การดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคพาร์กินสัน
หลังจากที่เราได้ทราบข้อมูลของโรคพาร์กินสันในผู้สูงอายุจากบทความก่อนหน้า (อ่านบทความโรคพาร์กินสัน) ในบทความนี้ เราจะมาพูดต่อเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคพาร์กินสัน เพื่อเป็นแนวทางในการพยาบาลเบื้องต้นให้กับผู้สูงอายุ การดูแลผู้ป่วย ผู้สูงอายุ ที่เป็นโรคพาร์กินสัน: 1. การให้ความรู้เกี่ยวกับการรับประทานอาหาร ผู้ป่วยพาร์กินสันควรได้รับประทานอาหารจำพวกผัก ผลไม้และธัญพืชให้มากเนื่องจากมีสารต้านอนุมูลอิสระ ผัก ผลไม้ยังมีใยอาหารป้องกันอาการท้องผูก ผู้ป่วยบางรายรับประทานสาหร่ายหรือยาระบายชนิดผงที่เพิ่มเนื้ออุจาระ ผู้ป่วยควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว เพื่อป้องกันอาการท้องผูก หลีกเลี่ยงชา กาแฟ อาหารมันๆ โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว เช่น เนื้อแดง นม เนย กะทิ และไอศกรีม (อ่านบทความเพิ่มเติมเรื่อง อาหารที่มีประโยชน์สำหรับผู้สูงอายุ) 2. การให้ความรู้เกี่ยวกับการเคี้ยวและการกลืน เนื่องจากผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสันในระยะท้าย จะมีปัญหาเรื่องการกลืน วิธีที่แนะนำในการช่วยลดปัญหาได้คือ ตักอาหารให้พอดีคำ เคี้ยวให้ละเอียด กลืนให้หมดก่อนที่จะป้อนคำต่อไป ควรจะมีแผ่นกันความร้อนรองเพื่อป้องกันไม่ให้อาหารเย็น ที่สำคัญควรเลือกอาหารที่เคี้ยวสะดวกและย่อยง่าย 3. การให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย การออกกำลังกายมีประโยชน์ต่อผู้สูงอายุที่เป็นพาร์กินสันอย่างมากเพราะจะช่วยทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง การทรงตัวดีขึ้น ข้อมีการเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ป้องกันอาการข้อติด อารมณ์ดีขึ้น วิธีการออกกำลังกายอาจจะใช้การเดิน ว่ายน้ำ ทำสวน การเต้นรำ หรือ ยกน้ำหนัก(weight […]
โรคพาร์กินสันในผู้สูงอายุ
ปัจจุบันคนไทยมีอายุเฉลี่ยที่ยืนยาวขึ้นกว่าเดิม เป็นสาเหตุให้พบเจอโรคต่างๆที่หลากหลายได้มากขึ้น โดยโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ อาทิเช่น โรคทางระบบประสาท มีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นในประเทศไทย หนึ่งในโรคที่ต้องให้ความใส่ใจ คือโรคพาร์กินสัน วันนี้ทาง Zee Doctor จะมาเรียบเรียงและอธิบายให้เข้าใจถึงโรคพาร์กินสันในเบื้องต้นแบบง่ายๆกัน โรคพาร์กินสัน เป็นโรคที่พบมากในกลุ่มผู้สูงอายุ โรคนี้จะทำให้ผู้ป่วยส่วนมากซึ่งเป็นผู้สูงอายุมีอาการทางระบบประสาทที่เด่นชัด 3 ประการได้แก่ อาการสั่น อาการเกร็ง และ อาการเคลื่อนไหวช้า โรคพาร์กินสัน เป็นกลุ่มอาการที่มีความผิดปรกติของระบบประสาทส่วนกลางที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวและการพูด พาร์กินสันนิซึ่ม เป็นกลุ่มอาการและลักษะอาการที่ปรากฏจากการตรวจร่างกาย คืออาการเคลื่อนไหวน้อยและช้า