให้สบายๆ ทำให้เกิดความสุขและผ่อนคลายในการรับประทาน อาหารควรมีอุณหภูมิที่พอเหมาะ ไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป ควรระวังอาหารที่ร้อนจัดเพราะผู้ป่วยอาจรับรู้ไม่ได้เกี่ยวกับความร้อนของอาหาร เตรียมปริมาณอาหารให้เหมาะสมแก่การรับประทาน อาหารบนโต๊ะไม่ควรมีหลายชนิดเพราะอาจทำให้สับสนได้ ไม่ควรวางอาหารให้ผู้สูงอายุสมองเสื่อมเห็นเพราะอาจหยิบรับประทานเองโดยไม่สามารถยับยั้งได้ และในรายที่ไม่สามารถเคี้ยวได้อาจทำให้ติดคอและสำลัก credit photo created […]