อาการสั่น และ อาการแข็งเกร็งและปัญหาการเดิน หมายเหตุ: อาการดังกล่าวข้างต้นนี้อาจเกิดจากโรคอื่นๆนอกเหนือจากพาร์กินสันได้เช่นกัน อาทิ มาจากยาบางชนิด หรือ โรคหลอดเลือดสมอง สารบัญเนื้อหา 1. สาเหตุของโรคพาร์กินสัน โรคพาร์กินสันอาจเกิดได้จากสาเหตุต่างๆดังนี้: ความชราภาพของสมอง ทำให้เซลล์สมองที่สร้างสารโดปามีนมีจำนวนลดลง ในผู้ป่วยกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่พบบ่อยทีสุด และจัดว่าเป็นกลุ่มที่ไม่มีสาเหตุจำเพาะแน่นอน มักพบในผู้ที่มีอายุเกิน 65 ปีขึ้นไป และพบได้บ่อยพอๆกันทั้งเพศชายและเพศหญิง อัตราการเกิดโรคพาร์กินสันจะเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น โดยในผู้ที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป มีการเกิดสูงกว่าผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี ถึง […]
5 อาหารว่างที่เหมาะกับผู้สูงอายุ 2020
“You are what you eat” เป็นประโยคที่เราท่านคุ้นเคยกันดี เรารับประทานอะไรเข้าไป สุขภาพร่างกายเราก็จะเป็นแบบนั้น สำหรับผู้สูงอายุก็เช่นกัน ถ้าผู้สูงอายุรับประทานอาหารที่ดี มีประโยชน์ สารอาหารหลักครบทั้ง 5 หมู่ เราก็มั่นใจเบื้องต้นได้ว่าสุขภาพของผู้สูงอายุจะมีแนวโน้มที่ดีในอนาคต นอกเหนือไปจากอาหารมื้อหลักที่ผู้สูงอายุควรจะรับประทานให้ครบทั้ง 5 หมู่แล้ว อาหารมื้อรอง (อาหารว่าง) ก็สำคัญไม่น้อยเช่นกัน วันนี้ Zee Doctor จะขอมาแนะนำอาหารว่าง 5 อย่างที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ photo created by jcomp – www.freepik.com 1. ฟักทองนึ่ง อาหารว่างอย่างแรกที่มีประโยชน์สำหรับผู้สูงอายุ ทั้งยังเป็นที่นิยมอย่างมากคือ “ฟักทองนึ่ง” ฟังดูอาจจะรู้สึกธรรมดา เฉยๆ แต่เชื่อเถอะว่าฟักทองนั้นประกอบไปด้วยสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก ประโยชน์มหาศาล ผู้สูงอายุที่รับประทานฟักทองจะได้รับสารเบต้าแคโรทีนที่ช่วยบำรุงสายตา มีสารต้านอนุมูลอิสระ บำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื่น ทั้งยังลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง ฟักทองที่มีสีเหลืองออกส้ม มีไขมันน้อย น้ำตาลน้อย กากใยอาหารสูง พลังงานต่ำ จึงเป็นอาหารว่างที่เหมาะกับผู้สูงอายุ ฟักทองยังช่วยเรื่องของระบบขับถ่าย ทำให้ขับถ่ายได้ง่ายเนื่องจากมีกากใยสูง ช่วยป้องกันโรคที่เกี่ยวกับลำไส้ […]
การดูแลผู้สูงอายุที่มีการมองเห็นบกพร่อง
วัตถุประสงค์ในการวางแผนการพยาบาลสำหรับผู้สูงอายุที่มีการมองเห็นบกพร่องก็เพื่อให้คงหน้าที่ของการมองเห็นที่ยังเหลืออยู่ไว้ให้มากที่สุดและชดเชยการมองเห็นในส่วนที่สูญเสียไป และไม่เกิดอันตรายหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการมองเห็นบกพร่องหรือจากการรักษา โดยสอนให้ผู้สูงอายุทราบถึงความผิดปรกติที่อาจพบได้ วิธีการป้องกัน การค้นหาความผิดปรกติตั้งแต่ในระยะแรก การรักษาและดูแลตัวเอง credit pic by freepik.com – www.freepik.com 1. การพยาบาลเพื่อคงหน้าที่ของการมองเห็นที่ยังเหลืออยู่ไว้ให้มากที่สุด แนะนำให้สวมหมวกที่มีปีกด้านหน้าหรือสวมแว่นตากันแดดทุกครั้งที่ออกนอกบ้านหรือเมื่อจะต้อสัมผัสแสง แนะนำวิธีค้นหาต้อหินตั้งแต่ระยะแรก โดยผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปควรได้รับการวัดความดันลูกตาทุกปี ในรายที่เป็นต้อกระจก (อ่านความหมายเพิ่มเติมของโรคต้อกระจก) และมองเห็นไม่ชัด ควรแนะนำให้ไปปรึกษาแพทย์เพื่อขอรับการผ่าตัด และแนะนำให้ผู้สูงอายุทราบถึงวิธีการรวมทั้งขั้นตอนการผ่าตัด เพื่อป้องกันและลดความเชื่อที่ผิดๆ ในผู้สูงอายุที่มีอาการระคายเคืองจากตาแห้งควรแนะนำให้ใช้น้ำตาเทียมที่มีขายทั่วไปอยู่ตามร้านขายยามาหยอด โดยเฉพาะก่อนการอ่านหนังสือหรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้สายตา จะช่วยลดอาการระคายเคืองลงได้ แนะนำวิธีการอื่นในการช่วยลดอาการระคายเคือง เช่น ใช้ความเย็นประคบ แนะนำให้หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองตา เช่นควันไฟ สเปรย์ฉีดผม ลมแรงๆ เป็นต้น หากอาการระคายเคืองยังไม่หายควรปรึกษาแพทย์ เพราะยาบางอย่างอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองตา เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาแก้แพ้ เป็นต้น 2. การดูแลเพื่อชดเชยการมองเห็นในส่วนที่สูญเสียไป credit pic by rawpixel – www.freepik.com แนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่ช่วยในการมองร่วมกับการดัดแปลงสิ่งแวดล้อม เช่น ใช้แว่นขยายร่วมกับการเปิดไฟ หรือการลดแสงที่สว่างจ้าเกินไปเป็นต้น การลดแสงจ้าขณะอ่านหนังสือ […]
3 โรคที่เกี่ยวกับตาในผู้สูงอายุ
เมื่ออายุมากขึ้นจะพบลักษณะอาการของการมองเห็นที่ผิดปรกติเกิดขึ้นได้ เช่นตาพร่ามัว ทนต่อแสงสว่างไม่ได้ มองเห็นคล้ายมีแสงฟ้าแลบ หรือรู้สึกคล้ายมีจุดดำๆลอยผ่านไปมา ความผิดปรกติดังกล่าวเป็นผลมาจากการแก่ตัวลงและชราภาพของร่างกาย นอกจากนั้นการมองเห็นผิดปรกติหรือการสูญเสียการมองเห็นในผู้สูงอายุยังอาจเกิดจากโรคที่เกิดขึ้นกับดวงตา โดยพบว่าโรคที่พบบ่อยและเป็นสาเหตุของการสูญเสียการมองเห็นในผู้สูงอายุประกอบไปด้วย 3 โรคหลักได้แก่: โรคต้อกระจก โรคต้อหิน และโรคจอประสามทตาเสื่อม ซึ่งในที่นี้ Zee Doctor จะพูดถึงรายละเอียดของ 3 โรคดังกล่าวต่อไปนี้ credit pic by rawpixel.com – www.freepik.com ต้อกระจก ความหมายของโรค: โรคต้อกระจกเป็นภาวะที่มีการขุ่นของเลนส์หรือปลอกหุ้มเลนส์ ทำให้แสงผ่านเข้าได้ไม่เต็มที่ ซึ่งพบบ่อยในผู้สูงอายุ ปรกติเลนส์จะทำหน้าที่รวมแสงให้ไปตกที่จอรับภาพเพื่อให้เห็นภาพชัดทั้งในระยะใกล้และไกล เลนส์ประกอบด้วยน้ำและโปรตีนโดยส่วนที่เป็นโปรตีนจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เลนส์ใสหรือให้แสงผ่านได้ ในผู้สูงอายุโปรตีนในเลนส์อาจจะจับเป็นก้อนทำให้เลนส์ขุ่นขึ้นบางส่วน เมื่อระยะเวลานานขึ้นบริเวณที่ขุ่นจะมีมากขึ้นทำให้ตามัวมองเห็นไม่ชัด สาเหตุของการเกิดต้อกระจก: credit pic by user18526052 – www.freepik.com สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่หลักสำคัญอย่างหนึ่งของต้อกระจกคือการที่ตาถูกแสงแดด หรือแสงอุลตร้าไวโอเลตเป็นเวลานาน นอกจากนั้นยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆที่พบว่าทำให้เกิดต้อกระจกได้ดังนี้ ปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ อายุมากขึ้น เนื่องจากเมืออายุมากขึ้นจะมีการเพิ่มขึ้นของไขมันชนิด สฟิงโกไลปิดในเลนส์ตา เพศหญิงมีโอกาสเกิดมากกว่าเพศชายเนื่องจากการลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันการเกิด oxidative stress ที่เป็นสาเหตุทำให้เกินต้อกระจก […]
การฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุคืออะไร
ผู้สูงอายุจะมีสมรรถภาพเสื่อมถอยลงอย่างช้าๆ โดยมีปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้องทั้งความเจ็บป่วยหรือความเสื่อมของร่างกายตามอายุที่มากขึ้น ส่งผลให้ความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองลดลงนำมาสู่การพึ่งพาคนอื่นมากขึ้น การฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุมีความจำเป็นเพื่อชะลอความเสื่อมถอยของความสามารถ รักษาความสามารถที่ยังเหลืออยู่และฟื้นฟูส่วนที่สูญเสียไปจากการไม่ได้ใช้งานเพื่อให้ผู้สูงอายุกลับมาดำเนินชีวิตได้ด้วยตนเองและพึ่งพิงบุคคลอื่นให้น้อยลง ภาพโดย ErikaWittlieb จาก Pixabay สารบัญเนื้อหา 1. เป้าหมายของการฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุ credit pics by Pixabay – www.pixabay.com เป้าหมายที่สำคัญในการฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุก็เพื่อคงไว้ซึ่งการเคลื่อนไหวร่างกาย และความสามารถ ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสร้างความสมดุลโดยการออกกำลังกายและสร้างโปรแกรมที่มีกิจกรรมทางโภชนาการที่ดี รวมทั้งในด้านอารมณ์และสังคมและดูแลผู้สูงอายุโดยทั่วไปที่ดี ดังนั้น ยิ่งให้ผู้สูงอายุปฏิบัติกิจกรรมมากเท่าไร่ก็ยิ่งทำให้ผู้สูงอายุสามารถทำกิจกรรมได้ด้วยตนเองมากขึ้นเท่านั้น อาทิเช่น การออกกำลังกายจะช่วยให้สมรรถภาพหัวใจดีขึ้น ความเร็วในการเดินก็จะมากขึ้นเช่นเดียวกับความเร็วในการตอบสนองของร่างกายก็จะดีขึ้นตามไปด้วย อย่างไรก็ตามอาการปวดเป็นสาเหตุสำคัญที่ขัดขวางการฟื้นฟูสภาพ อาการปวดที่เกิดจากการอักเสบเช่นในผู้สูงอายุที่ปัญหาข้อเสื่อมจะมีการอักเสบของเยื่อหุ้มข้อโดยเฉพาะข้อเข่าจะทำให้กล้ามเนื้อน่องไม่สามารถหดรัดตัวได้เนื่องจากเมื่อมีการเคลื่อนไหวจะมีอาการปวด ดังนั้นการฟื้นฟูสภาพควรเริ่มต้นด้วยการลดอาการอักเสบโดยการใช้ยาหรือใช้ความเย็น ผู้สูงอายุยังควรต้องมีการเคลื่อนไหวข้อแต่ต้องมีการปกป้องข้อที่ถูกวิธีด้วยการทำกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัด และการสนับสนุนด้านสังคมและจิตใจ ดังนั้นเป้าหมายสำคัญของการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายผู้สูงอายุคือ การฟื้นฟูความสามารถทั้งทางร่างกาย สังคม และจิตใจ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความสามารถช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ มีความเป็นตัวของตัวเอง และกลับไปใช้ชีวิตในสังคมสิ่งแวดล้อมที่เคยอยู่ก่อนการเจ็บป่วย 2. วิธีการฟื้นฟูสภาพในผู้สูงอายุ credit pics by Pixabay – www.pixabay.com การฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุประกอบด้วย 2 วิธีหลักได้แก่ การออกกำลังกายเพื่อการรักษา และ การใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยต่างๆ รวมถึงการให้คำแนะนำเกี่ยวกับโรคและการปฏิบัติตัว 3. การออกกำลังกายเพื่อการรักษา เนื่องจากผู้สูงอายุพบปัญหากล้ามเนื้อลีบเล็กลง จึงอาจรบกวนการทำกิจวัตรประจำวัน […]
ข้อควรระวังเบื้องต้นสำหรับการใช้ยาในผู้สูงอายุ
คนเราเมื่อมีอายุที่มากขึ้นร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลง เกิดภาวะความเสื่อมทั้งในด้านโครงสร้างและการทำหน้าที่ของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องปรกติ นอกจากนั้นผู้สูงอายุส่วยใหญ่ยังคงมี่โรคประจำตัวที่เรื้องรังทำให้ต้องใช้ยารักษาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจะเห็นได้ว่าผู้สูงอายุเป็นกลุ่มผู้บริโภคยากลุ่มใหญ่ที่สุดกลุ่มหนึ่ง ด้วยเหตุผลข้างต้นที่ผู้สูงอายุมีการใช้ยาอย่างมาก จึงอาจส่งผลกระทบต่อกระบวนการดูดซึม และการกระจายตัวของยา รวมทั้งการเผาผลาญและการขับถ่ายยาออกจากร่างกาย ดังนั้นเราจึงควรดูแลผู้สูงอายุอย่างเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของร่างกายตามกระบวนการชราภาพที่เกิดขึ้น credit pics by freepik – www.freepik.com ปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาในผู้สูงอายุ การใช้ยาร่วมกันหลายชนิด และต้องใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานในผู้สูงอายุ ทำให้มีโอกาสเกิดปัญหาหลายอย่างได้แก่ การทำปฏิกิริยาต่อกันระหว่ายากับยา ยากับอาหาร หรือ ยากับโรค และการไม่ใช้ยาตามแผนการรักษา ทั้งหมดนี้อาจทำให้เกิดปัญหาด้านการใช้ยากับผู้สูงอายุได้ง่าย 1. การทำปฏิกิริยาต่อกันระหว่างยากับยา credit pics by freepik – www.freepik.com เกิดจากความแตกต่างระหว่างฤทธิ์ของยาแต่ละชนิด ซึ่งอาจเป็นความแตกต่างทางด้านการดูดซึมยา การกระจายตัวของยา หรือการเปลี่ยนแปลงยาในร่างกาย การขับถ่ายออกจากร่างกาย หรือเกิดจากความแตกต่างระหว่างการออกฤทธิ์ของยาต่อตัวรับยาในร่างกาย อาทิเช่น ปฏิกิริยาระหว่างยาต้านการแข็งตัวของเลือดคือ warfarin ถ้าใช้ร่วมกับยาแอสไพริน อาจเพิ่มฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด ทำให้เกิดภาวะเลือดออกง่าย หรือถ้าผู้ป่วยได้รับยาเพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจ คือยา ไดจอกซิน และได้รับยาขับปัสสาวะที่มีผลทำให้โปตัสเซียมในเลือดต่ำจะเกิดพิษจากยาไดจอกซิน เนื่องจากการขับไดจอกซินจากไตลดลง 2. ผลกระทบระหว่างยากับโรค credit […]
เลือกรถเข็นผู้ป่วย Wheel Chair อย่างไรให้เหมาะสม
รถเข็นผู้ป่วย รถเข็นผู้สูงอายุ หรือที่เราเรียกกันว่า Wheel Chair เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ผู้สูงอายุให้สามารถเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ได้ง่ายขึ้น เพิ่มความปลอดภัย ป้องกันการหกล้มอันจะเป็นสาเหตุหลักของอาการบาดเจ็บในผู้ป่วย หรือ ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเดินได้ ปัจจุบัน รถเข็นผู้ป่วย Wheel Chair เป็นที่นิยมใช้กันตามบ้านเรือนอย่างแพร่หลายมากขึ้น รถเข็นผู้ป่วย หรือ รถเข็นผู้สูงอายุมีลักษณะทั่วไปคล้ายเก้าอี้แต่มีอุปกรณ์เสริมเพื่ออำนวยความสะดวกต่างๆ พัฒนาออกแบบขึ้นมาให้ทันสมัยเพื่อการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ประกอบกับเทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้น จึงมีการพัฒนารถเข็น wheel chair ที่มีคุณภาพดี คงทน แข็งแรงเหมาะสมกับการใช้งานมากยิ่งขึ้น วันนี้ทาง Zee Doctor จะขอนำท่านมาทำความรู้จักกับรถเข็นประเภทต่างๆ ที่มีอยู่ในท้องตลาด คุณลักษณะเด่นของรถเข็นแต่ละประเภท รวมทั้งการใช้งานเพื่อช่วยให้ท่านได้มีแนวทางการเลือกรถเข็นได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการของผู้สูงอายุและผู้ป่วยอย่างแท้จริง เรามาเริ่มกันเลย! credit ภาพ: Freepix.com อันดับแรก ต้องเข้าใจกันก่อนว่ารถเข็นที่ใช้งานอยู่ทุกวันนี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่: ประเภทแรก รถเข็น Wheel Chair แบบต้องใช้กำลังคนขับเคลื่อน ซึ่งก็สามารถแบ่งย่อยออกไปได้อีก 2 ประเภท: Transport wheel chair– […]
6 อาการปวดในผู้สูงอายุที่ควรระมัดระวัง
เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยสูงอายุ อาการปวดต่างๆภายในร่างกายสามารถพบได้บ่อยขึ้น เนื่องจากระบบการทำงานของร่างกายมีประสิทธิภาพลดลง ทำให้โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ถามหาได้ง่ายกว่าวัยหนุ่มสาว ผู้สูงอายุควรหมั่นสังเกตตัวเองอยู่เสมอว่ามีอาการอะไรบ้างหรือไม่ที่ผิดปรกติไปกว่าเดิม หรือในอีกทางลูก-หลานต้องคอยหมั่นดูแล สังเกตอาการต่างๆของผู้สูงอายุในบ้านเพื่อเป็นการช่วยระมัดระวังอันตรายต่อสุขภาพที่จะเกิดขึ้น วันนี้ทาง Zee Doctor จะขอพูดถึง: 6 อาการปวดเบื้องต้นที่ผู้สูงอายุพึงสังเกต ระมัดระวัง และถ้ายังไม่ดีขึ้นควรรีบไปพบแพทย์ credit pics by freepik – www.freepik.com 1. ปวดศีรษะ ถ้ามีอาการปวดศีรษะหรือปวดหัวอย่างรุนแรงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน อาจจะบ่งชี้ได้ว่ามีอาการผิดปรกติเกี่ยวกับระบบสมอง หรืออาจจะมีเลือดออกในสมอง หรือ เนื้องอกในสมอง ดังนั้นไม่ควรละเลยทิ้งไว้ ควรรีบตรวจสอบสาเหตุของอาการโดยการไปพบแพทย์ 2. ปวดแน่นหน้าอก credit pics by freepik – www.freepik.com ถ้าผู้สูงอายุมีอาการปวดและอึดอัดแน่นหน้าอกอย่างเฉียบพลัน อาจมีปัญหาทางด้านโรคหัวใจได้ ทั้งนี้อาการปวดจะไม่ได้ปวดแบบทรมาน แต่จะแน่น และอึดอัดมากกว่า ถ้าจะให้ดีเพื่อความแน่ใจ ผู้สูงอายุควรรีบไปพบแพทย์จะดีที่สุด 3. ปวดหลัง credit pics by freepik – www.freepik.com โดยปรกติผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะมีอาการปวดหลังเป็นประจำอยู่แล้ว […]
โรคกระดูกพรุนคืออะไร
โรคกระดูกพรุนเกิดจากกระบวนการสูญเสียมวลกระดูกอย่างช้าๆต่อเนื่อง มวลกระดูกและคุณภาวะกระดูกลดลง โดยมวลกระดูกที่ถูกสะสมไว้มีจำนวนน้อยกว่าปรกติ หรือมีการสลายของกระดูกมากกว่าปรกติ ในเพศหญิงมวลกระดูกมีมากที่สุดในช่วงอายุประมาณ 35 ปี และคงอยู่จนถึงวัยหมดประจำเดือน อัตราการลดลงของมวลกระดูกในช่วงแรกของวัยหมดประจำเดือนจะสูงประมาณร้อยละ 7 หลังจากนั้นมวลกระดูกจะลดลงเรื่อยๆ ร้อยละ 1-2 ต่อปี แต่ในเพศชายหลังจากมวลกระดูกมีสูงสุดช่วงอายุประมาณ 35 ปี แล้วจะค่อยๆลดลงประมาณร้อยละ 1-2 ต่อปี ฉะนั้นเพศหญิงมีแนวโน้มที่จะเกิดโรคกระดูกพรุนได้สูงกว่าเพศชาย สารบัญเนื้อหา 1. ความหมายของโรคกระดูกพรุน นิยามของโรคกระดูกพรุนได้รับการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย โดยเน้นเรื่องสำคัญ 3 เรื่องได้แก่ ความแข็งแกร่งของกระดูก ความหนาแน่นของกระดูก ซึ่งเป็นผลรวมทำให้กระดูกมีความแข็งแกร่ง และ คุณภาพกระดูก โดยในเรื่องของคุณภาพกระดูกนั้นหมายรวมถึงความแตกต่างในโครงสร้างของกระดูกของแต่ละบุคคล วงจรการสลายและสร้างกระดูก และองค์ประกอบของเนื้อกระดูก 2. ปัจจัยเสี่ยงโรคกระดูกพรุน ปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคกระดูกพรุนอาจจะยากในการแยกจากปัจจัยเสี่ยงต่อการลดลงของการทำหน้าที่ของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ ได้แก่ การขาดการออกกำลังกาย รวมทั้งแนวทางการรับประทานอาหาร ซึ่งผลจากการศึกษาพบว่าการออกกำลังกายและรับประทานอาหารโปรตีน แคลเซียมและวิตามินดี ทำให้กำลังกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นส่งผลให้กล้ามเนื้อแข็งแรง แต่อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุนำมาสู่การเกิดภาวะกระดูกพรุนชนิดที่สัมพันธ์กับอายุที่มากขึ้น ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนมีดังนี้: เพศหญิง มีโอกาสเกิดโรคกระดูกพรุนมากกว่าเพศชายถึง 4 เท่า เนื่องจากมวลกระดูกในเพศหญิงมีน้องกว่าเพศชายประมาณ ร้อยละ 30 และผู้สูงอายุเพศหญิงในวัยหมดประจำเดือนขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งฮอร์โมนนี้มีผลต่อกระบวนการสร้างกระดูกและป้องกันการสลายของกระดูก […]